วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พืชที่ปลูกไม่ใช้ดินกินสารเคมีหรือไม่ และเป็นพิษหรือไม่

การกินพืชผักที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินเป็นการกินผักธรรมชาติที่มีคุณค่าอาหารสูง ไม่ใช่การกินสารเคมีที่เป็นพิษ ปกติเมื่อพูดถึงสารเคมี ผู้ฟังมักจะตกใจและมองว่าสารเคมีเป็นสิ่งที่เป็นพิษภัยไปทั้งหมดทั้งๆ ที่สารทุกชนิดในโลกนี้เป็นสารเคมีทั้งสิ้น ร่างกายของมนุษย์ สัตว์และพืชตลอดจนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ต่างก็ประกอบด้วยสารเคมีที่มีปฏิกิริยาทางชีวเคมีดำเนินไปอยู่ตลอดเวลา สารเคมีส่วนใหญ่ไม่เป็นพิษและบางชนิดก็เป็นสารที่ขาดไม่ได้ เช่น แร่ธาตุและวิตามินรวมทั้งสารอาหารต่างๆ

การรับประทานวิตามินรวมเกลือแร่นั้นเป็นการรับสารเคมีโดยตรงรวมทั้งวิตามิน ต่างๆ ที่เป็นสารสังเคราะห์ด้วย แต่การรับประทานผักที่ปลูกจากการปลูกโดยไม่ใช้ดินโดยเฉพาะการปลูกระบบไฮโดร โปนิกส์นั้นจะได้รับทั้งสารต่างๆ ที่พืชสังเคราะห์ขึ้นที่มีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ใส่ลงไปรวมกันอยู่ และบางส่วนของแร่ธาตุหลายชนิดเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารประกอบอินทรีย์ดังที่ กล่าวมาแล้ว ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้จะเหมือนกับแร่ธาตุในดิน แต่จะดีกว่าตรงที่ในสารละลายเราสามารถใส่แร่ธาตุชนิดต่างๆ ตามความต้องการของพืชได้อย่างเหมาะสม

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เป็นแบบธรรมชาติหรือไม่

เกษตร อินทรีย์ถือกันว่าเป็นธรรมชาติที่สุด จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่เป็นพืชหมักและ มูลสัตว์เป็นหลัก ส่วนการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินโดยเฉพาะการปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์จะใช้ปุ๋ยอ นินทรีย์ที่เป็นเกลือแร่ที่ค่อนข้างบริสุทธิ์เป็นหลัก ซึ่งถ้ามองอย่างผิวเผินจะคิดว่าการปลูกพืชทั้งสองวิธีนี้มีความแตกต่างกัน มาก และอาจมองว่าระบบไฮโดรโปนิกส์ไม่เป็นการปลูกแบบธรรมชาติnbsp; แต่ถ้า มองให้ลึกซึ้งลงไปแล้วการปลูกทั้งสองวิธีเป็นการปลูกแบบธรรมชาติเหมือนกัน โดยเฉพาะเมื่อมองในแง่ของสรีรวิทยาพืชและปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ดำเนินในพืช แล้วจะหาความแตกต่างได้ยากมาก

เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหลายเริ่มแรกจะยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้  เพราะ จะต้องถูกทำให้ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดินจนกลายเป็นสารอนินทรีย์ที่เป็น เกลือแร่แบบเดียวกันและแตกตัวเป็นไอออนแบบเดียวกัน โดยเฉพาะพืชที่ปลูกบนดินอาจมีขั้นตอนที่ดูดซับไอออนโดยอนุภาคของดิน แล้วก็ปล่อยไออนของธาตุอาหารให้รากพืชเหมือนกับสารละลายธาตุอาหารในการปลูก ด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์

 การ แลกเปลี่ยนไอออนระหว่างรากพืชกับสารละลายเพื่อนำเอาไอออนของธาตุอาหารเข้า สู่พืชเกิดขึ้นเหมือนกัน เมื่อพิจารณาทางสรีรวิทยาแล้วเนื่องจากสารละลายธาตุอาหารเป็นสารละลายที่เรา เตรียมขึ้นจากปุ๋ยอนินทรีย์ที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ที่มีส่วนประกอบที่ คล้ายคลึงในดิน(ชนิดที่อุดมสมบูรณ์) และเป็นไปตามความต้องการของพืชมากกว่าที่ได้จากดิน

ราก ขนอ่อนจะดูดธาตุอาหารและน้ำไม่ว่าจากดินหรือจากระบบไฮโดรโปนิกส์ ในลักษณะที่เหมือนกัน พืชจะคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศแล้วทำปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่เรียกกันว่าเมตา บอลิซึม (Metabolism) อย่างเดียวกันเพื่อนำไปสร้างใบ ดอก ผลโดยมากกว่า 90 % ได้มาจากน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ ขณะที่ 2 – 3 % มาจากเกลือแร่ โดยพืชจะนำไปใช้ประโยชน์เหมือนกัน

สรุปว่าการปลูกพืชไม่ใช้ดินเป็นการปลูกแบบเป็นธรรมชาติเหมือนกันกับการปลูก บนดิน แต่เป็นการปลูกที่ใช้เทคโนโลยีที่มีการจัดการที่ดีกว่า จึงทำให้เกิดศักยภาพในการผลิตที่ดีกว่า

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข้อเด่นและข้อด้อย ในการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน

ข้อเด่น
1. สามารถปลูกพืชได้ทุกที่ที่มีสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ตามระเบียงอาคารและพื้นที่ที่ไม่สามารถปลูกพืชทางดินได้ เช่น ดินเค็ม
2. ประหยัดพื้นที่ปลูกโดยกำหนดระยะปลูกในระยะชิด  ได้ตามที่เราออกแบบไว้
3. สามารถดูแลได้ทั่วถึงเรื่องจากมีการสร้างระบบที่ง่าย ต่อการควบคุมและสามารถป้องกันโรคและแมลง หรือศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
4. ไม่มีปัญหาในการกำจัดวัชพืชในพื้นที่ปลูก
5. ไม่ต้องเตรียมพื้นที่ปลูกโดยไถพรวน สามารถลด การทำลายหรือการชะล้างหน้าดิน
6. ประหยัดน้ำ และปุ๋ย เพราะสามารถควบคุมได้ตามที่ต้นพืชต้องการ
7. มีผลผลิตสม่ำเสมอและอายุเก็บเกี่ยวเร็วขึ้นเนื่องจากพืชสามารถนำธาตุอาหารไปใช้อย่างสม่ำเสมอ
8. ผลผลิตมีความสะอาด สด คุณภาพดี
9. เด็ก ผู้หญิง คนชรา คนพิการ สามารถทำได้
10. สามารถนำไปปลูกบนเรือนเดินสมุทรหรือ บนดาวเทียมได้

ข้อด้อย
1. ในทางปฏิบัติอาจทำได้ไม่กว้างขวางเนื่องจากปัจจุบันยังอาศัยเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
2. ผู้ปลูกต้องมีความรู้อย่างแท้จริงต่อพืชที่ปลูกและข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหาร น้ำ ต้นพืช
3. ความหลากหลายของพืชที่ปลูกแบบไม่ใช้ดินยังมีน้อยในบ้านเรา
4. ปัญหาพื้นที่ที่มีพายุต้องมีการสร้างโรงเรือน องกันลม กรณีถ้ามีลมพัดแรงมากจำเป็นต้องมีการค้ำยัน เนื่องจากการยึดต้นของรากไม่แข็งแรงเช่นเดียวกับการปลูกลงดิน
5. เงินลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูง
6. ปัญหาในด้านการตลาดยังไม่กว้าง เนื่องจากเป็น การปลูกผักต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่และใน
ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคยังจำกัดอาจทำให้เกิดปัญหาานการตลาดที่ทำให้ราคาลดลงเรื่อย ๆ

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รู้จักกับกลีเซอรีน

รู้จักกับกลีเซอรีน กลีเซอรีนบริสุทธิ์ เป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืด และมีรสหวาน กลีเซอรีนจะดูดซับความชื้นเมื่อสัมผัสกับอากาศ

โดยทั่วไป ความสามารถในการระเหยของสารละลายกลีเซอรีนขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของสารละลายนั้นๆ เช่น กลีเซอรีนที่ความบริสุทธิ์มากกว่า 99% จะระเหยที่อุณหภูมิที่สูงกว่า (ที่อุณหภูมิ 240 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า) เมื่อเปรียบเทียบกับกลีเซอรีนที่ความบริสุทธิ์ต่ำกว่า 99% กลีเซอรีนสามารถละลายได้ดีในน้ำและแอลกอฮอล์ แต่ไม่ละลายในไขมัน

เนื่องจากกลีเซอรีนมีคุณสมบัติทางเคมีที่หลากหลาย จึงสามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารเคมีชนิดอื่นๆได้


กลีเซอรีนกับการนำไปใช้ :

กลีเซอรีนบริสุทธิ์ที่ผลิตจากเทคโนโลยีของเรา(แหล่งข้อมูล) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้กว่า 1,500 รูปแบบในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย

กลีเซอรีนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายรูปแบบเช่น ใช้เป็นส่วนผสมหรือเป็นตัวช่วยในกระบวนการผลิตเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำและสุขอนามัยส่วนบุคคล ยา และผลิตภัณฑ์อาหาร จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย

การที่กลีเซอรีนเป็นสารที่ไม่มีพิษในทุกๆรูปแบบการประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะใช้เป็นสารตั้งต้นหรือสารเติมแต่ง ทำให้กลีเซอรีนเป็นสารเคมีที่ได้รับความสนใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย

ที่มา: http://www.thaioleochemicals.com/product.aspsmenuid=8&shmenuid=&nlevel=1

ประโยชน์ของกลีเซอรีน :

กลีเซอรีน เป็นของเหลวหนึดใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีรสหวาน ใช้มากในอุตสาหกรรมทําสบู่ เพราะใช้ละลายสารต่างๆ ที่สามารถละลายในนํ้าได้ นอกจากนี้กลีเซอรีนยังเป็นส่วนช่วยหล่อลื่น ขจัดความสกปรกที่ฝังแน่น รวมทั้งปลอดภัยต่อผิวหนัง และเนื้อผ้าทุกชนิด

หาซื้อได้ตามร้านขายยาทุกชนิด หรือร้านขายเคมีภัณฑ์ ถ้าผสมกลีเซฮรัน 1 ช้อนโต๊ะ ลงในนํ้า
ซักผ้าขนสัตว์ จะทําให้ขนสัตว์ฟูอ่อนนุ่มขึ้น ถ้าใช้กลีเซอรีนทามือก่อนนอนทุกคืน
จะช่วยถนอมมือให้นุ่มนวลอยู่เสมอหยดกลีเซอรีนบนรอยเปื้อนมัสตาร์ดบนผ้าแล้วนํ้ไปซัก
รอยเปื้อนจะหายไป

ใช้ฟองนํ้าจุ่มกลีเซอรีนเช็ดกระจกในห้องนํ้า ขณะอาบนํ้าร้อน กระจกจะใสสะอาด

หยดกลีเซอรีนลงไปในหลอกมาสคาร่าที่เริ่มจะแห้ง จะช่วยยืดอายุของการใช้งานออกไปได้อีก ถ้าต้องการละลายนํ้าแข็งในตู้เย็น ทําได้ด้วยการเช็ดตู้เย็นด้วยผ้าชุบกลีเซอรีนให้ทั่ว
นํ้าแข็งจะหลุดออกได้ง่าย

ใช้กลีเซอรีนหยดลงบนผ้านุ่ม เช็ดตามใบไม้ในร่ม ใบไม้จะเป็นมันสะอาด

ผสมกลีเซอรีน 1 ถ้วยตวงกับนํ้า 1 ลิตร เทลงในอ่างนําดอกไม้ที่ต้องการทําเป็นดอกไม้แห้ง
แช่ลงไปให้ท่วมทั้งดอก ก้านและใบที้งไว้ 1 อาทิตย์ เพื่อให้ตัวยาซึมลงไปในดอกไม้
แล้วจึงนําดอกไม้นั้นมาประดับตกแต่งเป็นช่อโบเก้ ดอกไม้จะอยู่ทนนาน

ที่มา : http://us.geocities.com/bandokbua/nam.htm
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.thaioleochemicals.com
http://us.geocities.com/bandokbua/nam.htm

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กรีนโอ๊ค [ Green Oak ]

รายละเอียด

ลักษณะพืช
• เป็นพืชล้มลุก ไม่ห่อหัว ใบมีสีเขียวซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เกาะกันอย่างหลวม ๆ ปลายใบหยิก เป็นลอน ลักษณะโค้งมน

คุณค่าทางโภชนาการ
• ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด บำรุงสายตา บำรุงเส้นผม บำรุงประสาท และกล้ามเนื้อ


Green Oak