วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เรดโอ๊ค [ Red Oak ]

ลักษณะเป็นผักใบสีแดงเข้มและเขียวเข้ม   ใบซ้อนกันเป็นชั้นปลายใยหยิกแยกเป็นแฉก เป็นพุ่มหยักสีสวยงาม
Red Oak

คุณค่าทางโภชนาการ
มีกากใยอาหารมากมาย ย่อยง่าย บำรุงสายตา กล้ามเนื้อ
ป้องกันโรคปากนกกระจอก ล้างผนังลำไส้ กำจัดพวกไขมัน
มีธาตุเหล็ก และวิตตามินdiv>

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สวนครัวลอยฟ้า...พืชที่ปลูกรับประทาน-ประดับได้

ปัจจุบันผู้คนในเมืองหลวงต่าง ๆ ส่วนใหญ่มักจะอาศัยอยู่ในรูปแบบของคอนโดมีเนี่ยม, อพาร์ทเมนท์, แมนชั่น ฯลฯ ซึ่งการอาศัยอยู่แบบนี้มีพื้นที่จำกัดและไม่มีบริเวณที่ดินเพียงพอสำหรับเพาะปลูก นอกจากบางแห่งอาจจะมีระเบียงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นลักษณะของ "สวน" ที่จะเหมาะสำหรับครอบครัว ที่มีพื้นที่อยู่อาศัยจำกัด ควรที่จะไม่ต้องเน้นเรื่องการปลูกลงดิน หรือที่เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สวนครัวลอยฟ้า" หรือ "สวนครัวกระถาง"           ยิ่งในสภาพปัจจุบันอากาศที่ร้อนจัดกว่าปกติทำให้ปริมาณผักที่ออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับสินค้าเกษตรบางชนิดผ่านพ่อค้าคนกลาง หลายคนทำให้ราคาสูงขึ้น จากการสำรวจราคาผักพบว่า ผักชีจากกิโลกรัมละ 25 บาท เป็นกิโลกรัมละ 40-45 บาท คึ่นฉ่ายจากกิโลกรัมละ 30 บาท เป็นกิโลกรัมละ 35-40 บาท เป็นต้น
           ดังนั้นในภาวะปัจจุบันที่น่าจะหันมาปลูกผักสวนครัวเสริมทดแทนใช้ในช่วงขาดแคลนเล็กน้อย แต่สำหรับผู้ที่พิสมัยในการปลูก แต่ยังไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไรในการทำ กรมพัฒนาที่ดิน ขอเสนอ เคล็ดลับเพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เป็นมือใหม่ หรือเริ่มที่จะหันมาปลูกพืชกินใช้ทดแทน ในช่วงเร่งด่วน รวมทั้งใช้ประดับก็ได้ ซึ่งมีขั้นตอนในการทำดังนี้
          การเลือกผักที่จะปลูก ควรเลือกปลูกผักที่ใช้บ่อย ดูแลรักษาง่ายไม่ยุ่งยาก เพื่อให้สามารถ เก็บผักรับประทานได้ และควรเป็นผัก ที่สมาชิกในบ้านชอบ ปลูกง่าย เช่น ผักชี ผักชีฝรั่ง คึ่นฉ่าย คะน้า ผักกาดเขียวปลี ตะไคร้ กะเพรา แมงลัก โหระพา สาระแหน่ พริก เป็นต้น ซึ่งผักจำพวกนี้มีอายุในการ เก็บเกี่ยวไม่นาน ส่วนของพันธุ์ผักนั้นก็มีทั้งที่ไม่ต้องซื้อและต้องซื้อ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างของผักที่ไม่ต้องซื้อ มีทั้งหมด 2 ประเภท คือ ประเภทกิ่งก้าน เช่น ตะไคร้ โหระพา กะเพรา สาระแหน่ เป็นต้น จะใช้กิ่งก้านที่สภาพสมบูรณ์เหลือจาก การทำกับข้าวปลูกได้ โดยการใช้มีดคม ๆ ตัดโคนกิ่งทิ้งนิดหน่อยเพื่อที่จะได้ ไม่มีรอยช้ำที่โคน ทิ้งเอาไว้ให้แผลแห้งซักพักหนึ่ง แล้วจึงนำลงปลูกเอน ๆ โดยนำไม้เล็ก ๆ แทงดินนำก่อน อย่าเอาก้านผักแทงลงไปโดยตรง เพราะอาจทำให้โคนช้ำและตายได้ อีกประเภทหนึ่ง คือ ผักประเภทผล เช่น พริก มะเขือ เป็นต้น ให้เลือกผลที่สุกแดง แกะเอาเมล็ดมาปลูกได้ ที่สำคัญควรเป็นผักที่หยั่งรากตื้น หรือรากลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร
          การปลูก สำหรับมือใหม่ที่เริ่มหัดปลูกและยังไม่มีความรู้ในการเพาะเมล็ด อาจจะเริ่มจาก ไปซื้อผักที่อยากจะปลูกในตลาด เลือกผักที่มีต้นใบและรากยังดูสด สมบูรณ์ บอบช้ำน้อยที่สุด แล้วเด็ดใบแก่ นำไปรับประทาน ให้เหลือใบอ่อนไว้แล้วนำไปปลูกต่อได้เลย หรืออาจจะไปซื้อผักต้นเล็ก ๆ ที่มีคน เพาะกล้าผักไว้แล้วตามแหล่งที่ขายต้นไม้ เช่นสวนจตุจักรก็ได้ อีกวิธีหนึ่ง ที่อาจจะต้องใช้เทคนิคเพิ่มขึ้น คือ การเพาะเมล็ดในกระถาง แล้วถอนแยก จะขึ้นอยู่กับชนิดของผัก การโรยเมล็ดให้กระจายอยู่บน กระบะเพาะ หรือกระถางดินปากกว้างก็ได้ ประมาณว่าโรยเมล็ดอย่าให้แน่นเกินไปแล้ว เริ่มจากใช้แกลบ หรือกาบมะพร้าวสับเล็ก ๆ หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ปิดทับ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อรักษาความชื้น และป้องกัน การกระเด็นของเมล็ดพันธุ์ผัก แล้วทำการรดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้แฉะ เมื่อต้นกล้าได้รับน้ำและแสงแดด อย่างเพียงพอ ประมาณ 7 - 10 วัน เมล็ดจะงอก ดูแลต่อจนกล้าผักมีใบจริงประมาณ 3 - 5 ใบ แล้วให้ย้ายปลูกลงกระถางแขวนหรือกระถางตั้งต่อไป โดยขณะย้ายกล้าให้ใช้ไม้แงะให้มีดินและรากติดไป ด้วยมาก ๆ เมื่อถอนกล้าแล้วให้รีบปลูกทันที สำหรับวัสดุหรือดินปลูกในกระถาง ให้ผสมกาบมะพร้าวสับ 2 ส่วน ดินผสม 1 ส่วน และปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ที่มีขายในร้านขายต้นไม้ทั่วไป เลือกปลูกแต่กล้าที่แข็งแรง ลำต้นตั้งตรง ไม่คดงอ ใบไม่ฉีกขาด แล้วกดดินรอบ ๆ โคนลำต้นให้แน่นพอสมควรแล้วรดน้ำต่อไป ข้อควรระวัง คือ ความชื้นของวัสดุหรือดินปลูก ในภาชนะที่แขวนห้อยจะระเหยออกไปรวดเร็วมาก ดังนั้นจึงควรหมั่นรดน้ำ อย่างน้อยวันละ 2 เวลา ไม่ควรรดน้ำตอนแดดจัด และรดน้ำพอชุ่มเท่านั้น การใส่ปุ๋ยบำรุง ใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 สำหรับผักกินผล ส่วนผักกินใบ ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย ในช่วงต้นยังเล็ก และใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 เมื่อต้นเริ่มโตขึ้น ใส่อัตรา 1 ช้อนชา ทุก 2 อาทิตย์ การใส่ต้องโรยบาง ๆ บริเวณขอบกระถาง อย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เนื่องจากจะทำให้ผักตายได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วหากสามารถทำได้โรยปุ๋ยหมักทับปุ๋ยเคมี แล้วรดน้ำต่อไป สำหรับภาชนะที่ปลูกอาจทำขึ้นจากกาบมะพร้าวที่เอากะลาออกแล้วใช้ลวดตากผ้าร้อยรัดไว้ หรือกระถางดินเผาที่มีขายตาม ท้องตลาดทั้งแบบแขวนและแบบตั้ง กรณีเป็นกระถางแบบแขวนควรแขวนสูงประมาณ 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน
          ส่วนการกำจัดศัตรูพืช ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรง โดยการหมั่นกำจัดวัชพืช ให้น้ำอย่างเพียงพอและให้ปุ๋ยตามกำหนด แต่หากมีการระบาดของหนอนต่าง ๆ หรือวัชพืชขึ้นให้ใช้วิธีจับออก หรือหากใบมีลักษณะเหลือง หรือมีหนอนเจาะทำลาย หรือโรคพืชเข้าทำลาย ก็ให้เด็ดใบทิ้งออกไป เนื่องจากปลูกเป็นจำนวนไม่มาก จึงไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีฉีดพ่น ถ้าเป็นมด หอย และทาก ให้ใช้ปูนขาวโรยบาง ๆ ลงบนบริเวณพื้นดินที่เข้าถึงกระถางที่ปลูก
          การเก็บรับประทาน ควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ผักสดรสดี ผักประเภทกินผลต่าง ๆ เช่น พริก ถั่ว ควรเก็บขณะที่ยังไม่แก่จัด และเก็บติดขั้วมาด้วย ส่วนผักประเภทกินใบ เช่น ผักชี ผักคะน้า คึ่นฉ่าย ผักกาดเขียวปลี โหระพา นั้น ต้องตัด ให้เหลือใบติดไว้ที่ต้น 2 - 3 ใบ และดูแลรักษาต่อไป ผักจะแตกยอดใหม่ ให้เก็บกินได้อีกหลายครั้ง และหากเก็บมาแล้วยังไม่ได้ใช้นั้น แนะนำว่าให้เก็บใส่ตู้เย็นโดยใช้ กระดาษห่อผักไว้ เพราะจะทำให้เก็บไว้ได้นานและผักไม่ช้ำ เมื่อจะนำมารับประทานจึงค่อยล้างเพื่อไม่ให้ผักเน่าเสียเร็ว
          กรมพัฒนาที่ดิน ก็ขอเชิญชวนให้ทุกคนมาลองทำสวนครัวแบบลอยฟ้ากันดูบ้าง ว่าผักสวนครัวที่ท่านได้ปลูกเองนั้น จะสด น่ารับประทาน มีเกลือแร่และวิตามินครบถ้วน เหมือวิธีที่ได้แนะนำไปข้างต้นหรือเปล่า โดยเริ่มจากวิธีง่าย ๆ ที่เหลือจากการไปซื้อผัก รับประทานครั้งแรกแล้ว!!!!

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.ldd.go.th/ofsweb/news/article/article060301-01.html

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การผลิตน้ำสกัดชีวภาพสมุนไพรไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา

สูตรที่ 1   การทำสารสกัดไล่แมลง และป้องกันเชื้อรา

ส่วนผสม         1. ใบสะเดาแก่หรือเมล็ดสะเดาบด
                        2. ใบน้อยหน่า
                        3. ใบฝรั่ง
                        4. ใบกระเพรา
                        5. หัวข่าแก่
                        6. หัวตะไคร้หอม
                        7. เปลือกต้นแค
                        8. เปลือกลูกมังคุด
                        9. กากน้ำตาล
วิธีทำ
นำส่วนผสมที่ 1 – 8 จำนวนพอสมควรเท่าๆ กัน สับหรือหั่นรวมกันในอัตรา 3 ส่วน (3 กิโลกรัม) ผสมคลุกเคล้ากับกากน้ำตาล 1 ส่วน (1 กิโลกรัม) ใส่ถังพลาสติกหมักไว้ 7 – 10 วัน กรองเอาน้ำหมักไปใช้ในอัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นต้นพืชในช่วงเย็นหรือเช้าที่ยังไม่มีแสงแดด ทุก 7 – 10 วัน / ครั้ง เพื่อไล่แมลงและป้องกันกำจัดเชื้อรา

สูตรที่ 2   น้ำหมักสมุนไพรกำจัดแมลง

ส่วนผสม        1. ใบสะเดาแก่หรือเมล็ด                        2                      กิโลกรัม
                        2. หัวข่าแก่                                           2                      กิโลกรัม
                        3. ตะไคร้หอมทั้งต้น                             2                      กิโลกรัม
                                        4. หางไหลหรือต้นบอระเพ็ด                 2                      กิโลกรัม

                                        5. น้ำสะอาด                                         1                      ปี๊บ (20 ลิตร)
วิธีทำ
หั่นสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด เป็นชิ้นเล็กๆ รวมกันตำหรือบดให้ละเอียดแช่น้ำ 1 ปี๊บ กรองเอาน้ำยาเข้มข้นสูง 1 ลิตร ผสมน้ำ 1 – 2 ปิ๊บ นำไปฉีดต้นไม้
ป้องกันกำจัดเพลี้ย หนอน แมลงต่างๆ ควรฉีดห่างกัน 3 – 5 วัน อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป

ปุ๋ยหมักชีวภาพ

ปุ๋ยหมักชีวภาพคือ ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดิน สามารถผลิตได้ง่าย ใช้เวลาน้อย โดยการนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ผสมคลุกเคล้าหมักรวมกับมูลสัตว์ แกลบดำ รำละเอียด คลุมด้วยกระสอบป่าน ใช้เวลาประมาณ 3 วัน สามารถนำไปใช้ได้
วัสดุทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
                1. มูลสัตว์แห้งละเอียด                                       1          ส่วน
2. แกลบดำ                                        1          ส่วน
3. รำละเอียด                                     1          ส่วน
4. น้ำสกัดชีวภาพ
5. กากน้ำตาล
6. วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น แกลบ กากอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง ถั่วเขียว ขุยมะพร้าว ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ส่วน
วิธีทำ
1.   ผสมวัสดุเข้าด้วยกัน
2.   รดน้ำผสมน้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาล (ใช้น้ำตาลทรายแดงแทนได้)
        อัตราส่วน         
                * น้ำ
                                     10       
ลิตร
                * น้ำสกัดชีวภาพ
                     2          ช้อนแกง
                *  กากน้ำตาล
                          2          ช้อนแกง
                  (เคล้าจนปุ๋ยขึ้นปั้นเป็นก้อนได้เมื่อแบมือ)
3.   กองปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์มีความหนาประมาณ 1 คืบ คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 3  วัน และควรกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อนทิ้งไว้อีก  2 – 4 วัน จึงนำไปใช้ได้
                   
(ลักษณะปุ๋ยที่ดีจะมีราขาว และมีกลิ่นของราหรือเห็ด ไม่ร้อน มีน้ำหนักเบา)
วิธีใช้
1.      ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพผสมดินแปลงปลูกผักทุกชนิด อัตราปุ๋ย 1 กก. ต่อ พื้นที่ 1 ตร.ม. ถ้าพืชผักอายุเกิน 2 เดือน ใช้ปุ๋ยรองก้นหลุม ประมาณ 1 กำมือ (ไม้กระถางใส่ 1 กำมือทุก 7 วัน)
                        2.    ไม้ผล รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักชีวภาพผสมเศษหญ้าหรือใบไม้ 1 – 2 บุ้งกี๋

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

บทความโดย อ.ศักดา ศรีนิเวศน์

ปัจจุบันการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินหรือที่เรียกว่า “ไฮโดรโปนิกส์” (Hydroponics) กำลัง
เป็นที่นิยมแพร่หลายในบ้านเราและต่างประเทศทั่วโลก สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากกระแสความสนใจใน
สุขภาพของผู้คนมีมากขึ้น
การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ คือ การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน โดยทั่วไปมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบการปลูกในน้ำ ซึ่งบริเวณรอบ ๆ รากของพืชมีของเหลวซึ่งประกอบไปด้วยธาตุอาหารที่จำเป็น ต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูก และ การปลูกในวัสดุแข็ง เช่น ทราย แกลบ พีช มอส ขุยมะพร้าว หรือหินภูเขาไฟ ซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่ใช่ธาตุอาหารพืชแต่อย่างใด ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นที่ยึดเกาะ ของรากพืชที่ปลูกเท่านั้นเอง หลายท่านอาจคิดไปว่าการปลูกพืชในน้ำเป็นเรื่องการเกษตรที่ใช้ เทคโนโลยีชั้นสูง ที่มาจากเมืองฝรั่งมังค่า อันที่จริงแล้วคิดว่าหาเป็นเช่นนั้นไม่ วิธีการปลูกแบบนี้เชื่อ ว่าน่าจะได้แนวคิดมาจากการปลูกพืชในน้ำของชาวพม่าในทะเลสาบอินเล (Inlay Lake) ซึ่งที่นี่ปลูกพืช ในน้ำมานานนับร้อย ๆ ปีแล้ว

s75 ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

ทะเลสาบอินเล เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางตอนล่างของรัฐฉาน มีความ กว้างประมาณ 11.25 กิโลเมตร ยาวประมาณ 22.5 กิโลเมตร มีความเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์และ สวยงามมาก หรือเป็นที่รู้จักกันในนามว่า “Small Mountain Sea” รัฐฉาน (Shaun State) หรือที่ คนไทยมักเรียกกันว่ารัฐไทยใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสหภาพพม่า หรือสหภาพ เมียนม่า แต่ในที่นี้จะขอเรียกว่า “ พม่า” ตามแบบที่คนไทยเราเรียกกัน ทิศเหนือของรัฐฉานติดกับ มณฑลสะกาย รัฐคะฉิ่น และประเทศจีน ทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาชนลาว ทิศใต้ติดกับ ประเทศไทย รัฐคะยา และรัฐกะเหรี่ยง ส่วนทิศตะวันตกติดกับมณฑลมัณฑะเลย์และสะกาย เป็น รัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากที่สุด ภูมิประเทศเป็นทิวเขาสูงมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 60,155 ตารางไมล์ สภาพภูมิอากาศอยู่ในเขตร้อนชื้น โดยเดือนธันวาคมและมกราคมจะเป็นเดือนที่ หนาวที่สุด อาณาเขตรัฐฉานนี้มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 70 องศาฟาเรนไฮด์ (21 องศาเซลเซียส) ถึง 80 องศาฟาเรนไฮด์ (26 องศาเซลเซียส)

s711 ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

ในรัฐฉานแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น 11 อำเภอ ได้แก่ ตองจี (Tuanggyi) ลอยลิ่ง (Loilem) ลาโซ (Lashio) มูแซ (Muse) เจ้าก์แม (Kyaukme) กุนลง (Kunglong) เล่าก์ก่าย (Laukkai) ไจ้โตง หรือ เชียงตุง (Kengtung) มายซัต (Mongsan) มาย-พยัต (Monghpyak) และตาซีและหรือท่าขี้เหล็ก (Tachilek) ทั้งรัฐมี 54 ตำบล กับ 193 หมู่บ้าน โดยมีตองจีเป็นเมือง หลวงของรัฐ ซึ่งเมืองตองจีนี้เป็นเมืองที่สวยงามและมีอากาศเย็นสบายดีตลอดปี หรือเรียกว่า “เมือง แห่งฤดูใบไม้ผลิตลอดกาล” เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาสูงกลางเมืองตองจีจะมองเห็นทะเลสาบอินเลสุดลูกหู ลูกตา สวยงามมากจริง ๆ

s714 ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

มีประชากรประมาณมากกว่า 5.2 ล้านคน ความหนาแน่นของประชากร 34 คนต่อตาราง กิโลเมตร (ปี 2549) ประชากรส่วนใหญ่เป็นไทยใหญ่ อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำ และตามหุบเขา ทำให้การติดต่อสื่อสารค่อนข้างลำบาก นอกจากนี้ยังมีชนเผ่าดานุ (Danu) ต่องโย (Taungyoe) อิ่งตา (Inn-thar/Inn-has) และชาวพม่า (Bamar) อาศัยทางด้านตะวันตกส่วนปะหล่อง (Palaung) ลีซอ (Lisu/Lishaw) และกะฉิ่น (Kachin) อาศัยทางด้านเหนือ ปะโอ (Pa-O) พบอาศัยแถวด้านใต้ ว้า ที่ เมืองโฮบัง ด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน โกกั้งในเขตปกครองโกกั้ง และอีก้อกับมูเซออาศัยแถบ เมืองเชียงตุง เอกลักษณ์ของชาวรัฐฉาน คือ ผ้าโพกหัวสำหรับหญิงชายที่ออกเรือนแล้ว ประชากรส่วน ใหญ่พูดภาษาพม่าเป็นภากลาง นับถือศาสนาพุทธและมีเพียงเล็กน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์และฮินดู

s718 ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

พื้นที่รัฐฉานเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และยังมีพื้นที่ป่าสงวนอีกมากมายประมาณ 200,000 เอเคอร์ ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกมีมากเช่นกัน ประมาณ 1.5 ล้านเอเคอร์ แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับปลูก ข้าวและพืชอื่น ๆ ประมาณ 500,000 เอเคอร์ โดยทำการเกษตรตามไหล่เขาประมาณ 200,000 เอเคอร์ และเป็นพื้นที่สำหรับการทำไร่ ทำสวน อีกประมาณ 200,000 เอเคอร์ ทั้งนี้มีพื้นที่ เพาะปลูกที่อยู่ในเขตชลประทานเพียง 450,000 เอเคอร์ ผลผลิตที่สำคัญได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี อ้อย ถั่ว ธัญพืช หอมแดง กระเทียม งา ถั่วลิสง ทานตะวัน ใบชา ใบยาสูบ กาแฟ ผลไม้เมืองหนาว และผักนานาชนิด รัฐฉานเป็นรัฐที่ได้ชื่อว่ามีการปลูกฝิ่นมากที่สุด และเป็นต้นทางของยาเสพติด หลายชนิดรวมทั้งเฮโรอีน ปัจจุบันจึงได้มีโครงการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทนการปลูกฝิ่น โดยได้รับ การช่วยเหลือจากรัฐบาลจีน ในรูปแบบของเกษตรพันธสัญญา ภายใต้กรอบปฏิบัติการความร่วมมือ อาเซียน-จีน ว่าด้วยยาอันตราย (ACCORD) รวมถึงญี่ปุ่นและไทย ในการรับซื้อผลผลิตจากฝ่าย พม่า เช่น ถั่วเหลือง และสาหร่ายบางชนิดที่นิยมนำไปทำเส้นหมี่ (Soba) เป็นต้น เมืองลางเคอ (Langkho) เป็นเมืองผลิตใบยาสูบ และเส้นยาสูบชั้นเลิศ มีโรงงาน กระดาษ โรงงานทอผ้าในแถบทะเลสาบอินเล (Inlay Lake) โรงงานผลิตใบชา ซึ่งชาวเขียวและส้มจาก Aungban นับเป็นผลผลิตที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของรัฐนี้ นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมขนาดย่อย อีกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมจากภาคเกษตร

s720 ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

จากท่าเรือชายฝั่งที่เมืองอินเล ใช้เวลานั่งเรือหางยาวจนถึงบริเวณที่ปลูกพืชในน้ำประมาณ 1 ชั่วโมง การเดินทางครั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานจากระทรวงเกษตรและชลประทานพม่า คุณ พันธ์เทพ ญาณวุฒิ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ ประเทศพม่า และเกษตรอำเภอ ตองจี ร่วมเดินทางไปด้วย


s723 ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

ที่นี่เกษตรอำเภอเล่าว่า เกษตรกรปลูกพืชในน้ำมาเป็นเวลานานนับร้อย ๆ ปี เพราะเคย สอบถามเกษตรที่มีอายุกว่า 80 ปี ว่าปลูกกันมาแต่เมื่อใด แกตอบว่าไม่ทราบรู้แต่เพียงว่ารุ่นพ่อของแก่ เกิดมาก็มีปลูกกันแล้ว เกษตรอำเภอได้เล่าให้ฟังว่า แพแปลงหญ้า หรืออันที่จริงน่าจะเรียกว่า เกาะ ลอยน้ำ นี้ทำจากหญ้าไซ ซึ่งก็เหมือนกับหญ้าไซบ้านเรานั่นแหละ ซึ่งเมื่อถูกบาดแล้วจะคันมาก เกิด เป็นแผลหนองเป็นอาทิตย์ โดยเริ่มแรกเกษตรกรจะตัดแบ่งหญ้าไซที่ขึ้นหนาแน่นบริเวณชายฝั่ง ทะเลสาบ ตัดให้เป็นแพ มีความกว้างขนาด 1 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร และจะตัดรากที่ยึดติด กับดินออก จากนั้นจึงลากออกจากชายฝั่งไปในทะเลสาบห่างจากฝั่งพอประมาณ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ ระดับน้ำลึกประมาณ 4-6 เมตร (ทะเลสาบอินเลมีความลึกเฉลี่ยประมาณ 8 เมตร) จากนั้นจึงเอาไม้ไผ่ ลำยาว ๆ ปกั ทะลุแพหญ้าลงไปในพื้นดินก้นทะเลสาบ อันนี้สำคัญมาก หากไม่ใช้ไม้ไผ่ปักยึดไว้ แพ หญ้านี้ก็จะลอยไป จากนั้นเกษตรกรก็จะโกยดินเลนก้นทะเลสาบที่อุดมไปด้วยอินทรียวัตถุอันเกิดจาก การย่อยสลายของพืชและสาหร่ายใต้น้ำขึ้นมาโปะลงปนแปลงหญ้า แล้วก็ปล่อยให้หญ้าไซแตกต้นขึ้น ใหม่ จากนั้นก็จะโกยดินเลนก้นทะเลสาบขึ้นมาโปะใหม่อีก ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนแพหญ้ามีขนาด ความหนาประมาณ 50 เซนติเมตร จึงเริ่มเพาะปลูกพืชได้

s726 ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

โดยทั่วไปพืชที่ปลูกเป็นหลักในทะเลสาบ อินเลคือมะเขือเทศ ที่นี่จึงจัดว่าเป็นแหล่งปลูกมะเขือเทศที่ใหญ่ที่สุดในพม่า สามารถผลิตมะเขือเทศ ได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณวันละ 50 ตัน การปลูก เกษตรกรจะนำต้นกล้ามะเขือเทศที่เพาะไว้แล้วมาลง ปลูกในแปลงแพหญ้า โดยปลูกเป็นแถว 2 แถว บนแพหญ้า มีระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 60 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้นประมาณ 30 เซนติเมตร ดูแล้วค่อนข้างจะหนาแน่นมาก แล้วจึงทำไม้ค้ำ ยันยาวเป็นตับเพื่อพยุงต้นไม่ให้ล้ม เมื่อต้นมะเขือเทศที่ปลูกอายุประมาณ 20-30 วัน เกษตรกรก็จะทำ รุ่นหรือดายหญ้าไซที่แตกต้นใหม่ขึ้นมา จากนั้นก็จะโกยดินเลนก้นทะเลสาบมากลบบริเวณโคนต้น มะเขือเทศแล้วกลบทับด้วยต้นสาหร่าย และเมื่อมะเขือเทศใกล้ที่จะออกดอก เกษตรกรก็จะโกยเอาดิน เลนมาใส่และปฏิบัติเหมือนเดิมอีก แต่ก่อนที่จะเอาสาหร่ายทับเกษตรกรจะใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ก่อน เกษตรกรจะเก็บผลผลิตไปเรื่อย ๆ ไปจนหมด ซึ่งการปลูกแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน หลังจากนั้นเกษตรกรก็จะถอนต้นเก่าออกไปทำลาย และพักแปลงแพหญ้าไว้ประมาณ 1 เดือน จึงเริ่ม ปลูกใหม่ โดยปฏิบัติเหมือนเช่นเดิม แปลงแพหญ้านี้สามารถใช้ปลูกไปได้เรื่อย ๆ โดยที่ส่วนใหญ่แต่ ละแพจะมีอายุตั้งแต่ 10-15 ปี หรือมากกว่าก็มี ซึ่งการที่จะทำให้แพปลูกมีอายุยาวนาน เกษตรกรก็ จะต้องไม่ทำให้ต้นหญ้าไซตาย ซึ่งอันที่จริงแล้วหญ้าไซเป็นหญ้าที่ทนทานมาก ยากที่จะตาย หาก เกษตรกรไม่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ดังนั้น อย่าหวังว่าสารเคมีกำจัดวัชพืชจะขายให้เกษตรกรที่นี่ได้ เกษตรกรบางรายจะปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียนภายหลังจากปลูกมะเขือเทศเพื่อป้องกันปัญหาจากการ ระบาดทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้น เกษตรกรสามารถที่จะขึ้นไปเดิน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ โดยแปลงแพปลูกนี้สามารถที่จะรับน้ำหนักเกษตรกรได้ถึง 2 คน โดยไม่มีปัญหา


เมื่อมองลงไปในน้ำของทะเลสาบที่ใสแจ๋วจะมองเห็นรากของต้นมะเขือเทศยาวทะลุออกจาก แปลงปลูกลงไปในน้ำยาวเป็นฟุต มีสีขาวสะอาดเหมือนเส้นหมี่ที่ลอยอยู่ในน้ำ ดูน่ามหัศจรรย์ และ นี่เอง คือ ที่มาของแนวคิดการปลูกพืชในน้ำหรือไฮโดรโปนิกส์ เกษตรกรจะปลูกพืชได้เพียง 2 ครั้ง ใน 1 ปี เนื่องจากต้องใช้เวลาในการเตรียมแปลงมาก สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรชอบมากเป็นพิเศษ คือ ปลูก แล้วไม่ต้องรดน้ำและไม่เคยประสบปัญหาในเรื่องฝนแล้ง และน้ำท่วมเลยแม้แต่ครั้งเดียว ปัญหาที่จะ ทำให้เสียหายมากที่สุดคือ ลมพายุ เพราะลมจะหอบพาแปลงแพลอยน้ำไป หรือทำให้พืชที่ปลูกล้มลง ไปในน้ำทั้งหมด รองลงมาก็คือปัญหาเรื่องโรคพืช เนื่องจากมีการปลูกมะเขือเทศและพืชผักต่าง ๆ มา เป็นเวลานานร้อย ๆ ปี ดังนั้น โรคที่พบส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคผลเน่าและโคน เน่า เป็นต้น ส่วนปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืชไม่ค่อยจะรุนแรงมากนัก สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกร ที่นี่ให้ความเชื่อถือมากที่สุด คือ สารเคมีของประเทศไทย


สิ่งที่ดีและสะดวกอีกประการหนึ่งของ
เกษตรกรที่นี่ คือ ขณะเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรจะพายเรือไปรอบ ๆ แปลง และเก็บผลผลิตใส่เรือ แล้วจึงวิ่งตรงไปขายให้กับผู้รับซื้อที่ตลาดชายฝั่ง ผลผลิตจะสวยงามไม่ช้ำจนถึงพ่อค้าที่รับซื้อ แต่พอ ถึงพ่อค้าคนกลางที่รวบรวมผลผลิตแล้วส่งไปยังเมืองต่าง ๆ ผลผลิตจะเสียหายไปเกือบครึ่ง สาเหตุ เป็นเพราะว่าถนนไม่ดีเอามาก ๆ เกือบจะเรียกว่าเป็นทางเกวียนซะมากกว่า มีบริษัทแปรรูปอาหาร กระป๋องรายหนึ่งของประเทศไทยไปตั้งโรงงงานที่ย่างกุ้งตั้งใจว่าจะทำมะเขือเทศกระป๋องขาย แต่ ปรากฎว่าไปเจอกับปัญหาในเรื่องการขนส่งผลผลิตมะเขือเทศไปยังโรงงานเลยต้องเปลี่ยนไปผลิตปลา กระป๋องแทน ก็รวยแบบไม่รู้เรื่องเพราะปลาที่พม่าเยอะมาก ๆ

ปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้ควบคุมไม่ให้เกษตรกรเพิ่มจำนวนแพปลูกพืชในน้ำ เป็นเพราะว่าน้ำ ในทะเลสาบเริ่มมีคุณภาพไม่ดี สิ่งแวดล้อมเริ่มจะเสียหายเนื่องจากเกษตรกรมีการใช้สารเคมีมากขึ้น นอกจากนั้น เกษตรกรยังทิ้งผลผลิตที่เสียหรือไม่ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการลงในทะเลสาบลอยเป็น แพ ประกอบกับทะเลสาบอินเลเป็นแหล่งน้ำจืดที่จำเป็นสำหรับอุปโภค บริโภคของประชาชนในรัฐฉาน ตอนล่างเกือบครึ่งหนึ่ง หากปล่อยให้เกษตรกรเพิ่มจำนวนแพปลูกให้มากขึ้นก็จะเกิดผลเสียหายอย่าง รุนแรงในอนาคต สำหรับในบ้านเราเชื่อว่า มีแหล่งน้ำจืดหลายแห่งที่สามารถทำแพปลูกพืชได้อย่างเกษตรกร ที่อินเล ลองทำดูซิครับ คุณอาจรวยไม่รู้เรื่องก็ได้นะครับ

เอกสารประกอบ
1. http//www.vcharharn/include/vcafe/showkraloo.phpMPid=5761&page=1
2. คู่มือการลงทุนในสหภาพพม่า มหาวิทยาลัยหอการค้า 2547