วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

บทความโดย อ.ศักดา ศรีนิเวศน์

ปัจจุบันการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินหรือที่เรียกว่า “ไฮโดรโปนิกส์” (Hydroponics) กำลัง
เป็นที่นิยมแพร่หลายในบ้านเราและต่างประเทศทั่วโลก สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากกระแสความสนใจใน
สุขภาพของผู้คนมีมากขึ้น
การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ คือ การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน โดยทั่วไปมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบการปลูกในน้ำ ซึ่งบริเวณรอบ ๆ รากของพืชมีของเหลวซึ่งประกอบไปด้วยธาตุอาหารที่จำเป็น ต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูก และ การปลูกในวัสดุแข็ง เช่น ทราย แกลบ พีช มอส ขุยมะพร้าว หรือหินภูเขาไฟ ซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่ใช่ธาตุอาหารพืชแต่อย่างใด ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นที่ยึดเกาะ ของรากพืชที่ปลูกเท่านั้นเอง หลายท่านอาจคิดไปว่าการปลูกพืชในน้ำเป็นเรื่องการเกษตรที่ใช้ เทคโนโลยีชั้นสูง ที่มาจากเมืองฝรั่งมังค่า อันที่จริงแล้วคิดว่าหาเป็นเช่นนั้นไม่ วิธีการปลูกแบบนี้เชื่อ ว่าน่าจะได้แนวคิดมาจากการปลูกพืชในน้ำของชาวพม่าในทะเลสาบอินเล (Inlay Lake) ซึ่งที่นี่ปลูกพืช ในน้ำมานานนับร้อย ๆ ปีแล้ว

s75 ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

ทะเลสาบอินเล เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางตอนล่างของรัฐฉาน มีความ กว้างประมาณ 11.25 กิโลเมตร ยาวประมาณ 22.5 กิโลเมตร มีความเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์และ สวยงามมาก หรือเป็นที่รู้จักกันในนามว่า “Small Mountain Sea” รัฐฉาน (Shaun State) หรือที่ คนไทยมักเรียกกันว่ารัฐไทยใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสหภาพพม่า หรือสหภาพ เมียนม่า แต่ในที่นี้จะขอเรียกว่า “ พม่า” ตามแบบที่คนไทยเราเรียกกัน ทิศเหนือของรัฐฉานติดกับ มณฑลสะกาย รัฐคะฉิ่น และประเทศจีน ทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาชนลาว ทิศใต้ติดกับ ประเทศไทย รัฐคะยา และรัฐกะเหรี่ยง ส่วนทิศตะวันตกติดกับมณฑลมัณฑะเลย์และสะกาย เป็น รัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากที่สุด ภูมิประเทศเป็นทิวเขาสูงมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 60,155 ตารางไมล์ สภาพภูมิอากาศอยู่ในเขตร้อนชื้น โดยเดือนธันวาคมและมกราคมจะเป็นเดือนที่ หนาวที่สุด อาณาเขตรัฐฉานนี้มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 70 องศาฟาเรนไฮด์ (21 องศาเซลเซียส) ถึง 80 องศาฟาเรนไฮด์ (26 องศาเซลเซียส)

s711 ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

ในรัฐฉานแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น 11 อำเภอ ได้แก่ ตองจี (Tuanggyi) ลอยลิ่ง (Loilem) ลาโซ (Lashio) มูแซ (Muse) เจ้าก์แม (Kyaukme) กุนลง (Kunglong) เล่าก์ก่าย (Laukkai) ไจ้โตง หรือ เชียงตุง (Kengtung) มายซัต (Mongsan) มาย-พยัต (Monghpyak) และตาซีและหรือท่าขี้เหล็ก (Tachilek) ทั้งรัฐมี 54 ตำบล กับ 193 หมู่บ้าน โดยมีตองจีเป็นเมือง หลวงของรัฐ ซึ่งเมืองตองจีนี้เป็นเมืองที่สวยงามและมีอากาศเย็นสบายดีตลอดปี หรือเรียกว่า “เมือง แห่งฤดูใบไม้ผลิตลอดกาล” เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาสูงกลางเมืองตองจีจะมองเห็นทะเลสาบอินเลสุดลูกหู ลูกตา สวยงามมากจริง ๆ

s714 ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

มีประชากรประมาณมากกว่า 5.2 ล้านคน ความหนาแน่นของประชากร 34 คนต่อตาราง กิโลเมตร (ปี 2549) ประชากรส่วนใหญ่เป็นไทยใหญ่ อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำ และตามหุบเขา ทำให้การติดต่อสื่อสารค่อนข้างลำบาก นอกจากนี้ยังมีชนเผ่าดานุ (Danu) ต่องโย (Taungyoe) อิ่งตา (Inn-thar/Inn-has) และชาวพม่า (Bamar) อาศัยทางด้านตะวันตกส่วนปะหล่อง (Palaung) ลีซอ (Lisu/Lishaw) และกะฉิ่น (Kachin) อาศัยทางด้านเหนือ ปะโอ (Pa-O) พบอาศัยแถวด้านใต้ ว้า ที่ เมืองโฮบัง ด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน โกกั้งในเขตปกครองโกกั้ง และอีก้อกับมูเซออาศัยแถบ เมืองเชียงตุง เอกลักษณ์ของชาวรัฐฉาน คือ ผ้าโพกหัวสำหรับหญิงชายที่ออกเรือนแล้ว ประชากรส่วน ใหญ่พูดภาษาพม่าเป็นภากลาง นับถือศาสนาพุทธและมีเพียงเล็กน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์และฮินดู

s718 ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

พื้นที่รัฐฉานเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และยังมีพื้นที่ป่าสงวนอีกมากมายประมาณ 200,000 เอเคอร์ ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกมีมากเช่นกัน ประมาณ 1.5 ล้านเอเคอร์ แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับปลูก ข้าวและพืชอื่น ๆ ประมาณ 500,000 เอเคอร์ โดยทำการเกษตรตามไหล่เขาประมาณ 200,000 เอเคอร์ และเป็นพื้นที่สำหรับการทำไร่ ทำสวน อีกประมาณ 200,000 เอเคอร์ ทั้งนี้มีพื้นที่ เพาะปลูกที่อยู่ในเขตชลประทานเพียง 450,000 เอเคอร์ ผลผลิตที่สำคัญได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี อ้อย ถั่ว ธัญพืช หอมแดง กระเทียม งา ถั่วลิสง ทานตะวัน ใบชา ใบยาสูบ กาแฟ ผลไม้เมืองหนาว และผักนานาชนิด รัฐฉานเป็นรัฐที่ได้ชื่อว่ามีการปลูกฝิ่นมากที่สุด และเป็นต้นทางของยาเสพติด หลายชนิดรวมทั้งเฮโรอีน ปัจจุบันจึงได้มีโครงการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทนการปลูกฝิ่น โดยได้รับ การช่วยเหลือจากรัฐบาลจีน ในรูปแบบของเกษตรพันธสัญญา ภายใต้กรอบปฏิบัติการความร่วมมือ อาเซียน-จีน ว่าด้วยยาอันตราย (ACCORD) รวมถึงญี่ปุ่นและไทย ในการรับซื้อผลผลิตจากฝ่าย พม่า เช่น ถั่วเหลือง และสาหร่ายบางชนิดที่นิยมนำไปทำเส้นหมี่ (Soba) เป็นต้น เมืองลางเคอ (Langkho) เป็นเมืองผลิตใบยาสูบ และเส้นยาสูบชั้นเลิศ มีโรงงาน กระดาษ โรงงานทอผ้าในแถบทะเลสาบอินเล (Inlay Lake) โรงงานผลิตใบชา ซึ่งชาวเขียวและส้มจาก Aungban นับเป็นผลผลิตที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของรัฐนี้ นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมขนาดย่อย อีกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมจากภาคเกษตร

s720 ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

จากท่าเรือชายฝั่งที่เมืองอินเล ใช้เวลานั่งเรือหางยาวจนถึงบริเวณที่ปลูกพืชในน้ำประมาณ 1 ชั่วโมง การเดินทางครั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานจากระทรวงเกษตรและชลประทานพม่า คุณ พันธ์เทพ ญาณวุฒิ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ ประเทศพม่า และเกษตรอำเภอ ตองจี ร่วมเดินทางไปด้วย


s723 ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

ที่นี่เกษตรอำเภอเล่าว่า เกษตรกรปลูกพืชในน้ำมาเป็นเวลานานนับร้อย ๆ ปี เพราะเคย สอบถามเกษตรที่มีอายุกว่า 80 ปี ว่าปลูกกันมาแต่เมื่อใด แกตอบว่าไม่ทราบรู้แต่เพียงว่ารุ่นพ่อของแก่ เกิดมาก็มีปลูกกันแล้ว เกษตรอำเภอได้เล่าให้ฟังว่า แพแปลงหญ้า หรืออันที่จริงน่าจะเรียกว่า เกาะ ลอยน้ำ นี้ทำจากหญ้าไซ ซึ่งก็เหมือนกับหญ้าไซบ้านเรานั่นแหละ ซึ่งเมื่อถูกบาดแล้วจะคันมาก เกิด เป็นแผลหนองเป็นอาทิตย์ โดยเริ่มแรกเกษตรกรจะตัดแบ่งหญ้าไซที่ขึ้นหนาแน่นบริเวณชายฝั่ง ทะเลสาบ ตัดให้เป็นแพ มีความกว้างขนาด 1 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร และจะตัดรากที่ยึดติด กับดินออก จากนั้นจึงลากออกจากชายฝั่งไปในทะเลสาบห่างจากฝั่งพอประมาณ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ ระดับน้ำลึกประมาณ 4-6 เมตร (ทะเลสาบอินเลมีความลึกเฉลี่ยประมาณ 8 เมตร) จากนั้นจึงเอาไม้ไผ่ ลำยาว ๆ ปกั ทะลุแพหญ้าลงไปในพื้นดินก้นทะเลสาบ อันนี้สำคัญมาก หากไม่ใช้ไม้ไผ่ปักยึดไว้ แพ หญ้านี้ก็จะลอยไป จากนั้นเกษตรกรก็จะโกยดินเลนก้นทะเลสาบที่อุดมไปด้วยอินทรียวัตถุอันเกิดจาก การย่อยสลายของพืชและสาหร่ายใต้น้ำขึ้นมาโปะลงปนแปลงหญ้า แล้วก็ปล่อยให้หญ้าไซแตกต้นขึ้น ใหม่ จากนั้นก็จะโกยดินเลนก้นทะเลสาบขึ้นมาโปะใหม่อีก ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนแพหญ้ามีขนาด ความหนาประมาณ 50 เซนติเมตร จึงเริ่มเพาะปลูกพืชได้

s726 ต้นกำเนิดไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชผักในน้ำ ที่ทะเลสาบอินเล

โดยทั่วไปพืชที่ปลูกเป็นหลักในทะเลสาบ อินเลคือมะเขือเทศ ที่นี่จึงจัดว่าเป็นแหล่งปลูกมะเขือเทศที่ใหญ่ที่สุดในพม่า สามารถผลิตมะเขือเทศ ได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณวันละ 50 ตัน การปลูก เกษตรกรจะนำต้นกล้ามะเขือเทศที่เพาะไว้แล้วมาลง ปลูกในแปลงแพหญ้า โดยปลูกเป็นแถว 2 แถว บนแพหญ้า มีระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 60 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้นประมาณ 30 เซนติเมตร ดูแล้วค่อนข้างจะหนาแน่นมาก แล้วจึงทำไม้ค้ำ ยันยาวเป็นตับเพื่อพยุงต้นไม่ให้ล้ม เมื่อต้นมะเขือเทศที่ปลูกอายุประมาณ 20-30 วัน เกษตรกรก็จะทำ รุ่นหรือดายหญ้าไซที่แตกต้นใหม่ขึ้นมา จากนั้นก็จะโกยดินเลนก้นทะเลสาบมากลบบริเวณโคนต้น มะเขือเทศแล้วกลบทับด้วยต้นสาหร่าย และเมื่อมะเขือเทศใกล้ที่จะออกดอก เกษตรกรก็จะโกยเอาดิน เลนมาใส่และปฏิบัติเหมือนเดิมอีก แต่ก่อนที่จะเอาสาหร่ายทับเกษตรกรจะใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ก่อน เกษตรกรจะเก็บผลผลิตไปเรื่อย ๆ ไปจนหมด ซึ่งการปลูกแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน หลังจากนั้นเกษตรกรก็จะถอนต้นเก่าออกไปทำลาย และพักแปลงแพหญ้าไว้ประมาณ 1 เดือน จึงเริ่ม ปลูกใหม่ โดยปฏิบัติเหมือนเช่นเดิม แปลงแพหญ้านี้สามารถใช้ปลูกไปได้เรื่อย ๆ โดยที่ส่วนใหญ่แต่ ละแพจะมีอายุตั้งแต่ 10-15 ปี หรือมากกว่าก็มี ซึ่งการที่จะทำให้แพปลูกมีอายุยาวนาน เกษตรกรก็ จะต้องไม่ทำให้ต้นหญ้าไซตาย ซึ่งอันที่จริงแล้วหญ้าไซเป็นหญ้าที่ทนทานมาก ยากที่จะตาย หาก เกษตรกรไม่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ดังนั้น อย่าหวังว่าสารเคมีกำจัดวัชพืชจะขายให้เกษตรกรที่นี่ได้ เกษตรกรบางรายจะปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียนภายหลังจากปลูกมะเขือเทศเพื่อป้องกันปัญหาจากการ ระบาดทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้น เกษตรกรสามารถที่จะขึ้นไปเดิน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ โดยแปลงแพปลูกนี้สามารถที่จะรับน้ำหนักเกษตรกรได้ถึง 2 คน โดยไม่มีปัญหา


เมื่อมองลงไปในน้ำของทะเลสาบที่ใสแจ๋วจะมองเห็นรากของต้นมะเขือเทศยาวทะลุออกจาก แปลงปลูกลงไปในน้ำยาวเป็นฟุต มีสีขาวสะอาดเหมือนเส้นหมี่ที่ลอยอยู่ในน้ำ ดูน่ามหัศจรรย์ และ นี่เอง คือ ที่มาของแนวคิดการปลูกพืชในน้ำหรือไฮโดรโปนิกส์ เกษตรกรจะปลูกพืชได้เพียง 2 ครั้ง ใน 1 ปี เนื่องจากต้องใช้เวลาในการเตรียมแปลงมาก สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรชอบมากเป็นพิเศษ คือ ปลูก แล้วไม่ต้องรดน้ำและไม่เคยประสบปัญหาในเรื่องฝนแล้ง และน้ำท่วมเลยแม้แต่ครั้งเดียว ปัญหาที่จะ ทำให้เสียหายมากที่สุดคือ ลมพายุ เพราะลมจะหอบพาแปลงแพลอยน้ำไป หรือทำให้พืชที่ปลูกล้มลง ไปในน้ำทั้งหมด รองลงมาก็คือปัญหาเรื่องโรคพืช เนื่องจากมีการปลูกมะเขือเทศและพืชผักต่าง ๆ มา เป็นเวลานานร้อย ๆ ปี ดังนั้น โรคที่พบส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคผลเน่าและโคน เน่า เป็นต้น ส่วนปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืชไม่ค่อยจะรุนแรงมากนัก สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกร ที่นี่ให้ความเชื่อถือมากที่สุด คือ สารเคมีของประเทศไทย


สิ่งที่ดีและสะดวกอีกประการหนึ่งของ
เกษตรกรที่นี่ คือ ขณะเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรจะพายเรือไปรอบ ๆ แปลง และเก็บผลผลิตใส่เรือ แล้วจึงวิ่งตรงไปขายให้กับผู้รับซื้อที่ตลาดชายฝั่ง ผลผลิตจะสวยงามไม่ช้ำจนถึงพ่อค้าที่รับซื้อ แต่พอ ถึงพ่อค้าคนกลางที่รวบรวมผลผลิตแล้วส่งไปยังเมืองต่าง ๆ ผลผลิตจะเสียหายไปเกือบครึ่ง สาเหตุ เป็นเพราะว่าถนนไม่ดีเอามาก ๆ เกือบจะเรียกว่าเป็นทางเกวียนซะมากกว่า มีบริษัทแปรรูปอาหาร กระป๋องรายหนึ่งของประเทศไทยไปตั้งโรงงงานที่ย่างกุ้งตั้งใจว่าจะทำมะเขือเทศกระป๋องขาย แต่ ปรากฎว่าไปเจอกับปัญหาในเรื่องการขนส่งผลผลิตมะเขือเทศไปยังโรงงานเลยต้องเปลี่ยนไปผลิตปลา กระป๋องแทน ก็รวยแบบไม่รู้เรื่องเพราะปลาที่พม่าเยอะมาก ๆ

ปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้ควบคุมไม่ให้เกษตรกรเพิ่มจำนวนแพปลูกพืชในน้ำ เป็นเพราะว่าน้ำ ในทะเลสาบเริ่มมีคุณภาพไม่ดี สิ่งแวดล้อมเริ่มจะเสียหายเนื่องจากเกษตรกรมีการใช้สารเคมีมากขึ้น นอกจากนั้น เกษตรกรยังทิ้งผลผลิตที่เสียหรือไม่ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการลงในทะเลสาบลอยเป็น แพ ประกอบกับทะเลสาบอินเลเป็นแหล่งน้ำจืดที่จำเป็นสำหรับอุปโภค บริโภคของประชาชนในรัฐฉาน ตอนล่างเกือบครึ่งหนึ่ง หากปล่อยให้เกษตรกรเพิ่มจำนวนแพปลูกให้มากขึ้นก็จะเกิดผลเสียหายอย่าง รุนแรงในอนาคต สำหรับในบ้านเราเชื่อว่า มีแหล่งน้ำจืดหลายแห่งที่สามารถทำแพปลูกพืชได้อย่างเกษตรกร ที่อินเล ลองทำดูซิครับ คุณอาจรวยไม่รู้เรื่องก็ได้นะครับ

เอกสารประกอบ
1. http//www.vcharharn/include/vcafe/showkraloo.phpMPid=5761&page=1
2. คู่มือการลงทุนในสหภาพพม่า มหาวิทยาลัยหอการค้า 2547

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น