วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

รายการสินค้า

รายการขนาดรายละเอียดหน่วยราคา
ปุ๋ยน้ำ A+B1 คู่ลิตร ( A 1 ลิตร ,B 1 ลิตร )สูตรผักสลัด (1/200)70
ปุ๋ยแห้ง A+B1 คู่ลิตรสูตรผักสลัด (1/200)40
ปุ๋ยแห้ง A+B1 คู่ลิตรสูตรผักไทย40
ปุ๋ยน้ำ C1 ลิตร
โฟมรางปลูก0.95 x 0.60 ม.หนาแน่น 35 g/cm4ชิ้น260
โฟมรางปลูกหัวท้าย2 x 0.95 x 0.34 ม.หนาแน่น 40 g/cm3ชิ้น350
โฟมแผ่นปลูกผักจีน0.95 x 0.60 ม.หนาแน่น 40 g/cm3แผ่น130
โฟมแผ่นปลูกผักสลัด0.95 x 0.72 ม.หนาแน่น 40 g/cm4แผ่น150
พลาสติกใสหน้ากว้าง 3 x 100ม.หนา 100 ไมครอน UV 3%ม้วน3400
พลาสติกใสหน้ากว้าง 3 x 100ม.หนา 120 ไมครอน UV 3%ม้วน4450
พลาสติกดำหน้ากว้าง 2.5 เมตรหนา 150 ไมครอน UV 3%ม้วน3300
มุ้งขาวหน้ากว้าง 1.1 x 100ม.ความถี่ 32 ดา UV 3%ม้วน2600
มุ้งขาวหน้ากว้าง 2.5 x 100ม.ความถี่ 32 ดา UV 3%ม้วน5900
มุ้งขาวหน้ากว้าง 3 x 30ม.ความถี่ 32 ดา UV 3%ม้วน2130
มุ้งขาวหน้ากว้าง 3 x 50ม.ความถี่ 32 ดา UV 3%ม้วน3540
มุ้งขาวหน้ากว้าง 3 x 100ม.ความถี่ 32 ดา UV 3%ม้วน7080
คลิปล็อก1/2 นิ้วสีดำอัน6
คลิปล็อก3/4 นิ้วสำดำอัน7
สะดือปรับระดับน้ำ2 นิ้วอัน350
หัวจ่ายน้ำอัน95
มอเตอร์AP 1600lift techตัว200
มอเตอร์AP 2500lift techตัว260
ฟองน้ำ G-81 x 1 นิ้ว96 ชิ้น/แผ่นแผ่น9
เมล็ดพันธ์ผักสลัด (เคลือบ)1000 เมล็ดGreen Oakเมล็ด700
เมล็ดพันธ์ผักสลัด (เคลือบ)1000 เมล็ดRed Oakเมล็ด700
เมล็ดพันธ์ผักสลัด (เคลือบ)1000 เมล็ดRed Coralเมล็ด700
เมล็ดพันธ์ผักสลัด (เคลือบ)1000 เมล็ดCosเมล็ด700
เมล็ดพันธ์ผักสลัด (เคลือบ)1000 เมล็ดButter Headเมล็ด700
เมล็ดพันธ์ผักสลัด (ไม่เคลือบ)1000 เมล็ดGreen Oakเมล็ด250
เมล็ดพันธ์ผักสลัด (ไม่เคลือบ)1000 เมล็ดRed Oakเมล็ด250
เมล็ดพันธ์ผักสลัด (ไม่เคลือบ)1000 เมล็ดRed Coralเมล็ด250
เมล็ดพันธ์ผักสลัด (ไม่เคลือบ)1000 เมล็ดFrilliceเมล็ด700
เมล็ดพันธ์ผักสลัด (ไม่เคลือบ)1000 เมล็ดButter Headเมล็ด250
เมล็ดพันธ์ผักสลัด (ไม่เคลือบ)1000 เมล็ดCosเมล็ด250
เมล็ดพันธ์ผักสลัด (ไม่เคลือบ)กรัมRocketเมล็ด4
เมล็ดพันธ์ผักสลัด (ไม่เคลือบ)กรัมMizunaเมล็ด4
กรดไนตริกกิโลกรัมเข้มข้น 68%กิโลกรัม25
EC Meter3500
PH Meter3500

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

การทำสารไล่ศัตรูพืช (สุโตจู / EM 5)

ส่วนผสม

1. เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี 2 ส่วน หรือ 2 แก้ว (แก้วละ 250 ซีซี)

2. น้ำสัมสายชู 5% 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว

3. EM 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว

4. กากน้ำตาล 1 ส่วน หรือ 1 แก้ว

5. น้ำสะอาด 10 ลิตร

วิธีทำ

• นำกากน้ำตาลผสมน้ำเขย่าให้เข้ากัน ใส่เหล้าขาวและน้ำส้มสายชู

• ใส่ EM คนให้เข้ากัน

• เขย่าภาชนะทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดการนอนก้น เปิดฝาระบายก๊าซหลังจากเขย่า ครบกำหนดนำไปใช้เพื่อขับไล่แมลง ป้องกันโรคพืชบางชนิด เช่น ใบหงิก ใบด่าง เพลี้ยแป้ง หนอนชอนใบ ฯลฯ

วิธีใช้

• ใช้ 10 – 50 ซีซี (1-5 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำสะอาด 5-10 ลิตร

• ฉีดพ่น ให้ชุ่ม และทั่วถึง นอกและในทรงพุ่ม

• ใช้กับพืช ผัก ทุก 3 วัน สลับกับการพ่นจุลินทรีย์น้ำ

• พืชไร่ พืชสวน ทุก 3-7 วัน สลับกับการพ่นจุลินทรีย์น้ำ

• ผสมกากน้ำตาล หรือ นมสด ฯลฯ เป็นสารจับใบ

การทำฮอร์โมนยอดพืช

ส่วนผสม

1. ยอดสะเดาทั้งใบและเมล็ด ½ ถัง ( ขนาด 10 ลิตร )

2. ยอด / ใบยูคาลิปตัส ½ ถัง ( ขนาด 10 ลิตร )

3. EM 1 แก้ว

4. กากน้ำตาล 1 แก้ว

5. น้ำสะอาด 10 ลิตร

*ใช้ยอดพืช ยอดผัก หลายๆ ชนิด ก็ได้ อาทิ ชมพู่ มะม่วง ตะไคร้หอม ฯลฯ การเก็บยอดพืชให้เก็บตอนเช้าตรู่

วิธีทำ
• สับยอดพืชให้สั้นประมาณ 1 นิ้ว ใส่ในถังพลาสติกหรือโอ่ง

• ผสม EM กากน้ำตาล น้ำ เทลงในถังให้น้ำท่วมพอดี ปิดฝาให้มิดชิด

• หมักไว้ 7 – 10 วัน กรองใส่ขวดเก็บได้นานประมาณ 3 เดือน



วิธีใช้
• 4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น รด ราด ตอนเช้า หรือหลังฝนตก ป้องกันแมลงรบกวน พืชจะแข็งแรงเติบโตดี

• ใช้ผสมกับสารไล่แมลงจะได้ผลดียิ่งขึ้น

การทำฮอร์โมนผลไม้

ส่วนผสม
1. มะละกอสุก 2 ก.ก.

2. ฟักทองแก่จัด 2 ก.ก.

3. กล้วยน้ำว้าสุก 2 ก.ก.

4. EM 250 ซีซี หรือ 1 แก้ว หรือ 25 ช้อนโต๊ะ

5. กากน้ำตาล 250 ซีซี หรือ 1 แก้ว หรือ 25 ช้อนโต๊ะ

6. น้ำสะอาด 10 ลิตร

วิธีทำ
 • หั่นมะละกอ ฟักทอง กล้วยทั้งเปลือกและเมล็ดเข้าด้วยกัน ใส่ในถังพิทักษ์โลก (ดูรายละเอียดใน

วิธีทำ)* หรือถังพลาสติกหรือภาชนะดินเคลือบ

• ผสม EM กากน้ำตาล ลงในภาชนะ ใส่น้ำให้ท่วมผลไม้ คลุกให้เข้ากัน ปิดฝา หมักไว้ 7-10 วัน

• เมื่อเปิดฝาออก ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองด้านบน นำไปใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ ฯลฯ ช่วยเร่งรากดีมาก

• กรองน้ำหรือรินใส่ขวดพลาสติกไว้ใช้ เก็บไว้นาน 3 เดือน

วิธีใช้
 • นำฮอร์โมน 4-5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร ฉีด พ่น รด ราด ไม้ผลช่วงติดดอก ก่อนดอกบาน ทำให้ติดผลดี หรือฉีดเร่งการออกดอก บำรุงราก เดือนละครั้ง

• ใช้กับพืชผักสวนครัว สัปดาห์ละครั้งสลับกับจุลินทรีย์น้ำ

• นำกากที่เหลือ (ในถัง หรือ ภาชนะที่ใช้หมัก ) ไปใส่ต้นไม้ บำรุงดิน หรือ ทิ้งไว้ให้แห้งทำจุลินทรีย์แห้ได้อีก

วิธีการผลิต EM ขยาย ปุ๋ยชีวภาพ ฮอร์โมน และสารไล่แมลงศัตรูพืช

4.1 EM ขยาย

คือการทำให้ได้จุลินทรีย์ที่แข็งแรง มีประสิทธิภาพเพิ่มจำนวนมากโดยการใช้อาหารประเภทกากน้ำตาลหรืออื่นๆ ที่ใช้แทนกันได้

ส่วนผสม

 1. EM 2 ช้อนโต๊ะ

2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ

3. น้ำสะอาด 1 ลิตร

วิธีทำ
 • ใส่น้ำสะอาดในภาชนะที่เป็นขวดพลาสติกมีฝาเกลียว ตามส่วน (ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้วเพราะเมื่อจุลินทรีย์เพิ่มจำนวนจะเกิดแก๊สทำให้แตกได้)

• ใส่ EM ผสมกากน้ำตาลลงในน้ำที่เตรียมไว้ปิดฝาให้มิดชิด

• เขย่าให้ละลายเข้ากัน หมักไว้อย่างน้อย 3 – 5 วัน

วิธีใช้
 • นำไปใช้ได้เหมือน EM สด (ยกเว้น การให้สัตว์กิน การฉีดพ่น เพื่อปรับอากาศ ไม่ต้องใส่กากน้ำตาล) และควรใช้ให้หมดภายใน 3 เดือน

• เมื่อครบ 3 วันขึ้นไปนำไปขยายโดยใช้ส่วนผสมข้างต้นได้อีก

วัสดุที่ใช้แทนกากน้ำตาล ( 1 ช้อนโต๊ะ )

- น้ำอ้อย น้ำตาลสด น้ำมะพร้าว น้ำชาวข้าว น้ำผลไม้ที่คั้นสดๆ อาทิ น้ำส้ม น้ำสับปะรด ฯลฯ ไม่

ใส่สารกันบูด หรือน้ำตาลทรายแดงผสมน้ำข้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่งแทนกากน้ำตาล ปริมาณ ¼ แก้ว

- นมข้นหวาน นมเปรี้ยว น้ำอ้อยเคี่ยว น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ

- น้ำปัสสาวะ ½ แก้ว



4.2 จุลินทรีย์น้ำ (ใช้ทันที)

ส่วนผสม
 1. EM 1 ช้อนโต๊ะหรือ 1 ส่วน

2. กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ส่วน

3. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1,000 ส่วน

วิธีทำ

• นำ EM และกากน้ำตาลผสมในน้ำให้เข้ากัน

• ในกรณีมีพื้นที่ต้องใช้ปุ๋ยน้ำมากให้เพิ่มตามสัดส่วน

วิธีใช้

• ใช้ฉีด พ่น รด ราด พืช ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ สัปดาห์ละครั้ง ใบและดอกจะดกบานทน

• ไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง ชมพู่ เงาะ ทุเรียน ฯลฯ ฉีดพ่น รด ราด เดือนละครั้ง รสชาติดี ผลโต

• วันอื่นๆ ให้รดน้ำพืชปกติ

• ควรใช้ช่วงเย็นแสงแดดอ่อนจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

• ควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน

การทำปุ๋ยหมัก หรือ จุลินทรีย์แห้ง (โบกาฉิ)

การทำจุลินทรีย์แห้ง หมายถึง การนำเอา EM มาหมักกับอินทรียวัตถุ เป็นการขยายจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ให้มีจำนวนมากขึ้น แข็งแรงขึ้น และพักตัวอยู่ในอินทรียวัตถุ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดินให้ดินร่วนซุย มีธาตุอาหารที่สำคัญเหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนี้ยังใช้กับการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย

ส่วนผสม
 1. มูลสัตว์ต่างๆ เช่น ไก่ สุกร เป็ด ค้างคาว วัว ฯลฯ นำมาผึ่งให้แห้ง 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ

2. แกลบดิบ หรือ ฟางแห้ง หรือ หญ้าแห้ง หรือ ใบไม้แห้ หรือ ผักตบชวาแห้ง หรือ ขี้เลื่อย 1 ส่วนหรือ 1 กระสอบ

3. รำละเอียด หรือ มันสำปะหลังป่น หรือ คายข้าว 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ

4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากัน

วิธีทำ
 • คลุกรำละเอียด กับมูลสัตว์แห้งที่บดหรือย่อยให้เล็กเข้าด้วยกัน

• นำแกลบดิบ หรือวัสดุ ที่ใช้แทนตัดสั้นๆ จุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM + กากน้ำตาล ไว้ ช้อนเอามา

คลุกกับรำ และมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้ว คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน

• ความชื้นให้ได้ 40-50% ดูได้จากการทำส่วนผสมเมื่อบีบเป็นก้อนจะไม่มีน้ำไหลออกจากง่ามนิ้ว

และแตกเมื่อคลายมือออกหรือเมื่อทิ้งลงพื้น แสดงว่าใช้ได้

• นำส่วนผสมไปใส่กระสอบ ถุงปุ๋ย หรือถุงอาหารสัตว์ ที่อากาศถ่ายเทได้ ¾ ของกระสอบ ไม่

ต้องกดให้แน่น มัดปากกระสอบไว้พลิกกระสอบแต่ละด้านทุกวัน วันที่ 2-3 จับกระสอบดูจะร้อน

อุณหภูมิประมาณ 50 องศา – 60 องศา วันที่ 4-5 จะค่อยๆ เย็นลง จนอุณหภูมิปกติ เปิดกระสอบดู

จะได้จุลินทรีย์แห้งร่วนนำไปใช้ได้

• หากไม่มีกระสอบ หรือทำปริมาณมาก เมื่อผสมกันดีแล้ว ให้นำไปกองบนกระสอบป่าน หรือฟาง

แห้งที่ใช้รองพื้นหนาประมาณ 1 ฟุต แล้วคลุมด้วยกระสอบ หรือ สแลน กลับวันละ 1-2 ครั้ง ให้

อากาศถ่ายเททั่วถึงประมาณ 5-7 วัน ดูให้อุณหภูมิปกติจุลินทรีย์แห้งร่วนดี เก็บใส่ถุงไว้ใช้



ประโยชน์ของการกลับกองปุ๋ยหมัก

1. เพื่อให้การหมักทั่วถึง

2. ทำให้แห้งเร็ว

3. ไม่จับเป็นก้อนแข็ง ง่ายต่อการนำไปใช้



การเก็บรักษา

เก็บจุลินทรีย์แห้งไว้ในที่ร่ม ไม่ให้โดนแดด หรือ ฝน หรือที่มีความชื้น เก็บรักษาได้ประมาณ 1 ปี

วิธีใช้
 • จุลินทรีย์แห้งที่หมักด้วย EM จะร่วน มีกลิ่นหอมเหมือนเชื้อเห็ด

• ใช้ในการเตรียมดินปลูกพืช

- รองก้นหลุมปลูกประมาณ 2 กำมือ

- คลุกผสมดินในหลุมปลูก 2 กำมือ

- รองก้นแปลง (แหวะท้องหมู) ตารางเมตรละ 1 กำมือ

- หว่านในแปลงพืช หรือนาข้าว ตารางเมตรละ 1 กำมือ แล้วใช้จุลินทรีย์น้ำฉีดพอชุ่ม

• ใช้หลังการเพาะปลูกแล้ว

- แปลงผักใส่ระหว่างแนวผัก

- ไม้ต้น ใส่ใต้ทรงพุ่ม รัศมีใบตารางเมตรละ 1 กำมือ

- ไม้กระถาง โรยในกระถาง ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ฯลฯ

• ใช้ในการเลี้ยงสัตว์

- ผสมอาหารสัตว์ เช่น ไก่ หมู วัว ฯลฯ

- บำบัดน้ำ สร้างอาหารในน้ำ ในบ่อ ปลา กุ้ง ตะพาบน้ำ ฯลฯ

• ใช้กับสิ่งแวดล้อม

- ใช้บำบัดน้ำเสีย กำจัดกลิ่น

หมายเหตุ ไม่ควรใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง สารเคมีทุกชนิด

การทำปุ๋ยเม็ด

1. นำปุ๋ยที่ผสมเสร็จแล้วไม่ต้องหมัก มาบดให้ละเอียด

2. นำแป้งเปียก มาผสมให้เข้ากัน

3. นำเข้าเครื่องอัดเม็ด

4. ผึ่งลมให้แห้ง เก็บใส่ถุง ภาชนะ หรือ นำไปใช้ได้

การทำจุลินทรีย์แห้ง 24 ชั่วโมง (การขยายจุลินทรีย์แห้ง)

สามารถนำปุ๋ยแห้งมาขยายภายใน 1 วัน เพื่อลดต้นทุนการผลิต และประหยัดได้

ส่วนผสม
1. จุลินทรีย์แห้ง 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ

2. รำละเอียด หรือ มันสำปะหลังป่น ½ ส่วน / ½ กระสอบ

3. ฟาง หรือ หญ้าแห้ง หรือใบไม้แห้ง ฯลฯ ตัดสั้นๆ 10 ถัง เตรียมไว้

4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมในน้ำ 1 ถัง

*ถ้าทำมากให้เพิ่มตามสัดส่วน

วิธีทำ
• นำรำละเอียดผสมจุลินทรีย์แห้งให้เข้ากัน

• นำฟาง / ใบไม้แห้ง จุ่มลงในถังน้ำ บีบพอหมาด (เหมือนทำจุลินทรีย์แห้งวางกองกับพื้นที่ปูลาดด้วยกระสอบหรือฟางแห้ง ประมาณ 3 นิ้ว

• นำส่วนผสมของรำกับจุลินทรีย์แห้งโรยให้ทั่ว ทำเป็นชั้นๆ จะใช้พื้นที่กว้างยาวเท่าไรก็ได้ แต่ความสูงไม่เกิน 1 ฟุต หรือ 1 ศอก หรือไม่เกินหัวเข่า เสร็จแล้วเอากระสอบ หรือสแลน หรือถุงปุ๋ย หรือ ใบตองแห้ง, ฟาง คลุมไว้

• หมักไว้ 18 ชั่วโมง กลับปุ๋ยข้างล่างขึ้นข้างบนให้อากาศผ่านได้ทั่วถึง และให้แห้งง่าย คลุมทิ้งไว้อีก 6 ชั่วโมง จะได้จุลินทรีย์แห้ง 24 ชั่วโมง (1 วัน) นำไปใช้ได้

วิธีใช้
• ใช้เหมือนจุลินทรีย์แห้ง แต่จะประหยัด และลดต้นทุนได้มาก

• เก็บรักษาในที่ร่มไม่โดนแดดโดนฝนได้ประมาณ 1 ปี

• ใช้ทำจุลินทรีย์แห้ง 24 ชั่วโมง ขยายได้อีก (วิธีทำเหมือนเดิม) จนกว่าจะเบื่อทำ

หมายเหตุ

• พื้นที่ที่มีใบไม้แห้งกองอยู่มาก สามารถทำกับพื้นได้ โดยตัดหรือย่อยใบไม้ให้เล็กลง ใช้นำผสม EM + กากน้ำตาล ฉีด รด ให้ทั่ว (ความชื้นตามสูตร) นำรำผสมจุลินทรีย์แห้ง โรยให้ทั่วแล้วคลุมไว้ กลับกองปุ๋ยทุกวันครบกำหนด นำไปใช้ได้

วัสดุที่ใช้แทนรำละเอียด

1. ฝุ่นซังข้าวโพด

2. มันสำปะหลังบด

3. กากมะพร้าวขูดคั้นน้ำแล้ว ผึ่งให้แห้ง

4. คายข้าว ฯลฯ



วัสดุที่ใช้แทนแกลบดิบ

1. ใบไม้แห้งทุกชนิด หญ้าแห้ง ผักตบชวาแห้ง ฯลฯ

2. ขี้เลื่อย

3. ขุยมะพร้าวแห้งด้านเปลือก

4. ฟางข้าว

5. ซังข้าวโพด





การทำซุปเปอร์โบกาฉิผสมอาหารสัตว์

ส่วนผสม
1. เปลือกหอยป่น 2 ขีด

2. กระดองปูม้า, ปูทะเลป่น 2 ขีด

3. กระดูกสัตว์ป่น 2 ขีด

4. แกลบเผา 2 ขีด

5. ปลาป่น 6 กก.

6. กากถั่ว 6 กก.

7. รำละเอียด 20 กก.

8. EM 1 ช้อนโต๊ะ ( 10 ซีซี )

9. กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ ( 10 ซีซี )

10. น้ำสะอาด 5 ลิตร

11. กระสอบป่าน 1 ใบ

12. ถุงพลาสติกดำ 1 ใบ

วิธีทำ
 • ผสมวัสดุทั้งหมดให้เข้ากันดี (1)

• ละลาย EM กากน้ำตาล น้ำ ให้เข้ากัน นำไปพ่นฝอยๆ บนส่วนผสม ในข้อ (1) แล้วคลุกให้เข้ากัน โดยให้ความชื้นไม่เกิน 40 %

• นำส่วนผสมบรรจุในกระสอบป่านผูกปากให้แน่น จากนั้นใส่ลงในถงุพลาสติกดำอีกชั้นหนึ่ง มัดปากถุงให้แน่น หมักไว้ 3 วัน

• เมื่อครบ 3 วัน นำกระสอบออกจากถุงพลาสติกดำ แล้วตั้งทิ้งไว้ในร่มอีก 3 วัน อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และเย็นลงให้กลับกระสอบทุกวัน เพื่อไม่ให้ความชื้นในกระสอบไปกองอยู่ในด้านใดด้านหนึ่งจะทำให้จับเป็นก้อนแข็งได้

วิธีใช้ • ใช้ผสมอาการสัตว์ เช่น หมู ไก่ ปลา กุ้ง กบ ฯลฯ ในอัตรา 2% ของอาหารที่ให้แต่ละครั้ง (หรือ 2 กก. ต่ออาหารสัตว์ 100 กก.)

• นำใส่ถุงผ้าไปละลายน้ำในอัตราส่วน ½ กก. ต่อน้ำหนัก 100 ลิตร ทำเป็นน้ำ “โบกาฉิ” หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง ก่อนนำไปรดพืชผักต่างๆ จะทำให้พืช ผัก ที่ปลูกใหม่ๆ ฟื้นตัวและโตเร็ว

• นำใส่ในแปลงพืชตารางเมตรละ 1 กำมือ ( 50 - 100 กรัม : พื้นที่ 1 ตร.ม.)

• ใช้หว่านในบ่อน้ำ เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำที่เน่าเสียให้กลับตี หรือช่วยทำให้น้ำที่ดีอยู่แล้ว ไม่เน่าเสียได้

การทำจุลินทรีย์น้ำจากจุลินทรีย์แห้ง (ใช้ใน 1 วัน )

ส่วนผสม 1. จุลินทรีย์แห้ง (โบกาฉิ) 2 กก.

2. กากน้ำตาล ½ แก้ว

3. น้ำ 200 ลิตร



วิธีทำ • นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากันแช่ไว้ในช่วงเย็น

วิธีใช้ • นำไปรด พืช ผัก ผลไม้ ในไร่ นา ได้ในช่วงเช้า

วิธีใช้และประโยชน์ EM ขยาย

1. ใช้กับพืช

• รองก้นหลุม ร่วมกับอินทรียวัตถุ เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง

• คลุมดิน คือ โรยผิวดิน บนแปลงผัก หรือใต้ทรงพุ่มของต้นไม้

• ใส่ถุงแช่น้ำอัตรา 1 กก. : น้ำ 200 ลิตร หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง นำไป รดพืช ผัก

2. ใช้กับการประมง

• เพื่อสร้างอาหารในน้ำก่อนปล่อยสัตว์ลงน้ำ

• เพื่อบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยง

• ผสมอาหารสัตว์

3. ใช้กับปศุสัตว์

• ผสมอาหารให้สัตว์กิน

4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม

• เพื่อบำบัดกลิ่นร่วมกับEM ขยาย

• เพื่อบำบัดน้ำเสียร่วมกับ EM ขยาย

• ใช้ในการหมักเศษอาหาร ทำจุลินทรีย์น้ำ

• ใช้ในขยะเปียกอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป

จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ EM มีประโยชน์อย่างไร

การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมายถึงการใช้จุลินทรีย์ (EM) จากโรงงานผลิต หรือ ผู้จำหน่ายที่ยังไม่ได้ทำการแปรสภาพ

วิธีใช้และประโยชน์ EM สด

1. ใช้จุลินทรีย์น้ำกับพืช

• ผสมน้ำในอัตรา 1 : 1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร) ใช้ ฉีด พ่นราด พืชต่างๆ ให้ทั่วจากดิน ลำต้น กิ่ง ใบ และนอกทรงพุ่ม

• พืช ผัก ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน

• ไม้ดอก ไม้ประดับ เดือนละ 1 ครั้ง การใช้จุลินทรีย์สดในดิน ควรมีอินทรียวัตถุปกคลุมด้วย เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง ฯลฯ เพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่อไป

2. ใช้ในการทำ EM ขยายจุลินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์แห้งและอื่น

• (ดูรายละเอียดในการทำ)

3. ใช้กับสัตว์ (ไม่ต้องผสมกากน้ำตาล)

• ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตร ให้สัตว์กินทำให้แข็งแรง

• ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร ใช้พ่นคอกให้สะอาด กำจัดกลิ่น

• หากสัตว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับอาหารให้สัตว์กิน ฯลฯ

4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม

• ใส่ห้องน้ำ – ห้องส้วม ใส่โถส้วมทุกวัน วันละ 1 ช้อนโต๊ะ (หรือสัปดาห์ละ ½ แก้ว) ช่วยให้เกิดการย่อยสลาย ไม่มีกาก ทำให้ส้วมไม่เต็ม

• กำจัดกลิ่น ด้วยการผสมน้ำและกากน้ำตาล ในอัตรา ส่วน 1:1:1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ : กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 1 ลิตร ) ฉีด พ่น ทุก 3 วัน

• บำบัดน้ำเสีย 1:10,000 หรือ EM 2 ช้อนโต๊ะ :น้ำ 200 ลิตร

• ใช้กำจัดเศษอาหารหรือทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร

(ดูรายละเอียดในการทำ)

• แก้ไขท่ออุดตัน EM 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ 5-7 วัน / ครั้ง

• ฉีดพ่นปรับอากาศในครัวเรือน

• กำจัดกลิ่นในแหล่งน้ำ

- ใช้ ฉีด พ่น หรือ ราดลงไปในแหล่งน้ำ 1 ลิตร : 10 ลบ.ม.

- กลิ่นจากของแห้ง แข็ง มีความชื้นต่ำ แล้วแต่สภาพความแห้ง หรือ ความเหม็น โดยผสมน้ำ 1 : 100 หรือ 200 หรือ 500 ส่วน

- ขยะแห้งประเภทกระดาษ ใบตอง เศษอาหารใช้ฉีดพ่น อัตรา EM ขยาย 1 ส่วนผสมน้ำ 500 ส่วน หรือ EM ขยาย 1 ลิตร : น้ำ 500 ลิตร

การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ

ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายไปสู่ชาวโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มีพิษภัย มีแต่ประโยชน์ ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและมุ่งเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้การขยายการใช้ EM ไปสู่เกษตรกรและองค์กรทั่วโลกแล้วกว่า 30 ประเทศ อาทิ International

Nature Farming Reserch Center Movement (INFRC) JAPAN, EM Research Organization (EMRO) JAPAN, International Federation of Agriculture Movement (IFOAM) GERMANY เป็นต้น และ California Certified Organics Farmers ประเทศสหรัฐอเมริกา ซี่เป็นสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติได้ให้คำรับรองเมื่อ ค.ศ.1993 ว่าเป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100%


สำหรับในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่าจุลินทรีย์ EM ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ดังนี้

1. ใช้กับพืชทุกชนิด

2. ใช้กับการปศุสัตว์

3. ใช้กับการประมง

4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์หลักของการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ 

1. ลดต้นทุนการผลิต

2. ผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม

3. ผลผลิตสูงมีคุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติดี

4. สุขภาพผู้ผลิต และผู้บริโภคแข็งแรงมีพลานามัยดี

5. ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ และจิตใจของผู้ผลิตและผู้บริโภคพัฒนาคุณภาพชีวิต

6. เป็นวิธีง่ายๆ ใครก็ทำได้

ลักษณะทั่วไปของEM

EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM เป็นสิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้
• ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
• ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
• เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้
• เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิต
• EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน
• เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย

  การดูแลเก็บรักษา
1. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝาให้สนิท
2. อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
3.ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ เข้าไปหะปน
4. การนำ EM ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม

ข้อสังเกตพิเศษ
• หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM
ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าวัชพืชที่ไม่ต้องการได้
• กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัวเมื่อเขย่าภาชนะฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้
• เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟองน้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล

ที่มา : http://kukana.igetweb.com/index.php?mo=14&newsid=36504

จุลินทรีย์มี 2 ประเภท

1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Gacteria )
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)



จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตย์ และสิ่งแวดล้อมารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่

กลุ่มที่ 1
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจนมีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ
กลุ่มที่ 2
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน
กลุ่มที่ 3
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Aynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการพังทลายของดิน
ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดของพืชและสัตว์สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้
กลุ่มที่ 4
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย
(Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กระดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน (Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ
กลุ่มที่ 5
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใน ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อยหรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน
หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย


[อ่านต่อ]
ที่มา : http://kukana.igetweb.com/index.php?mo=14&newsid=36504

อีเอ็ม (EM) คืออะไร

EMย่อมาจาก Efective  Microorganisms  หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว  เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวความคิดเรื่อง “ดินมีชีวิต” ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของโลก จากนั้น ดร.อิหงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ.2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลปรากฏว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ


1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10%
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคมีประมาณ 10%
3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80%จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย


ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป [อ่านต่อ]


ที่มา : http://kukana.igetweb.com/index.php?mo=14&newsid=36504

คุณรู้จักปุ๋ย EM แล้วหรือยัง

จากการที่ คุณอภิชาติ ดิลกโสภณ ได้  “เก็บเอามาเล่า” นั้น  ผู้ช่วยสำคัญที่ทำให้เกิดผลสำเร็จคือจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ  ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการตามแนวพระราชดำริ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนในภาคการผลิตและอุตสาหกรม ดังนั้น    การรู้จักวิธีใช้ การปรับใช้ให้เข้าใจ ย่อมเกิดประโยชน์มหาศาล  ขอเพียงมีความขยันหมั่นเพียร      อดทนตั้งใจจริง ไม่พึ่งพาสารเคมี     จะนำมาซึ่งสภาพชีวิตที่ดี  สังคมและประเทศชาติก็ย่อมดีขึ้นอย่างแน่นอน

 ทุกวันนี้กระแสและความตื่นตัวในเรื่องของสุขภาพ    ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งกำลังมาแรง ทุกประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทย จึงหันมาใช้กรรมวิธีแบบเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรธรรมชาติกันแล้วอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย  เนื่องจากใช้สารเคมีมานาน ๆนับสิบ ๆ ปี ทำให้จุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่อยู่ในดินและบนดินตายไปหมด เราต้องช่วยกันคืนจุลินทรีย์กลับบ้าน                        ซึ่งจะทำให้ดินที่เป็นรากฐานของชีวิตกลับเป็น  “ดินมีชีวิต” อีกครั้ง เพื่อผลิตพืชผลปลอดภัย เลี้ยงมนุษยชาติต่อไป
                              
การใช้เกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรชีวภาพ หรือเกษตรธรรมชาติในเมืองไทย  ขณะนี้มีอยู่หลายรูปแบบ หลายวิธี อาทิ  การใช้ผักมาหมักกับกากน้ำตาล ได้น้ำสกัดชีวภาพ บางคนใช้สารเร่ง ซึ่งมีตั้งแต่   พด. 1 ถึง พด. 9 ของกรมพัฒนาที่ดินบางคนใช้ปุ๋ยสำเร็จรูปอัลจินัว ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บางคนใช้แค่มูลสัตว์เท่านั้น เป็นต้น  ซึ่งแต่ละวิธีใช้เวลา ต้นทุน และะกรรมวิธีแตกต่างกันไป
                              
ในที่นี้ขอแนะนำการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งให้เกษตรกร   และผู้สนใจนำไปใช้เพราะราคาถูก ทำได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา ปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ได้รับการพิสูจน์จากหลายสถาบัน   ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ได้ดี  ไม่มีอันตรายกับคนหรือสัตว์ และเมื่อเรารู้จักการใช้จุลลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพดีพอจะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี [อ่านต่อ]
                      

ที่มา :  http://kukana.igetweb.com/index.php?mo=14&newsid=36504      

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

ขายผัก ผักสลัด ผักไฮโดรโปนิกส์








เราเป็น โรงแรมที่ขายผัก บ้านสบาย ลาดพร้าว 71 :)  


ติดตาม ข้อมูล ข่าวสาร ผลผลิต ผักไฮโดร ของ สวน ของเรา ได้ที่





ขายผักสลัด กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค คอส บัตเตอร์เฮด เรดปัตตาเวีย เรดคอรัล ทั้งปลีก และส่ง ราคาขายปลีกกิโลกรัมละ 120 บาท หรือจะเป็นแบบต้นก็มีนะครับ สำหรับท่านที่ต้องการซื้อราคาส่ง 5 กิโลกรัม เราขายให้กิโลกรัมละ 100 บาท [พิเศษเฉพาะช่วงนี้ ถ้าสั่งซื้อตั้งแต่ 20 กิโลกรัมขึ้นไป ราคากิโลกรัมละ 80 บาท ]

และสำหรับท่านที่ปลูกผักขายเองอยู่แล้ว ผักของท่านไม่พอส่ง โตไม่ทัน เรายินดีให้ท่านรับจากเราไปส่งครับ

นอกจากนี้เรายังมีสลัดมิกซ์ พร้อมทาน ขายส่ง โดยน้ำสลัดเป็นสูตรพิเศษของบ้านสบาย รับรองเรื่องรสชาติครับ มีทั้งปลีกและส่ง มีน้ำสลัดขายส่งด้วยนะครับ



ติดต่อสอบถามที่ 0815652962

จัด Delivery ผัก ไฮโดร ภายใน กทม.



วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

การเพาะเมล็ดและคัดเลือกพันธุ์

ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จากแหล่งจำหน่าย หรือยี่ห้อที่เชื่อถือได้ เพราะจะมีผลในอัตราการงอกและต้องศึกษาการงอกของเมล็ดพันธุ์พืชชนิดต่างๆว่า ก่อนเพาะควรปฏิบัติอย่างไร เช่น แช่น้ำก่อนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หรือจุ่มน้ำยากันราหรืออื่นๆให้ชัดเจน เมื่อถึงขั้นการเพาะเมล็ด ถ้าเพาะด้วยเพอร์ไลท์จะต้องเพราะในถ้วยปลูกซึ่งมีขายตามท้องตลาดสินค้าเกษตร นำเพอร์ไลท์แช่น้ำให้ชุ่มสัก 4-5 ชั่วโมง แล้วตักใส่ถ้วยปลูกประมาณ 4/5 ส่วน ใช้ไม้หรือวัสดุปลายแหลมกดลงในถ้วยให้มีช่องว่าง เพื่อนำเมล็ดพันธุ์บรรจุลงไปประมาณ ¼ ของถ้วย ถ้าลึกเกินไปอาจทำให้เมล็ดพืชเน่า เนื่องจากชื้นมากเกินไป อากาศไม่พอ ถ้าตื้นเกินไปก็จะขาดความชื้นต้องใส่ให้เหมาะสมและหมั่นบันทึกเป็นบทเรียนทุกครั้งที่เพาะเมล็ด
เมื่อบรรจุเมล็ดพันธุ์ลงบนถ้วยปลูกแล้วให้เก็บไว้ในที่มืด แสงสว่างไม่มากนัก ประมาณ 2-3 วัน เมื่อเมล็ดแตกยอดอ่อนจึงนำออกไปได้ รางปลูกบางชนิดจะใช้พลาสติกใสคลุมทั้งหลังคาด้านหน้าและด้านล่างเพื่อเก็บความชื้นและกันแมลง รูปแบบนี้ก็ได้ผลดีมากแต่ต้นทุนจะสูงขึ้น
รางปลูกพืชไร้ดินมีหลายแบบเช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นการออกแบบของบริษัทผู้ผลิต ซึ่งมีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะราคาค่อนข้างสูง แต่ถ้าดัดแปลงประยุกต์ใช้ก็อาจใช้ท่อ PVC ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว หรือ 2.5 นิ้ว หรือ 3 นิ้ว มาเจาะรูเพื่อวางถ้วยปลูกเองก็ได้ ความกว้างของรูที่เจาะควรเหมาะกับถ้วยปลูก ถ้าเป็นแบบศูนย์สาธิตจะใช้ขนาด 41 – 45 มม. ท่อปลูกควรมีความยาวไม่เกิน 12 เมตร เพื่อสะดวกในการทำความสะอาดและการไหลเวียนของสารละลายธาตุอาหารจะส่งอาหารให้พืชได้ดีกว่าท่อยาวเกินไป อีกส่วนหนึ่งของความร้อนจากแสงแดด ถ้าท่อรางปลูกยาวจะได้รับแสงแดดนานและน้ำจะร้อน ส่งผลให้ค่าของเคมีของธาตุอาหารเปลี่ยนแปลงไม่เป็นผลดีต่อพืช

จัดระยะของการวางท่อปลูกใช้หลักการลาดเอียง เพื่อให้น้ำสารละลายอาหารไหลเวียนได้ไม่เร็วหรือช้าเกินไป อัตราการลาดเอียงที่เหมาะสม คือ ลดลง 1 นิ้วทุก 4 เมตร แต่ถ้าท่อขนาดเล็กควรลดลง 1 นิ้วทุก 3 เมตร มิฉะนั้นน้ำจะล้นท่อขณะเมื่อปลูกโตเต็มที่ และมีรากในรางปลูกจำนวนมาก การแก้ไขน้ำล้นนี้อาจใช้วาวล์ ปิด – เปิดน้ำที่ออกจากปั๊มก่อนขึ้นสู่ท่อปลูกจะช่วยได้อีกทางหนึ่ง น้ำจากระบบท่อปลูกต้องต่อท่อให้น้ำทุกท่อปลูกมารวมกัน และไหลลงสู่ถังน้ำผสมธาตุอาหารเดิมเพื่อหมุนเวียนไปใช้อีกไม่สิ้นเปลือง

การป้องกันโรครากเน่าในระบบไฮโดรโพนิกส์

การป้องกันโรครากเน่าในระบบไฮโดรโพนิกส์โดยใช้ PH ที่แตกต่างกันในแต่ละฤดู
การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ในแต่ละฤดูควรใช้ PH ที่แตกต่างกันเพราะ PH ที่ 5.2 จะทำให้ผักเจริญเติบโตได้ดี แต่ถ้าสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูงเกินไปก็จะทำให้รากของผักเสียได้ง่ายและโรคก็จะเข้าทำลาย เชื้อราที่เป็นโทษต่อผักเช่น เชื้อราพิเที่ยมจะชอบ PH ค่อนข้างต่ำและเมื่อสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูงด้วยแล้วก็จะทำให้เกิดโรครากเน่าได้ง่าย ในทางกลับกันเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ใช้ป้องกันโรครากเน่าจากเชื้อราพิเที่ยมจะชอบ PH ค่อนข้างสูงถ้า PH สูงเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดเชื้อราพิเที่ยมได้ดีขึ้นเพราะฉะนั้นการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ในฤดูร้อนควรใช้ PH ที่ประมาณ 6.5-7.0 จะปลูกผักได้ดีอาจจะมีปัญหาบ้าง แต่เราก็สามารถแก้ไขได้คือ



1) การปลูกผักที่ PH 6.5-7.0 อาจจะมีธาตุอาหารบางตัวตกตะกอนเราสามารถแก้ไขได้โดยการใช้เชื่อราไตรโคเดอร์มาใส่ไปในระบบเพื่อย่อยธาตุอาหารที่ตกตะกอนให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่และยังเป็นตัวกำจัดเชื้อราพิเที่ยมพร้อมทั้งยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของผัก ช่วยกระตุ้นให้ผักสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยขจัดแคลเซียมฟอสเฟตที่ตกตะกอนอยู่ที่รางและที่ๆสารละลายธาตุอาหารไหลผ่านให้หมดไป ช่วยยืดอายุการใช้งานของปั๊มน้ำ



2) เหล็กอาจจะเสื่อมและตกตะกอนแก้ไขโดยใช้เหล็กที่ทน PH ได้สูง เช่น เหล็ก EDDHA ถึงจะมีราคาแพงขึ้นแต่ถ้าผักโตได้ดีในฤดูร้อนก็คุ้มค่าในฤดูฝนควรปลูกผักที่ PH ประมาณ 6.0-6.5 เพราะช่วงนี้สารละลายธาตุอาหารจะไม่ร้อนมากเหมือนฤดูร้อนส่วนในฤดูหนาวควรปลูกที่ PH ประมาณ 5.5-6.0 ในฤดูหนาวสภาพอากาศเหมาะแก่การเจริญเติบโตและมีโรครบกวนน้อยจึงปลูกผักที่ PH ต่ำได้



ข้อมูลจากภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ปุ๋ย A B

เนื่องจากมีหลายท่านสนใจ เกี่ยวกับการผสมปุ๋ย  A B และสถานที่ซื้อปุ๋ย A B เป็นจำนวนมาก  ทางเราจึงแบ่งปุ๋ย A B ขาย ถ้าท่านใดต้องการติดต่อสอบถามได้ที่
h2ogarden.bansabai@gmail.com หรือโทร 080-611-0524

วิธีการปลูกพืชระบบ NFT ( Nutrient Film Technique)

สิ่งจำเป็นในการเพาะเมล็ด


เมล็ดพันธุ์ผักสลัดทุกชนิดที่เรานำมาเพาะ ต้องการสิ่งสำคัญ 3 อย่าง สำหรับการงอกออกมาเป็นต้นกล้า ซึ่งก็คือ น้ำ, อากาศ หรือ ออกซิเจน และ แสงแดดครับ โดยน้ำและอากาศเป็นปัจจัยพื้นฐานอยู่แล้ว สำหรับแสงนั้น ในช่วง 2-3วันแรก เราให้แสงแบบรำไรก็พอ(ครับ) ไม่จำเป็นต้องให้แสงแดดจัด เพราะอาจจะทำให้อุณหภูมิสูง ส่งผลให้อัตราการงอก ลดลง ซึ่งโดยทั่วไปอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเพาะเมล็ดจะอยู่ในช่วง 20-25 องศาเซลเซียส และหลายๆ ท่านมีคำถามตามมาว่า แล้วอุณหภูมิของบ้านเราค่อนข้างร้อน จะทำอย่างไร เพราะอากาศร้อนเพาะเมล็ดแล้วไม่ค่อยงอก หรืองอกน้อยมาก วิธีที่จะช่วยได้คือ ให้เพาะเมล็ดในช่วงเย็น และเลือกใช้เมล็ดแบบเคลือบ จะช่วยได้มาก แต่ถ้าลองใช้วิธีนี้แล้วเมล็ดยังไม่งอกอีก เราคงต้องทบทวนถึงวิธีการเพาะว่า ท่านทำถูกขั้นตอนหรือไม่ เมล็ดพันธุ์ที่นำมาใช้ หมดอายุ หรืออาจจัดเก็บไม่ถูกวิธี ถ้าเจอปัญหาตรงไหนก็แก้ให้ตรงจุด เราเชื่อว่าเมล็ดจะงอกได้แน่นอน

วิธีการเพาะเมล็ด

1. ใส่วัสดุปลูก (Perlite) ลงในถ้วยเพาะประมาณ 3/4 ของถ้วย วางเมล็ดพันธุ์ลงบนวัสดุปลูก กลบเมล็ดเล็กน้อย ใช้กระบอกฉีดน้ำ พ่นน้ำให้ชุ่มเติมน้ำที่ถาดรองเพาะให้สูงประมาณ 0.5 ซม. (ใช้น้ำธรรมดาที่ยังไม่ได้เติมสารละลายธาตุอาหาร)
2. หมั่นคอยตรวจดูระดับน้ำในถาดรองเพาะ ต้องให้มีน้ำสูง 0.5 ซ.ม.เสมอ
3. ระยะเวลา 3 วันแรก ให้เก็บถาดเพาะไว้ในที่ร่ม หลังจากนั้นนำออกมารับแสงแดดรำไร และเมื่อสังเกตว่ามีมากกว่า 3 - 4 ใบ จึงจะนำไปรับแสงแดดได้
4. เมื่อต้นกล้าอายุครบ 1 สัปดาห์ เติมน้ำที่ผสมธาตุอาหารแล้วลงไปให้สูง 1 ซ.ม. หมั่นตรวจสอบระดับน้ำให้มีอยู่เสมอ
5. เมื่อต้นกล้าอายุครบ 2 สัปดาห์ สามารถย้ายลงรางปลูกได

วิธีการปลูก

1. หลังจากได้ต้นกล้าที่เพาะไว้แล้ว ให้นำต้นกล้าย้ายลงรางปลูกที่ได้เตรียมไว้แล้ว ล้างถังที่จะใส่สารละลายธาตุอาหารให้สะอาด เติมน้ำสะอาดประมาณ 3/4 ของถัง

2. ใส่สารละลายธาตุอาหารลงในน้ำสะอาดที่ได้เตรียมไว้ โดยให้ใส่ธาตุอาหาร Aและ B ในอัตราส่วนอย่างละ 3 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร

3. ต่อไฟฟ้าเพื่อเดินเครื่องปั๊มน้ำให้น้ำไหลผ่านรางปลูก พร้อมกับทำการตรวจสอบระบบว่ามีที่ชำรุดรั่วไหลหรือไม่

4. ต้องเปลี่ยนน้ำทุก 10 วัน โดยถังน้ำควรมีฝาปิดเพื่อรักษาความสะอาดของน้ำ และป้องกันฝนที่จะทำให้สารละลายธาตุอาหารเจือจาง

5. ประมาณ 6 สัปดาห์ (40 – 45 วัน) ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้

ขั้นตอนการปลูก
1. ทำการเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการปลูก ลงบนฟองน้ำที่จัดเตรียมไว้
2. นำถาดที่ใช้สำหรับเพาะไปเรียงซ้อนกัน คลุมผ้า รดน้ำ เช้าเย็น ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน
3. เมล็ดงอกได้ประมาณ 80 % นำไปลอยในโรงเรือนอนุบาลต้นกล้าอีก 3 วัน รดน้ำเช้า-เย็น
4. ย้ายต้นกล้าลงไปปลูกในระบบ DRFT
5. เติมปุ๋ยตามระบบเวลาที่กำหนดไว้
6. เมื่อผักโตได้คุณภาพ ตามมาตรฐานของฟาร์มแล้ว จึงทำการเก็บเกี่ยว

อาการ Tip burn ในพืชผัก

พืชที่มักแสดงอาการ Tip burn ได้แก่พวกผักสลัด (lettuce) โดยเฉพาะชนิดที่มีลักษณะเป็นหัวห่อและอาจพบในพวกกะหล่ำ (Cabbage) อาการขาดจะเกิดที่ใบที่อยู่ด้านในโดยขอบใบจะไหม้เป็นสีน้ำตาล ส่วนในผักพวก Spinach ใบอ่อนจะแสดงขอบใบไหม้


ในหน้าร้อนจะพบ Tip burn บ่อยขึ้นในฤดูอื่นก็อาจพบ Tip burn เช่นกัน ต้นเหตุของ Tip burn เกิดจากการขาด Ca ในส่วนที่มีอาการขาด แต่โดยทั่วไปไม่ได้เกิดจากที่สารละลายขาด Ca แต่จะเกิดในช่วงที่อัตราการดูดใช้ของ Ca ต่ำ และมีการอัตราการเจริญเติบโตของพืชอย่างร่วดเร็ว

การเกิด Tip burn จะเกิดในช่วงที่อัตราการคายน้ำของพืชสูงกว่าอัตราการดูดน้ำของราก หรือในสภาพตรงข้ามคือในสภาพที่มีความชื้นในอากาศสูงจนอัตราการคายน้ำของพืชต่ำมาก กล่าวคือทั้งสองสาเหตุ จะมีผลให้การเคลื่อนที่ของสารละลายธาตุอาหารพืชจากรากสู่ยอดถูกจำกัดพืชก็มีแนวโน้มเกิด Tip burn ปกติ Tip burn จะพบเมื่อผักสลัดใกล้เก็บเกี่ยว ใบอ่อนที่อยู่ภายในหัวผักสลัดการคายน้ำจะถูกจำกัดโดยใบข้างนอกที่ห่อหุ้มอยู่โดยเฉพาะช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงผักมีโอกาศเกิด Tip burn ได้สูงถ้าการเก็บเกี่ยวช้า นอกจากนี้สาเหตุอีกอย่างที่อาจทำให้เกิด Tip burn คือค่าความเข้มข้นสารละลายสูง เกินไป ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างที่สำคัญมากคือชนิดและพันธ์พืชที่ปลูก นั่นคือวิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกัน Tip burn คือเลือกพันธ์พืชที่ทนต่อการเกิด Tip burn
จากข้อมูลต่างๆสามารถสรุปปัจจัยที่ก่อให้เกิด Tip burn คือ
1. สภาพอุณหภูมิสูงและแสงแดดจัด

2. มีลมร้อนและแห้ง
3. ค่า EC สารละลายสูง

4. สภาพรากพืชเจริญไม่ดีเนื่องจากรากขาดออกซิเจน

5. สารละลายมีปริมาณ K+ และไนโตรเจนโดยเฉพาะในรูป NH4+ สูง เนื่องจากทั้งสองตัวจะยับยั้งการดูด Ca ++

6. สภาพที่อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูง
จากสาเหตุดังกล่าวเราสามารถลดการเกิด Tip burn ได้ดังนี่

1. รักษาระดับ Ca ในสารละลายให้สูงอยู่เสมอ
2. ป้องกันไม่ให้ระดับ K+ และ NH4+สูงเกินไปในสารละลาย
3. ใช้สารละลายที่มี NO3- เป็นองค์ประกอบหลีกเลี่ยงการใช้ NH4+ เนื่องจาก NH4+ จะยับยั้งการดูดใช้ Ca++
4. พลางแสงให้กับพืชเมื่ออุณหภูมิและแสงแดดจัดเกินไป
5. เลือกพันธ์พืชที่ทนต่อการเกิด Tip burn
6. ป้องกันการเพิ่มของค่า EC ระหว่างปลูกโดยเฉพาะช่วงที่พืชมีการคายน้ำสูงมากทำให้พืชมีอัตราการดูดใช้น้ำมากกว่าธาตุอาหารทำให้ค่า EC สูงขึ้น ในช่วงนี้ต้องค่อยปรับค่า EC ไม่ให้สูงเกินไป

นอกจากนี้มีการทดลองพบว่าในการปลูกผักในระบบ NFT ในเวลากลางวันให้สารละลายธาตุอาหารพืชที่มีค่า EC=2mC/cm และในเวลากลางคืนให้ Ca(NO3)2 ที่ความเข้มข้น 100 mg/l พบว่าการเกิด Tip burn ลดลงเมื่อเทียบกับให้สารละลายอย่างเดียวทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งการให้ ในเวลากลางคืนมีผลให้ปริมาณ Ca ในใบเพิ่มขึ้นด้วย

ขอขอบคุณ ที่มา http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=supat&date=22-02-2009&group=1&gblog=5

ความสำคัญของธาตุ Calcium ในระบบ Hydroponics

ความสำคัญของธาตุ Calcium ในระบบ Hydroponics


ปัญหาการขาดธาตุ Ca ในระบบ Hydroponics เป็นปัญหาที่พบบ่อยมากโดยเฉพาะ ในผักสลัดจะเกิดอาการ Tip burn ในมะเขือเทศและพริกหวานเกิด Blossom-end rot อาการขาด Ca มักเกิดจากมีปริมาณ Ca ไม่เพียงพอในพืช แต่ไม่ได้หมายความว่า Ca ในสารละลายไม่เพียงพอ แต่เป็นปัญหาอัตราการดูดใช้ Ca ของพืชไม่เพียงพอ กล่าวคือในสารละลายถึงแม้จะมีปริมาณ Ca ในปริมาณมากพอเพียงกับความต้องการของพืชแต่มีปัญหาอัตราการดูดใช้ Ca ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเป็นปัญหาของสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม หรือความไม่สมดุลของธาตุอาหารในสารละลายไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอัตราส่วนของ Ca กับ Cation ตัวอื่นเช่น NH4+ ,K+,Mg++


หน้าที่ของ Ca

หน้าที่ของ Ca คือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ คือส่วนของ Calcium pectate ทำหน้าทีคล้ายกาวเชื่อมผนังเซลล์ให้ติดกันซึ่งทำให้เซลล์มีความแข็งแรง ดังนั้นเป็นตัวทำให้ผลและใบแข็ง ถ้าขาดธาตุนี้จะทำให้ส่วนของเซลล์หลวมอ่อนแอและตายเป็นสีน้ำตาลหรือดำ และธาตุ Ca เป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนที่ในพืช ดังนั้นจะต้องมีปริมาณ Ca ในพืชอย่างพอเพียงตลอดเวลา พืชไม่สามารถเคลื่อนย้าย Ca ไปยังเซลล์ใหม่ได้ อาการขาดจะเกิดและแสดงอาการที่ส่วนยอด ที่พบบ่อยในผักคืออาการ Tip burn โดยยอดผักสลัดใบยอดจะมีอาการขอบใบไหม้มีสีน้ำตาลหรือดำ ในมะเขือเทศและพริกหวานจะเกิดที่ปลายผลเซลตายเป็นสีดำและเน่าในที่สุด เรียกว่า Blossom-end rot ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยมากทั้งที่ปลูกในดินและใน Hydroponics

การดูดใช้ Ca ของพืช

Ca เมื่อถูกดูดเข้าในต้นพืชส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่อยู่ใน Xylem แบบ Passive transport ไปตามกระแสการไหลเวียนของสารละลายในXylem สู่ส่วนยอดของต้นพืช ดังนั้นปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำของพืชซึ่งจะมีผลให้การเคลื่อนที่ของสารละลายใน Xylem ช้าลง จะมีผลต่อการดูดใช้ Ca ของพืชด้วย กล่าวคือ Ca จะเคลื่อนที่ไปตามลำสารละลายใน Xylem ดังนั้นบริเวณใดในพืชที่มีการคายน้ำน้อยเช่นส่วนยอดของใบอ่อนที่ถูกห่อหุ่มด้วยใบอ่อน หรือที่ปลายผลก็มีโอกาศที่จะขาด Ca ได้เป็นส่วนแรกในกรณีที่มีระดับ Ca ไม่เพียงพอ ส่วนใบแก่จะมีอัตราการคายน้ำสูงก็จะมีการเคลื่อนที่ไปส่วนนั้นได้เพียงพอ การป้องกันการขาด Ca อาจทำได้โดยการฉีดพ่น Ca ให้ทางใบได้ แต่ปัญหาคือการขาด Ca บางครั้งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนคาดไม่ถึงว่าจะเกิด และบางครั้งเกิดขึ้นแล้วแต่มองไม่เห็นเช่นในผักสลัดที่ใบอ่อนถูกหุ้มด้วยใบแก่ด้านนอก ใบอ่อนเกิดอาการ Tip burn โดยใบแห้งตายที่ขอบใบ และเมื่อใบออ่นโตขึ้นพ้นจากใบที่ห่อหุ้มอยู่จึงแสดงให้เห็นซึ่งเป็นการสายที่จะแก้เพาะผักสลัดที่ได้ไม่สามารถขายได้



อาการขาด Ca

เนื่องจาก Ca เป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนที่กล่าวคือเมื่อพืชใช้ Ca เป็นองค์ประกอบของส่วนต่างๆในพืช เมื่อปริมาณ Ca ไม่เพียงพอ Ca ในส่วนต่างๆของพืชไม่สามารถเคลื่อนที่จากส่วนต่างๆเหล่านั้นไปยังส่วนเจริญอื่นๆได้ เช่นที่ใบอ่อน หรือส่วนยอด ดังนั้นอาการขาดจะแสดงที่ส่วนยอดเจริญของต้นและราก โดยอาการที่แสดงให้เห็นคือ มีการเจริญเติบโตผิดปกติของใบอ่อน ใบอ่อนจะโค้งงอลง ใบอาจแสดงขอบใบเป็นสีเหลืองและเมื่อขาดนานเข้าจะแสดงอาการใหม้เป็นสีน้ำตาลถึงดำ ซึ่งจะพบบ่อยมากในผักสลัดเป็นอาการที่เรียกว่า Tip burn ในมะเขือเทศและพริกหวาน จะแสดงอาการที่เรียกว่า Blossom-end rot โดยจะแสดงก้นเน่า และการเจริญของรากที่ขาด Ca จะเจริญไม่ดีรากสั้นและเป็นสีน้ำตาล




ขอขอบคุณ ที่มา http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=supat&date=22-02-2009&group=1&gblog=5

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

การปลูกพืชไร้ดิน

การปลูกพืชไร้ดิน


"ไร้ดิน" หมายถึงปราศจากดิน ดังนั้นการปลูกพืชไร้ดิน จึงหมาายถึงการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ซึ่งทีวิธีการปลูกดังนี้

ปลูกในภาชนะที่มีน้ำสารละลายอาหารพืช โดยที่รากอาจจะสัมผัส หรือแช่อยู่ในน้ำสารละลายนั้น

ปลูกในภาชนะที่มีแกลบ กรวด หิม ทราย ขี้เลื่อย และวัสดุหาง่าย อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ดิน โดยมีการให้น้ำสารละลาย ธาตุอาหารพืช ลงไปในวัสดุปลูก ที่รากพืชยึดเกาะอยู่



ธาตุอาหารสำหรับการปลูก

การปลูกพืชไร้ดิน ต้องมีการจัดเตรียม ธาตุอาหาารต่าง ๆ ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ในแต่ละชนิดโดยที่ว่าไปแล้วธสตุอาหารที่จำเป็นมีอยู่ 16 ธาตุด้วยกัน 3 ธาตุแรกพืชสามารถดึงคาร์บอน ออกซิเจนและไฮโดรเจน ได้จากอากาศและน้ำ ส่วนอีก 13 ธาตุ ได้จากการเตรียมสารละลาย ธาตุอาหารให้กับพืช

ประเภทของธาตุอาหาร

แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ ๆ คือ

  1. มหธาตุ คือแร่ธาตุที่พืชต้องการเป็นปริมาณมาก แบ่งเป็น

  • ธาตุอาหารหลักได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K)

  • ธาตุรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน
    2.  จุลธาตุ คือธาตุอาหารที่ต้องการในปริมาณที่น้อย ได้แก่ เหล็ก แมงกานิส ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิดีนัม และคลอรีน นอกจากนี้ มีธาตุอาหารเสริมพิเศษอีก เช่น โซเดียม อลูมิเนียม และซิลิกอน เป็นต้น

ข้อดีของการปลูกพืชไร้ดิน

  1. สามารถทดแทนการปลูกพืชในบริเวณดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินเป็นกรดจัดได้
  2. ไม่ต้องใช้พื้นที่ปลูกมาก สามารถปลูกได้ทั่่วไป เช่น ในบ้าน คอนโดิเนียม บนเรือเดินสมุทร แม้แต่ในยานอวกาศ ฯลฯ
  3. ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาต้นพืช เช่นไม่ต้องเตรียมดิน กำจัดวัชพืชรวมทั้งเรื่องโรคและแมลง เนื่องจากใข้พื้นที่น้อย
  4. ใช้แรงงานน้อย ได้ค่าตอบแทนสูง
  5. สามารถควบคุมคุณภาพของการผลิต และคุณภาพของผลผลิตได้ เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่มีปัญหรเรื่องสุขภาพ
  6. การควบคุมปัจจัยการผลิต ทั้งในเรื่องของอุณหภูมิ ความชื้น แสง และธาตุอาหารให้เหมาะสม สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสียของการปลูกพืชไร้ดิน

  1. ต้นทุนสูง
  2. ผู้ปลูกต้องมีความรู้ ความชำนาญสูง รวมทั้งการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด
  3. ต้องปลูกพืชเฉพาะที่ตลาดให้ราคาสูง เนื่องจากต้นทุนต่อหน่วยน้ำหนักสูงกว่า
  4. วัสดุปลูกหลายชนิดย่อยสลายยาก อาจทำให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมได้ หากมีการจัดการไม่ดี
  5. การจัดการที่ผิดพลาด อาจทำให้ธาตุอาหารบางตัวที่พืชดูดขึ้นไปสะสมในต้นหรือผล อาจมีอันตรายต่อผู้บริโภคต่อเนื่องกันนาน ไ ๆด้ เช่น ปริมาณไนเตรท เป็นต้น





ข้อมูลโดย สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร