วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ค่า pH ที่เหมาะสมกับฤดูกาลของผักไฮโดรโปนิกส์



ค่า pH ที่เหมาะสมกับฤดูกาล
ช่วงฤดูหนาว ควรปรับ pH ของสารละลายธาตุอาหารให้อยู่ที่ระดับ 5.5-6.0 ค่า EC 1.5-1.6 เพราะในฤดูหนาวมีโรครบกวนน้อยจึงปลูกผักที่ pH ระดับต่ำที่เหมาะกับการเจริญเติบโตได้
ช่วงฤดูฝน ควรปรับ pH ของสารละลายธาตุอาหารให้อยู่ที่ระดับ 5.5 ค่า EC 1.6-1.7 เพราะในฤดูฝนสารละลายอุ่นขึ้นแต่ยังจะไม่ร้อนมากเหมือนในฤดูร้อน
ช่วงฤดูร้อน ควรปรับ pHของสารละลายธาตุอาหารให้อยู่ที่ระดับ 6.5-6.8 ค่า EC 1.2-1.4 เพราะในฤดูนี้สารละลายอุ่นขึ้นมาก ในสภาพที่มี pH ค่อนข้างสูงเช่นนี้ การใช้ไตรโคเดอร์มาและเหล็กคีเลทชนิดที่ทน pH สูงได้ดังที่จะกล่าวต่อไปภายหลังเป็นสิ่งที่จำเป็น

pH ที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปเป็นปัญหาที่พบบ่อย ยกเว้นในกรณีที่ใช้เครื่องปรับ pHอัตโนมัติและเครื่องวัดนั้นได้รับการปรับเทียบมาตรฐานอยู่เสมอ เนื่องจากผู้ปลูกเลี้ยงส่วนใหญ่ปรับ pH ด้วยมือ ปัญหานี้จึงยังมีความสำคัญอย่างมาก ระดับ pH มีผลกระทบต่อการดูดซึมธาตุอาหารของรากและการใช้ประโยชน์ของธาตุอาหารในพืช เช่น pH ที่สูงกว่า 7.5 ทำให้เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน และโมลิบดีนัมเป็นประโยชน์ต่อพืชน้อยลง pH ที่ต่ำกว่า 5.5 ที่อุณหภูมิค่อนข้างสูงเช่นสูงกว่า 26°C จะส่งเสริมการเกิดโรครากเน่า pH ต่ำทำให้เกิดการขาดแคลเซียม แต่ถ้า pH สูงเกินไปแคลเซียมและฟอสเฟตก็ตกตะกอนและไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช โดยทั่วไปเพื่อการปลูกเลี้ยงดำเนินไป pH ของสารละลายจะเพิ่มขึ้น เราจำเป็นต้องปรับ pH ให้กลับตัวสู่ช่วงที่เหมาะสมอยู่เสมอ

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การป้องกันโรคและแมลงโดยชีววิธีในระบบไฮโดรโปนิกส์ (ตอนที่ 4 เชื้อราไตรโคเดอร์มา)



นวัตกรรมใหม่ของการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มา(สายพันธุ์ CB-Pin-01) ที่ศึกษาวิจัยโดย รศ.ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง แห่งภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สามารถใช้ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าของผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์ รวมถึงยังช่วยเร่งการเจริญ เติบโต และทำให้ผักแข็งแรงต้านทานโรคได้ดี ในปัจจุบันเรายังใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาป้องกันและรักษาโรคทางใบโดยการใช้สปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา มาผสมน้ำฉีดพ่นไปที่ใบพืชหรือส่วนที่เป็นโรคใน ช่วงต่อนเย็นๆ หลักการก็คือ เมื่อสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาถูกฉีดพ่นไปที่ใบพืชในตอนเย็น เมื่อเวลาผ่านไปสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา ก็จะเริ่มงอกเป็นเส้นใยประมาณตอนเช้าและเชื้อราไตรโคเดอร์มาก็จะเริ่มทำหน้าที่ทำลายเชื้อสาเหตุโรคพืช แต่ในความเป็นจริงสภาพตอนเช้าเริ่มมีแดดออก สภาวะอาจไม่เหมาะเพราะอากาศจะเริ่มร้อนและเส้นใยไตรโคเดอร์มาก็เริ่มงอก จึงอาจเป็นสาเหตุให้มีเส้นใยงอกไม่ได้มาก และผลที่ตามมาก็คือ การรักษาและป้องกันโรคก็จะได้ประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร
นวัตกรรมใหม่ที่กล่าวถึงมีที่มาจากการเกิดโรคใบจุดพบเชื้อสามชนิด คือ
เซอร์โคสปอรรา (Cercospara sp.) โครีนีสปอรา (Corynespora sp.) และอัลเทอร์นาเรีย (Alternaria sp.)ในผักสลัดที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ ได้มีการทดลองนำเอาสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มามาฉีดพ่นเพื่อป้องกันรักษาโรคใบจุด ปรากฏผลออกมาเป็นที่ไม่น่าพอใจ ซึ่งตามทฤษฎีแล้วน่าจะได้ผลดีกว่านี้ จึงทำให้ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ เจียมไชยศรี ผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญในการปลูกผักด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ นอกจากนี้ท่านยังเป็นบุคคลแรกที่ทำการทดลองใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาใส่ลงไปในสารละลายธาตุอาหารเพื่อใช้ป้องกันและรักษาโรครากเน่าโคนเน่าในผักที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ ท่านได้คิดหาวิธีใหม่ในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา โดยทำให้สปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มางอกเป็นเส้นใยก่อนแล้วจึงนำไปฉีดพ่น ท่านได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อราไตรโคเดอร์มาคือ รศ.ดร. จิระเดช แจ่มสว่าง ถึงวิธีการทำให้เชื้อราไตรโคเดอร์มางอกเป็นเส้นใย วิธีที่ได้ คือ
1. นำเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เพาะในข้าวสุกมาละลายน้ำเอาแต่น้ำสปอร์ของไตรโคเดอร์มาโดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ที่เลี้ยงบนเมล็ดข้าวสุก 200 กรัม/น้ำ 10 ลิตร
2. นำน้ำสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาใส่ไปในถัง 20 ลิตร จากนั้นเติมธาตุอาหารรองลงไปประมาณ 5 กรัม เพื่อเป็นอาหารเสริมให้เชื้อ
3. ให้ออกซิเจนโดยใช้หัวทรายหรือใช้ปั๊มขนาดเล็กติดเวนจูรี่เป่าอากาศเป็นเวลา 12-24 ชั่วโมง(ทำตอนเช้าฉีดพ้นตอนเย็น)
จากวิธีการข้างต้นจะได้เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่งอกเป็นเส้นใย โดยก่อนนำไปฉีดพ่นให้เติมน้ำเพิ่ม อีก 10-30 ลิตร
การฉีดพ่นจะกระทำในตอนเย็น ถ้าต้องการรักษาโรคให้ฉีดพ่น 3 วันติดต่อกัน ถ้าต้องการป้องกันโรคหรือเร่งการเจริญเติบโตของพืชผักให้ฉีดพ่น 3-7 วัน/ครั้ง
จะได้อะไรจากการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่งอกเป็นเส้นใยแล้ว
1. ขณะที่เชื้อราไตรโคเดอร์มางอกเป็นเส้นใยมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเกิดการสร้างสารทุติยภูมิ คือ เพนทิลไพโรน (pentyl pyrone) ที่มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคพืชและยังเป็นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชด้วย เป็นสารที่ให้ประโยชน์ 2 อย่างในตัวเดียว
2. ธาตุอาหารรองที่เราใส่ไปเป็นอาหารเสริมให้เชื้อยังให้ประโยชน์แก่พืชด้วย
3. เมี่อฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เป็นเส้นใยไปที่ใบพืช เส้นใยของเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะทำงานได้ทันที ไม่ต้องรอเวลาเหมือนการฉีดพนด้วยสปอร์(เส้นใยของเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถทนแรงดันจากการฉีดพ่นโดยเครื่องฉีดพ่นได้)
ผลที่ได้รับจากการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาในรูปของเส้นใย ทำให้ผักเติบโตดีขึ้นมีความสมบูรณ์แข็งแรงปลอดจากโรคมีความเขียวสดใสเพิ่มขึ้น ซึ่งเราอาจจะใช้วิธีนี้กับพืชผักหรือต้นไม้อื่นที่ไม่ได้ปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ได้อีกด้วย นอกจากนี้เรายังอาจจะใช้เส้นใยของเชื้อราไตรโคเดอร์มาใส่ลงไปในสารละลายธาตุอาหารของผักที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์แทนการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในรูปสปอร์แบบที่ได้เคยทำ กันมาในอดีตซึ่งจะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมรักษาโรคพืชมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ซึ่งต้องขอขอบคุณความคิดริเริ่มของท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ เจียมไชยศรี ที่ทำให้เราได้ใช้วิธีการรักษาและป้องกันโรคพืชแบบปลอดภัย อันจะนำมาซึ่งสุขภาพที่ดีของผู้ปลูกผักและผู้บริโภคผักที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ต่อไป

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การป้องกันโรคและแมลงโดยชีววิธีในระบบไฮโดรโปนิกส์ (ตอนที่ 3 เพลี้ยอ่อน)

เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อนมีขนาดเล็กออกลูกเป็นตัวมีหลายสี แต่ที่ผู้เขียนพบมากเป็นสีเขียว ในบางช่วงตัวแก่จะมีปีกบินได้ชอบขึ้นผักไทยหรือผักจีน ไม่ค่อยพบในผักสลัด ส่วนมากมดจะขนมา เพลี้ยอ่อนจะดูน้ำเลี้ยง แล้วปล่อยของเหลวมีรสหวาน มดจะเอาของเหลวไปกิน เมื่อเข้าทำลายผักจะโตช้าใบบิดเบี้ยวผิดรูปและยังเป็นตัวนำเชื้อโรค เช่น ไวรัส
วิธีป้องกัน
1) ใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องหรือจาระบีพันตามขาโต๊ะปลูกและท่อน้ำเข้า – ท่อน้ำกลับเพื่อไม่ให้มดนำ เพลี้ยอ่อนขึ้นมาบนโต๊ะปลูก
2) ปลูกพืชอาหารล่อ บริเวณรอบๆ โต๊ะปลูก เช่น พริก ถั่วฝักยาว มะเขือ เมื่อมีเพลี้ยอ่อนมาเกาะให้ตัดส่วนที่มีเพลี้ยอ่อนออกไปทำลาย ถ้าอยู่นอกโรงเรือนเราจะพบด้วงเต่ามากินเพลี้ยอ่อนที่พืชอาหารล่อ
3) คอยกำจัดมดโดยการทำให้พื้นเปียกแฉะอยู่ตลอด
วิธีกำจัด
1) สร้างโรงเรือนกางมุ้งคลุมโต๊ะปลูก แล้วปลูกพืชอาหารล่อในโรงเรือนรอบโต๊ะปลูก จากนั้นนำด้วงเต่ามาปล่อย พอนานๆ เข้าในโรงเรือนจะมีแมงมุมมาชักใยเป็นจำนวนมาก เราพบว่าเพลี้ยอ่อนที่มีปีกบินได้ติดใยแมงมุมอยู่เป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าแมงมุมก็ช่วยกำจัดเพลี้ยอ่อนตัวเต็มวัย
2) เก็บทำลายโดยการตัดส่วนที่มีเพลี้ยอ่อนออกไปทำลาย

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การป้องกันโรคและแมลงโดยชีววิธีในระบบไฮโดรโปนิกส์ (ตอนที่ 2 หนอนกระทู้ผัก)





หนอนกระทู้ผัก
หนอนกระทู้ผักหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหนอนหนังเหนียวชอบหากินกลางคืน ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน กินผักแทบทุกชนิด ถ้าไม่มีผักกินหญ้าก็ยังกิน
วิธีป้องกัน
1) กางมุ้งกันแมลง
2) คอยเดินเก็บไข่ที่มักไข่ไว้ใต้ใบผัก จะมีลักษณะเป็นกลุ่มไข่สีออกเหลืองมีใยบางๆ คลุมดูคล้ายรังแมงมุมแต่มองเห็นไข่เป็นฟองกลมๆ ขนาดเล็ก แต่รังแมงมุมมองไม่เห็นไข่
3) อย่าให้มีแสงไฟใกล้แปลงปลูก
วิธีกำจัด
1) เก็บทำลายโดยถ้าเก็บทำลายตอนเช้า ให้สังเกตมูลของหนอนและรอยกัดทำลาย ช่วงเช้ามืดตัวหนอนจะอยู่ใกล้ๆ ถ้าเก็บทำลายตอนสาย ให้สังเกตมูลของหนอนและรอยกัดทำลายของต้นผักที่ถูกทำลายจากประสบการณ์ของผู้เขียน พบว่า เกือบ 100 % ถ้าใจผักยังไม่ถูกกินจนหมด หนอนจะยังคงอยู่ที่ผักต้นนั้นให้แหวกดูตามใบผักแล้วจับออกมา แต่ถ้าใจผักถูกกินไปแล้วหนอนจะย้ายต้น แต่ถ้ามูลของหนอนแสดงออกว่าเป็นหนอนขนาดใหญ่ หนอนมักไปอยู่ที่อื่น เช่น ใต้โต๊ะปลูก หรือในรางปลูก ถ้าเก็บตอนกลางวันให้ตามหาใต้โต๊ะปลูกที่มีที่หลบ เช่น ก้อนหิน ใบผักแห้ง เศษวัสดุต่างๆ ใต้ถ้วยปลูก ในรางปลูก ถ้าเก็บตอนเย็นใกล้ค่ำจะหาได้ทั่วไป เพราะหนอนจะเริ่มเดินออกจากที่ซ่อนไปหากินโดยใช้ไฟฉายส่องดูหลังจากนั้นนำหนอนที่ได้ไปจัดการ 2 วิธี คือ บี้ให้ตายหรือนำไปแช่ในไส้เดือนฝอย(ต้องเป็นไส้เดือนฝอยที่ใช้กำจัดหนอน) หลังจากนั้นนำหนอนไปปล่อยใต้แปลงปลูกเหมือนเดิมจะไปเพิ่มปริมาณไส้เดือนฝอย
2) ใช้เชื้อบีทีฉีดพ่นถ้ามีการระบาดจำนวนมากๆ ควรฉีดพ่นตอนเย็นๆ
3) ฉีดไส้เดือนฝอยทั้งบนโต๊ะปลูกและใต้โต๊ะปลูก จะใช้ได้ผลดีในภาคใต้เพราะฝนตกชุกถ้าใช้เชื้อบีทีฝนจะล้างไปหมด แต่ไส้เดือนฝอยจะอยู่ในดินที่ชื้นแฉะ ถ้าหนอนลงมาที่ดินก็จะถูกทำลายทันที
4) ปล่อยมวนตัวห้ำอีแคนทีโคนา

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การป้องกันโรคและแมลงโดยชีววิธีในระบบไฮโดรโปนิกส์ (ตอนที่ 1เพลี้ยไฟ)



เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากขนาดยาวประมาณ 0.5 – 2.0 ม.ม. สามารถรอดตามุ้งกันแมลงเข้ามาทำลายผักได้โดย ใช้กรามข้างซ้ายเขี่ยให้ใบผักช้ำแล้วจึงดูดน้ำเลี้ยงจะทำลายใบล่างๆ ก่อนเราจะเห็น รอยทำลายได้อย่างชัดเจน แต่มักพบตัวเพลี้ยไฟน้อยในตอนกลางวันเพราะโดยเฉพาะตัวอ่อน เพลี้ยไฟจะหลบอยู่แล้วออกมาหากินมากตอนเย็นถึงเช้าถ้ามีจำนวนมากๆ จะทำลายใบผักสูงขึ้นมาเรื่อยๆ จากใบล่างจนถึงยอดช่วงที่มีอากาศแห้งในหน้าร้อนกับหน้าหนาวเพลี้ยไฟจะระบาดได้ดี
วิธีป้องกัน
1) พยายามทำให้ใต้แปลงปลูกและบริเวณแปลงปลูกเปียกๆ เอาไว้ เพลี้ยไฟจะเข้าดักแด้ได้ลำบากและเป็นการเพิ่มความชื้น
2) ไม่ควรใช้ทรายรองพื้นใต้โต๊ะปลูก เพราะทรายระบายน้ำได้ดี พื้นเลยไม่แฉะทำให้เพลี้ยไฟเข้าดักแด้ได้ง่าย
3) ไม่ควรใช้ผ้าพลาสติกคลุมพื้นกันหญ้าขึ้นแล้วปล่อยให้ใต้ผ้าพลาสติกแห้ง เราพบว่าแม้ในหน้าฝน เพลี้ยไฟก็ยังระบาดเพราะว่าเพลี้ยไฟสามารถหลบอยู่ใต้ผ้าใบได้เป็นอย่างดี
4) ตัดใบผักที่มีรอยเพลี้ยไฟทำลายมากๆ ออกไปทำลาย เพราะในใบผักอาจจะมีไข่ของเพลี้ยไฟอยู่จำนวนมากจะทำให้ลดการเกิดของตัวอ่อนเพลี้ยไฟลง
5) สเปร์ยน้ำช่วยเพิ่มความชื้น
6) ไม่ควรปลูกต้นไม้ใหญ่ที่เพลี้ยไฟชอบอยู่ใกล้แปลงปลูก เช่น มะม่วง
วิธีกำจัด
1) สเปร์ยน้ำตอนกลางคืน อาจจะสเปร์ย 3 นาที หยุด 10 นาที พอตอนเช้าเราจะพบเพลี้ยไฟจมน้ำ ตายบริเวณใบผัก รางปลูก เป็นจำนวนมาก การสเปร์ยน้ำถ้ามีการระบาดของเพลี้ยไฟควรสเปร์ยติดต่อกัน 5-7 วันทั้งกลางวันและกลางคืน และควรสังเกตดูจำนวนเพลี้ยไฟด้วยหากมีเพลี้ยไฟจำนวนน้อยลงให้หยุดสเปร์ยเพราะการกำจัดเพลี้ยไฟโดยไม่ใช้ยาไม่สามารกำจัดได้หมด ถ้าเราสเปร์ยน้ำ ตอนที่มีการระบาดของเพลี้ยไฟน้อย จะทำให้ไม่ต้องสเปร์ยน้ำติดต่อกันหลายวัน
2) ใช้ยาฉุนแช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วคั้นเอาน้ำยาฉุนมาผสมน้ำให้เจือจาง จากนั้นผสมน้ำยาล้างจานประมาณ 3-5 หยดต่อน้ำยาฉุนเจือจาง 1 ลิตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของนิโคตินและเป็นสารจับใบไปในตัว ฉีดพ่นตอนเย็นๆ ต้องระวังยาฉุนแต่ละรุ่นมีความฉุนไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกอัตราส่วนที่แน่นอนได้ ถ้าน้ำยาฉุนเข้มข้นเกินไปเพลี้ยไฟจะตายดี แต่ใบผักอาจจะเสีย เพราะฉะนั้นให้ลองผสมน้ำยาฉุนจางๆ แล้วฉีดดูก่อน แล้วสังเกตเพลี้ยไฟตายหรือไม่ ถ้าน้ำยาได้ขนาดเพลี้ยไฟจะ ตายภายใน 1-2 นาที ยาฉุนเป็นยาน็อคไม่ใช่ยาดูดซึมต้องถูกตัวเพลี้ยไฟถึงจะตาย หลังจากฉีดยาฉุนแล้วประมาณ 1-2 ชั่วโมง ควรสเปร์ยน้ำล้างยาฉุนออก
3) เลี้ยงแมลงวันตัวห้ำไว้ในโรงเรือน เช่น แมลงวันซีโนเซีย และ แมลงวัน Ochtsera

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรครากเน่าในผักไฮโดรโปนิกส์




การปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน โดยเฉพาะในระบบ Hydroponics นั้น จะพบการเกิดโรครากเน่าโคนเน่ากันแทบทุกฤดู โดยเฉพาะในหน้าร้อน และช่วงที่อากาศสลับร้อนบ้างหนาวบ้าง เรามีวิธีป้องกัน และข้อแนะนำในการจัดการเมื่อพืชเป็นโรคนี้มาฝากครับ
การป้องกันโรครากเน่าในระบบไฮโดรโพนิกส์โดยใช้ PH ที่แตกต่างกันในแต่ละฤดูการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ในแต่ละฤดูควรใช้ PH ที่แตกต่างกันเพราะ PH ที่ 5.2จะทำให้ผักเจริญเติบโตได้ดี แต่ถ้าสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูงเกินไปก็จะทำให้รากของผักเสียได้ง่ายและโรคก็จะเข้าทำลาย เชื้อราที่เป็นโทษต่อผักเช่น เชื้อราพิเที่ยมจะชอบ PH ค่อนข้างต่ำและเมื่อสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูงด้วยแล้วก็จะทำให้เกิดโรครากเน่าได้ง่าย ในทางกลับกันเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ใช้ป้องกันโรครากเน่าจากเชื้อราพิเที่ยมจะชอบ PH ค่อนข้างสูงถ้า PH สูงเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดเชื้อราพิเที่ยมได้ดีขึ้นเพราะฉะนั้นการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ในฤดูร้อนควรใช้ PH ที่ประมาณ 6.5-7.0 จะปลูกผักได้ดีอาจจะมีปัญหาบ้าง แต่เราก็สามารถแก้ไขได้คือ1) การปลูกผักที่ PH 6.5-7.0 อาจจะมีธาตุอาหารบางตัวตกตะกอนเราสามารถแก้ไขได้โดยการใช้เชื่อราไตรโครเดอร์มาใส่ไปในระบบเพื่อย่อยธาตุอาหารที่ตกตะกอนให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่และยังเป็นตัวกำจัดเชื้อราพิเที่ยมพร้อมทั้งยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของผัก ช่วยกระตุ้นให้ผักสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยขจัดแคลเซียมฟอสเฟตที่ตกตะกอนอยู่ที่รางและที่ๆสารละลายธาตุอาหารไหลผ่านให้หมดไป ช่วยยืดอายุการใช้งานของปั๊มน้ำ2) เหล็กอาจจะเสื่อมและตกตะกอนแก้ไขโดยใช้เหล็กที่ทน PH ได้สูง เช่น เหล็ก EDDHA ถึงจะมีราคาแพงขึ้นแต่ถ้าผักโตได้ดีในฤดูร้อนก็คุ้มค่าในฤดูฝนควรปลูกผักที่ PH ประมาณ 6.0-6.5 เพราะช่วงนี้สารละลายธาตุอาหารจะไม่ร้อนมากเหมือนฤดูร้อนส่วนในฤดูหนาวควรปลูกที่ PH ประมาณ 5.5-6.0 ในฤดูหนาวสภาพอากาศเหมาะแก่การเจริญเติบโตและมีโรครบกวนน้อยจึงปลูกผักที่ PH ต่ำได้

ข้อแนะนำในการปฏิบัติเมื่อเกิดอาการรากเน่าในผักที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์
1) หาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการรากเน่าก่อนว่าเกิดจากสาเหตุอะไรถ้าเราทราบสาเหตุก็จะทำให้เราสามารถรักษาอาการได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ เมื่อเรารู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไรให้แก้ไขในเบื้องต้นก่อน คือ1.1 เกิดจากสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูงเกินไปในฤดูร้อนเราแก้ไขได้โดย ใช้ซาแลนพรางแสงเพื่อลดความร้อน ใช้ปั๊มอ๊อกซิเยนปั๊มเพิ่มอ๊อกซิเยนในถังสารละลายธาตุอาหารจะช่วยลดความร้อน สเปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิที่โต๊ะปลูก1.2 เกิดจากสารละลายธาตุอาหารมีสภาพเป็นกรดเกินไปอาจเกิดจากเครื่องมือวัด PH เสียหรือปรับ PH ผิดก็ปรับ PH ให้ถูกต้องตามที่เคยแนะนำ 1.3 เกิดจากมีเชื้อสาเหตุโรคพืชเป็นจำนวนมากและมีความรุนแรงสูง ควรทำความสะอาดพื้นที่ปลูกอยู่เสมอ
2) เปลี่ยนถ่ายสารละลายธาตุอาหารปรับ EC ให้ต่ำลงกว่าที่เคยใช้ และเพิ่ม PH ไปที่ประมาณ 7-7.5 (ควรใช้เหล็ก EDDHA )
3) ใสเชื้อราไตโครเดอร์มาในอัตตราส่วน 100 กรัมข้าวสุก/ต่อสารละลายธาตุอาหาร 200 ลิตร 3-7 วันต่อครั้ง ระวังถ้าใส่มากเกินกำหนดจะทำให้เกิดผลเสียต่อรากและเชื้อราไตโครเดอร์มาที่นำมาใช้ต้องเป็นสายพันธุ์ที่เคยใช้ทำการทดลองแล้วได้ผลด้วย เพราะบางสายพันธุ์มีความรุนแรงของเชื้อมากเวลาใช้ในการรักษาอาการรากเน่ากลับไปรบกวนรากทำให้รากเสียมากกว่าเดิมบางสายพันธุ์ก็อ่อนเกินไป
4) ตัดใบผักใบล่างๆที่คิดว่าไม่ได้ใช้ออกบางเพื่อลดการคายน้ำและสเปรย์น้ำช่วยด้วย รากก็จะไม่ต้องทำงานหนักมาก
5) ควรฉีดพ้นธาตุอาหารทางใบที่มีธาตุอาหารครบเพราะรากไม่สามารถดูดอาหารมาเลี้ยงต้นได้พอ
6) ถ้าผักมีอาการดีขึ้นแล้วโดยดูจากรากที่งอกมาใหม่และอาการเหี่ยวลดน้อยลงอย่าลืมต้องแน่ใจว่าผักดีขึ้นจริงหลังจากนั้นก็ค่อยๆปรับ EC ขึ้นมาจนถึงระดับที่เคยปลูก และเมื่อปรับ EC ได้แล้วจึงค่อยๆปรับ PH ลงจนถึงระดับที่เคยปลูกขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้เวลาหลายวันอย่าลืมต้องปรับ EC ก่อนปรับ PH






วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ผักต้นบนแปลงทำได้เอง



ทุกครั้งที่ผู้เข้าอบรมมาชมแปลงปลูกผักโดรโปนิกส์ขนาดเล็กของเราต่างก็พอใจ มีอยู่หลายท่านมาศึกษาโดยละเอียด วัดขนาดและกลับไปทำขึ้นมาใช้เอง กลุ่มนี้เป็นพวกมีฝีมือด้านช่างและชอบทำอะไรเองอยู่แล้ว จึงเป็นเรื่องหมูๆ สำหรับเขา บางท่านใจกว้างทำแล้วโชว์รูปและวิธีทำใน Facebook ของ H2O ไฮโดรการ์เด้นเพื่อแนะนำคนอื่นอย่างสนุกสนาน
อีกลุ่มไม่ค่อยมั่นใจว่าจะทำได้เอง ขอให้เปิดอบรมวิธีการทำภาคปฏิบัติ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งบอกว่าไม่มีเวลาทำ บางคนบอกว่าทำไม่เป็นหรอกช่วยทำให้ได้ไหม
อย่างที่บอกแต่ต้นว่าเราตั้งใจให้ทุกคนทำแปลงปลูกเอง เพราะเป็นการพิสูจน์ว่าคุณชอบการปลูกผักจริงๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นที่สำคัญเพราะเรารู้จักหลายๆ คนที่ซื้อแปลงปลูกมาแล้วปลูก 1-2 รอบแล้วทิ้งร้างไว้ เสียดายของ
เราขายแปลงปลูกที่ทำขึ้นมาไว้สาธิตไป 2 ชุดแล้ว และกะว่าจะเปิดอบรมวิธีทำแปลงปลูกผักไฮโดรฯ ด้วยตนเองเร็วๆ นี้ กำลังตระเตรียมวิธีการอบรมและเครื่องมืออยู่ ส่วนเรื่องการรับทำให้เราก็ตั้งราคาขายแล้ว ใครสนใจสั่งได้เลย เปรียบเทียบกับที่มีขายในตลาดราคาของเราถูกที่สุดอยู่แล้ว ทนทานที่สุด ประหยุดพื้นที่ที่สุด ขนาดนั้นเลยทีเดียว


ข้อเปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ ดังนี้


















































วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคใบจุดในผักไฮโดรโปนิกส์







โรคใบจุดในผักไฮโดรโปนิกส์
ในปัจจุบันพบการแพร่ระบาดของโรคใบจุดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฟาร์มที่ปลูกในระบบเปิด เชื้อนี้สามารถมาได้หลายทาง ยิ่งหากเป็นฟาร์มที่ปรับเปลี่ยนระบบการผลิต มาจากการปลูกผักบนดิน หรือปลูกควบคู่กัน และฟาร์มเก่า เนื่องจากมีเชื้อสามารถขยายพันธุ์และสามารถแพร่ระบาดได้ง่าย และเชื้อสามารถอยู่ข้ามฤดูได้ ประกอบกับ พืชที่ปลูกในระบบไม่ใช้ดิน จะมีความต้านทานต่อโรคน้อยกว่าพืชที่ปลูกบนดิน เนื่องจาก
1.ไม่ใช้สารเคมีป้องกันโรค
2.มีความสม่ำเสมอทางพันธุกรรม เป็นเหตุให้เชื้อมีการปรับตัว และเข้าทำลายได้ง่าย
3.จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในระบบมีน้อยกว่า ทำให้ขาดสิ่งที่ปกป้องตามธรรมชาติ
ฟาร์มเก่าอาจพบปัญหาโรคใบจุดได้ในช่วงปีแรกๆของการปลูก หากมีการดูแล และสุขาภิบาลที่ไม่ดีพอ

มีเชื้อราหลายชนิด ที่ทำให้เกิดโรคใบจุด สำหรับเชื้อสาเหตุที่สำคัญๆ ที่เป็นไปได้ ที่ทำให้เกิดโรคใบจุดในผักที่ปลูกในระบบปลูกพืชไม่ใช้ดิน ได้แก่

1. เชื้อ Alternaria spp.

2. เชื้อ Cercospora spp.

3. เชื้อ Septoria spp.


1. เชื้อ Alternaria spp. พบได้ใน ผักกาดหอมห่อ, ผักกาดฮ่องเต้, คะน้ายอด, ผักกาดขาวปลี แผลที่เกิดจากเชื้อราชนิดนี้ แผลจะเป็นวงสีน้ำตาลซ้อนกันหลายวง คล้ายเป้ายิงปืน ในผักกาดต่างๆจะเห็นได้ชัด บริเวณแผลอาจปรากฏจุดดำๆ ซึ่งก็คือสปอร์ของเชื้อรา ถ้าอาการรุนแรง จะเกิดอาการตายของเนื้อเยื่อระหว่างเส้นใบ ทำให้ใบแห้งตายไปในที่สุด
2. เชื้อ Cercospora spp. พบได้ใน ผักกาดหอมห่อ, ผักกาดขาวปลี, ปวยเล้ง ฯลฯ จุดแผลจะมีลักษณะต่างกันไป แล้วแต่ชนิดพืช แต่ที่พบเห็นชัดเจนคือ ตรงกลางแผลจะมีสีเทาอ่อน จนถึงขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน-ขาว รอบแผลมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแดง คล้ายตากบ แผลที่เกิดจากจุด หากมีอาการมาก แผลจะต่อกัน ทำให้เกิดอาการใบไหม้ได้ ถ้าเกิดกับใบอ่อน ทำให้เกิดอาการใบหงิกงอได้
3. เชื้อ Septoria spp. พบได้ใน ผักกาดหอมห่อ, ปวยเล้ง, เซเลอรี่ อาการเริ่มจากจุดสีเหลืองเล็กๆ พอขยายใหญ่ แผลจะมีรูปร่างไม่แน่นอน สีของแผลเป็นสีน้ำตาลปนเขียวมะกอก มีจุดดำๆจำนวนมากบริเวณแผล ซึ่งก็คือโครงสร้างที่บรรจุสปอร์จำนวนมาก ถ้าอาการรุนแรงมาก บริเวณแผลจะฉีกขาด ทำให้ใบขาดรุ่งริ่ง เป็นมากพืชจะตาย
สำหรับโรคใบจุดในสลัดพันธุ์ต่างประเทศ และคื่นฉ่ายที่ปลูกในระบบปลูกพืชไม่ใช้ดิน ที่ได้ตรวจพบในประเทศไทย ยังไม่ได้มีการยืนยันถึงเชื้อสาเหตุที่แน่ชัด แต่จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า เชื้อส่วนใหญ่ได้แก่ เชื้อ Cercospora spp. สำหรับโรคใบจุดในสลัดพันธุ์ต่างประเทศ และคื่นฉ่ายที่ปลูกในระบบปลูกพืชไม่ใช้ดินที่ได้ตรวจพบในประเทศไทย ยังไม่ได้มีการยืนยันถึงเชื้อสาเหตุที่แน่ชัด แต่จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า เชื้อส่วนใหญ่ได้แก่ เชื้อ Cercospora spp.
การแพร่ระบาด
เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคใบจุด สามารถอาศัยอยู่ในซากพืช และในดินได้ดี หรือติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ สปอร์จะแพร่ระบาดได้ดีไปกับลม และน้ำฝน น้ำที่ใช้ในระบบพ่นฝอย ช่วยให้โรคจะบาดได้เร็วขึ้น นอกจากนี้วัชพืชที่อยู่รอบๆแปลงปลูก จะเป็นแหล่งหลบอาศัยของเชื้อได้
การป้องกันกำจัด
1. ในฟาร์มเปิดใหม่ ควรเตรียมพื้นที่ปลูกให้ดี พื้นโรงเรือนควรโรยด้วยหินกรวด เพื่อป้องกันน้ำขัง เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
2. ในพื้นที่ที่มีลมแรง ควรใช้ซาแรนขึง หรือปลูกพืชกำบังลม เพื่อไม่ให้ส่วนขยายพันธุ์จากแปลงข้างเคียงปลิวเข้ามา
3. ดูแลกำจัดวัชพืชบริเวณรอบๆพื้นที่ปลูกให้สะอาด
4. ใช้วัสดุเพาะกล้าที่ใหม่สะอาด หรือผ่านการฆ่าเชื้อแล้วในการเพาะกล้า
5. ปรับระยะเวลาการสเปย์น้ำให้เหมาะสม อย่าให้ชื้นแฉะเกินไป
6. หากพบโรค ให้เก็บส่วนของพืชที่เป็นโรคไปเผาทำลาย หรือฝังกลบโรยด้วยปูนขาว อย่าทิ้งเศษพืชที่เป็นโรคลงบนพื้น บริเวณโต๊ะปลูก
7. หลังเก็บเกี่ยว ทำความสะอาดโต๊ะปลูก และพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
8. ในฟาร์มที่พบการระบาดรุนแรง อาจต้องพ่นยาป้องกันเชื้อราในระยะเพาะกล้า
9. หากมีการระบาดรุนแรงจนควบคุมไม่ได้ อาจต้องพักแปลงปลูก ทำความสะอาด และพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ บริเวณพื้นที่ปลูกและโดยรอบ และอาจต้องใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา เพื่อควบคุมโรค ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ และคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554




และ นี่ คือ หนึ่ง ตัวอย่าง ของ ผลงาน ที่ผู้เข้าอบรมของเรา ได้แรงบันดาลใจ และ ข้อมูล จากการอบรม ไปแล้วนำกลับไปสร้างต่อจนแล้วเสร็จ

นี่ คือ ตัวอย่าง ของ คำที่ว่า ปลูกผัก ง่ายนิดเดียว แต่ ขอให้มีใจรัก ใจสู้ นะครับผม


สอบถามข้อมูล การอบรม ปลูกผักไร้ดิน หรือ พูดคุยตามประสาเพื่อนที่ชอบการปลูกผัก ได้ที่












วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สูตรสารละลายผักไฮโดรโปนิกส์ ง่ายๆ แต่ได้ผล

สูตรลับ แต่เผยแพร่แบบไม่ลับ :)

A : Ca(NO3) 3.90 kg. + EDTA 0.05 kg. + EDPA 0.05 kg. + น้ำ 20 ลิตร
B : K No3 1.80 kg. + MgSO4 1.10 kg + KH2PO4 0.65 kg. + Nicspray 0.07 kg. + น้ำ 20 ลิตร

เท่านี้ก็ได้สูตรปุ๋ยแบบ ความเข้มข้น 1:200 แล้วครับพี่น้อง :)

ได้ผลอย่างไร บอกต่อกันบ้างนะครับบบ

จากใจทีมงาน http://www.h2ohydrogarden.com

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ผ่านไป 10 รอบ เพื่อนๆที่มาเรียนให้คะแนนเรา 87%



เพื่อนๆ กว่า 250 คน ที่เรียนกับเรา ประเมินการอบรมของเราที่ 87% รวมถึง อาหารอร่อยของเรา ด้วย : )

ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกท่านนะครับที่ ช่วยกันให้คะแนนเราดีอย่างนี้

รวมถึงคำแนะนำต่างๆ ของเพื่อนๆ ที่มีส่วนทำให้ หลักสูตรอบรมของเรา ประสบความสำเร็จ จนเปิดมาได้ 10 ครั้งแล้ว


เพื่อนๆ ท่านใด มีปัญหาเรื่องการปลูก หรือ การขาย อย่างไร สามารถติดต่อหรือฝากคำถามมาให้เราได้เสมอนะครับ

ทั้งใน Facebook หรือ Twitter รวมทั้งใน Blog นี้นะครับ


ขอบคุณครับ

ทีมงาน H2O Hydro Garden @ Bansabai Hostel


อบรมการปลูกผักไฮโดร ครั้งที่ 11 วันอาทิตย์ 26 มิถุนายน 2554

หลักสูตร อบรมการปลูกผักปลอดสารพิษแบบประหยัด









  • ด้วยประสบการณ์ของเรา เราเรียนรู้จากการทำงานจริง การขายจริง และเราคืนทุนด้วยเวลาอันสั้น ปัจจุบันเรากำลังจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น อีก 4 เท่าตัวกว่าๆ เราจึงอยากเผยแพร่ความรู้แก่ท่านผู้สนใจทั่วไปในราคาพิเศษ โดย อบรมเป็นกลุ่มเล็ก10-15 ท่าน เน้นความเข้าใจ และปลูกให้เป็น เป็นหลัก





  • คอร์สต่อไป รุ่นที่ 11 เปิดสอนวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2554 !!! ท่านละ 1,000 บาท แถมฟรี ผักสลัดเมืองหนาว 5 ชนิด รวม 1 กิโลกรัม (มูลค่า 120 บาท) เพื่อไปทดลองชิมกันดู จะได้รู้ว่า จะปลูกผักอะไรดี !!! และ ราคานี้ รวม อาหารว่าง และ อาหารกลางวันจากผลผลิตของเรา ที่ผู้อบรมทุกรุ่นชมกันมากมาย





  • 9.00-10.30 วิธีการปลูกแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับผักแต่ละประเภท การทำโรงเรือน





  • 10.30-10.45 Coffee Break





  • 10.45-12.00 การป้องกัน และ การควบคุมแมลง และ โรคพืช ช่องทางการตลาด (จากประสบการณ์ของเราพบว่า ใช้เวลาคืนทุนประมาณ 6-7 เดือน)





  • 12.00 - 12.45 : อาหารกลางวันแบบผัก ผลิตจากสวนผักของเรา





  • 12.45 - 14.00 ชมแปลงสาธิต บนสวนผักลอยฟ้าของเรา พร้อมตอบคำถาม



  • พิเศษ สนใจเรียนต่อภาคปฏิบัติ เพื่อลงมือทดลองทำเองจริงจริง ปลูกเอง ติดตั้งและ สร้างระบบเอง ขอข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 081 565 2962 ครับ





สนใจติดต่อ






081-453-9830






081-565-2962






mkt@bansabaihostel.com

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

เป็นเพื่อนกับเราใน Facebook เพียงพิมพ์ http://www.facebook.com/h2ohydrogarden

เป็นเพื่อนกับเราใน Facebook เพียงเข้าที่

http://www.facebook.com/h2ohydrogarden

แล้วกด Like

เพียงเท่านี้ เพื่อนๆ ก็สามารถ ฝากคำถามไว้กับเรา ในเรื่องการปลูก การขาย ผักสลัด ผักไฮโดร ผักไร้ดิน ได้อย่างเต็มอิ่ม

แต่ถ้ายังไม่ทันใจ ก็เข้าไปที่ Twitter : h2ohydrogarden ได้เลย

อาจารย์ชูเกียรติ รอตอบอยู่ ทุกคำถามครับผม !!! : )

อบรม ผักไร้ดิน ผักปลอดสาร รุ่นที่ 10 วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม 2554

หลักสูตร อบรมการปลูกผักปลอดสารพิษแบบประหยัด





  • ด้วยประสบการณ์ของเรา เราเรียนรู้จากการทำงานจริง การขายจริง และเราคืนทุนด้วยเวลาอันสั้น ปัจจุบันเรากำลังจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น อีก 4 เท่าตัวกว่าๆ เราจึงอยากเผยแพร่ความรู้แก่ท่านผู้สนใจทั่วไปในราคาพิเศษ โดย อบรมเป็นกลุ่มเล็ก10-15 ท่าน เน้นความเข้าใจ และปลูกให้เป็น เป็นหลัก



  • คอร์สต่อไป รุ่นที่ 10 เปิดสอนวันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม 2554 !!! ท่านละ 1,000 บาท แถมฟรี ผักสลัดเมืองหนาว 5 ชนิด รวม 1 กิโลกรัม (มูลค่า 120 บาท) เพื่อไปทดลองชิมกันดู จะได้รู้ว่า จะปลูกผักอะไรดี !!! และ ราคานี้ รวม อาหารว่าง และ อาหารกลางวันจากผลผลิตของเรา ที่ผู้อบรมทุกรุ่นชมกันมากมาย



  • 9.00-10.30 วิธีการปลูกแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับผักแต่ละประเภท การทำโรงเรือน



  • 10.30-10.45 Coffee Break



  • 10.45-12.00 การป้องกัน และ การควบคุมแมลง และ โรคพืช ช่องทางการตลาด (จากประสบการณ์ของเราพบว่า ใช้เวลาคืนทุนประมาณ 6-7 เดือน)



  • 12.00 - 12.45 : อาหารกลางวันแบบผัก ผลิตจากสวนผักของเรา



  • 12.45 - 14.00 ชมแปลงสาธิต บนสวนผักลอยฟ้าของเรา พร้อมตอบคำถาม

  • พิเศษ สนใจเรียนต่อภาคปฏิบัติ เพื่อลงมือทดลองทำเองจริงจริง ปลูกเอง ติดตั้งและ สร้างระบบเอง ขอข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 081 565 2962 ครับ



สนใจติดต่อ




081-453-9830




081-565-2962




mkt@bansabaihostel.com

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

อบรมการปลูกผักไฮโดร รอบ 24 เมษายน 2554

หลักสูตร อบรมการปลูกผักปลอดสารพิษแบบประหยัด

  • ด้วยประสบการณ์ของเรา เราเรียนรู้จากการทำงานจริง การขายจริง และเราคืนทุนด้วยเวลาอันสั้น ปัจจุบันเรากำลังจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น อีก 4 เท่าตัวกว่าๆ เราจึงอยากเผยแพร่ความรู้แก่ท่านผู้สนใจทั่วไปในราคาพิเศษ โดย อบรมเป็นกลุ่มเล็ก10-15 ท่าน เน้นความเข้าใจ และปลูกให้เป็น เป็นหลัก

  • คอร์สต่อไป รุ่นที่ 9 เปิดสอนวันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2554 !!! ท่านละ 1,000 บาท แถมฟรี ผักสลัดเมืองหนาว 5 ชนิด รวม 1 กิโลกรัม (มูลค่า 120 บาท) เพื่อไปทดลองชิมกันดู จะได้รู้ว่า จะปลูกผักอะไรดี !!! และ ราคานี้ รวม อาหารว่าง และ อาหารกลางวันจากผลผลิตของเรา ที่ผู้อบรมทุกรุ่นชมกันมากมาย

  • 9.00-10.30 วิธีการปลูกแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับผักแต่ละประเภท การทำโรงเรือน

  • 10.30-10.45 Coffee Break

  • 10.45-12.00 การป้องกัน และ การควบคุมแมลง และ โรคพืช ช่องทางการตลาด (จากประสบการณ์ของเราพบว่า ใช้เวลาคืนทุนประมาณ 6-7 เดือน)

  • 12.00 - 12.45 : อาหารกลางวันแบบผัก ผลิตจากสวนผักของเรา

  • 12.45 - 14.00 ชมแปลงสาธิต บนสวนผักลอยฟ้าของเรา พร้อมตอบคำถาม

สนใจติดต่อ


081-453-9830


081-565-2962


mkt@bansabaihostel.com

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

อบรมการปลูกผักไฮโดร รอบ มีนาคม 2554

หลักสูตร อบรมการปลูกผักปลอดสารพิษแบบประหยัด

ด้วยประสบการณ์ของเรา

เราเรียนรู้จากการทำงานจริง การขายจริง

และเราคืนทุนด้วยเวลาอันสั้น ปัจจุบันเรากำลังจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น อีก 4 เท่าตัวกว่าๆ

เราจึงอยากเผยแพร่ความรู้แก่ท่านผู้สนใจทั่วไปในราคาพิเศษ

โดย อบรมเป็นกลุ่มเล็ก10-15 ท่าน เน้นความเข้าใจ และปลูกให้เป็น เป็นหลัก



คอร์สต่อไป รุ่นที่ 8 เปิดสอนวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม 2554 !!!

ท่านละ 800 บาท

ราคานี้รวมถึง

1. อาหารกลางวัน และ Coffee Break (เพื่อผ่อนคลายขณะอบรม )

2. เอกสารประกอบเพื่อนำกลับไปศึกษาต่อ


*** ทำไม ค่าเรียนถึง ถูก เพราะว่า เราต้องการเผยแพร่ความรู้แบบเพื่อนบอกเพื่อนครับ ***

**** และ ต้องการสร้างเครือข่ายพันธมิตรความรู้กันครับผม ****



ผักประดับ ครับ Trend ใหม่ของไม้ประดับ


เนื้อหาการอบรมจะประกอบด้วย

9.00-10.30 วิธีการปลูกแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับผักแต่ละประเภท การทำโรงเรือน

10.30.10.45 Coffee Break

10.45-12.00 การป้องกัน และ การควบคุมแมลง และ โรคพืช ช่องทางการตลาด

(จากประสบการณ์ของเราพบว่า ใช้เวลาคืนทุนประมาณ 6-7 เดือน)

12.00 - 12.45 : อาหารกลางวันแบบผัก ผลิตจากสวนผักของเรา

12.45 - 14.00 ชมแปลงสาธิต บนสวนผักลอยฟ้าของเรา พร้อมตอบคำถาม


สนใจติดต่อ

081-453-9830

081-565-2962

mkt@bansabaihostel.com

สำหรับท่านที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด

เราขอเสนอราคาห้องพัก standard เหลือ 500 บาท/คืน



พิเศษ ชุด SMART BOXขนาด 40x60 เซนติเมตร

สำหรับทดลองปลูก ราคา 1400 บาท ปลูกได้ 9-12 ต้น

พร้อมเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยน้ำ สารอาหาร ฟองน้ำเพาะเมล็ด กรวย

และ คู่มือปลูกแบบง่ายๆ

สนใจติดต่อได้ที่เราเช่นกันครับ 555

ค่าจัดส่ง 100 บาท ทั่วประเทศ



ชำระค่าอบรม หรือ ค่า Smart Box ที่

บัญชี ชื่อ นวลจันทร์ เลิศศุภานนท์
ธ. กรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาถนนรามอินทรา
กระแสรายวัน # 276-000701-4

พร้อม Fax สำเนา หรือ Scan สำเนา ส่งมาที่

Fax 02-538-4387 หรือ mkt@bansabaihostel.com

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ขายผักสลัด ขายผัก ขายผักสด ขายผักไร้ดิน ขายผักไฮโดร

ขายผักสลัด ขายผักไฮโดรโปนิกส์

เราเป็น โรงแรมที่ขายผัก บ้านสบาย ลาดพร้าว 71 :) www.bansabaihostel.com

ผัก ผักไฮโดร ผักสลัดเมืองหนาว กรอบ กรอบ กรอบ อร่อยยยย

ขายผักสลัด กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค คอส บัตเตอร์เฮด เรดปัตตาเวีย เรดคอรัล ทั้งปลีก และส่ง พิเศษเฉพาะช่วงนี้ ถ้าสั่งซื้อตั้งแต่ 20 กิโลกรัมขึ้นไป ราคากิโลกรัมละ 80 บาท

นอกจากนี้เรายังมี สลัดมิกซ์ สลดกล่อง พร้อมทาน ขายส่ง
โดยน้ำสลัดเป็นสูตรพิเศษของบ้านสบาย รับรองเรื่องรสชาติครับ มีทั้ง ขายปลีก และ ขายส่ง

มี น้ำสลัด ขายส่ง ด้วยนะครับ

ติดต่อสอบถามที่ 081-565-2962

รับจัด Delivery ผัก ไฮโดร ภายใน กทม.

www.h2ohydeogarden.com
www.bansabaihostel.com

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

คอร์ส อบรม สอนปลูกผักไร้ดิน 27 กุมภาพันธ์ 2554 เปิดรับสมัครแล้ว

หลักสูตร อบรมการปลูกผักปลอดสารพิษแบบประหยัด

ด้วยประสบการณ์ของเรา

เราเรียนรู้จากการทำงานจริง การขายจริง

และเราคืนทุนด้วยเวลาอันสั้น ปัจจุบันเรากำลังจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น อีก 4 เท่าตัวกว่าๆ

เราจึงอยากเผยแพร่ความรู้แก่ท่านผู้สนใจทั่วไปในราคาพิเศษ

โดย อบรมเป็นกลุ่มเล็ก10-15 ท่าน เน้นความเข้าใจ และปลูกให้เป็น เป็นหลัก



คอร์สต่อไป รุ่นที่ 6 แล้วต้อนรับปีใหม่ !! ด้วยการสอน วันที่ 30 มกราคม 2554

รุ่นที่ 7 เปิดสอนวันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 !!!

ท่านละ 800 บาท

ราคานี้รวมถึง

1. อาหารกลางวัน และ Coffee Break (เพื่อผ่อนคลายขณะอบรม )

2. เอกสารประกอบเพื่อนำกลับไปศึกษาต่อ


*** ทำไม ค่าเรียนถึง ถูก เพราะว่า เราต้องการเผยแพร่ความรู้แบบเพื่อนบอกเพื่อนครับ ***

**** และ ต้องการสร้างเครือข่ายพันธมิตรความรู้กันครับผม ****



ผักประดับ ครับ Trend ใหม่ของไม้ประดับ


เนื้อหาการอบรมจะประกอบด้วย

9.00-10.30 วิธีการปลูกแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับผักแต่ละประเภท การทำโรงเรือน

10.30.10.45 Coffee Break

10.45-12.00 การป้องกัน และ การควบคุมแมลง และ โรคพืช ช่องทางการตลาด

(จากประสบการณ์ของเราพบว่า ใช้เวลาคืนทุนประมาณ 6-7 เดือน)

12.00 - 12.45 : อาหารกลางวันแบบผัก ผลิตจากสวนผักของเรา

12.45 - 14.00 ชมแปลงสาธิต บนสวนผักลอยฟ้าของเรา พร้อมตอบคำถาม


สนใจติดต่อ

081-453-9830

081-565-2962

mkt@bansabaihostel.com

สำหรับท่านที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด

เราขอเสนอราคาห้องพัก standard เหลือ 500 บาท/คืน



พิเศษ ชุด SMART BOXขนาด 40x60 เซนติเมตร

สำหรับทดลองปลูก ราคา 1400 บาท ปลูกได้ 9-12 ต้น

พร้อมเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยน้ำ สารอาหาร ฟองน้ำเพาะเมล็ด กรวย

และ คู่มือปลูกแบบง่ายๆ

สนใจติดต่อได้ที่เราเช่นกันครับ 555

ค่าจัดส่ง 100 บาท ทั่วประเทศ



ชำระค่าอบรม หรือ ค่า Smart Box ที่

บัญชี ชื่อ นวลจันทร์ เลิศศุภานนท์
ธ. กรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาถนนรามอินทรา
กระแสรายวัน # 276-000701-4

พร้อม Fax สำเนา หรือ Scan สำเนา ส่งมาที่

Fax 02-538-4387 หรือ mkt@bansabaihostel.com