วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรครากเน่าในผักไฮโดรโปนิกส์




การปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน โดยเฉพาะในระบบ Hydroponics นั้น จะพบการเกิดโรครากเน่าโคนเน่ากันแทบทุกฤดู โดยเฉพาะในหน้าร้อน และช่วงที่อากาศสลับร้อนบ้างหนาวบ้าง เรามีวิธีป้องกัน และข้อแนะนำในการจัดการเมื่อพืชเป็นโรคนี้มาฝากครับ
การป้องกันโรครากเน่าในระบบไฮโดรโพนิกส์โดยใช้ PH ที่แตกต่างกันในแต่ละฤดูการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ในแต่ละฤดูควรใช้ PH ที่แตกต่างกันเพราะ PH ที่ 5.2จะทำให้ผักเจริญเติบโตได้ดี แต่ถ้าสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูงเกินไปก็จะทำให้รากของผักเสียได้ง่ายและโรคก็จะเข้าทำลาย เชื้อราที่เป็นโทษต่อผักเช่น เชื้อราพิเที่ยมจะชอบ PH ค่อนข้างต่ำและเมื่อสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูงด้วยแล้วก็จะทำให้เกิดโรครากเน่าได้ง่าย ในทางกลับกันเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ใช้ป้องกันโรครากเน่าจากเชื้อราพิเที่ยมจะชอบ PH ค่อนข้างสูงถ้า PH สูงเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดเชื้อราพิเที่ยมได้ดีขึ้นเพราะฉะนั้นการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ในฤดูร้อนควรใช้ PH ที่ประมาณ 6.5-7.0 จะปลูกผักได้ดีอาจจะมีปัญหาบ้าง แต่เราก็สามารถแก้ไขได้คือ1) การปลูกผักที่ PH 6.5-7.0 อาจจะมีธาตุอาหารบางตัวตกตะกอนเราสามารถแก้ไขได้โดยการใช้เชื่อราไตรโครเดอร์มาใส่ไปในระบบเพื่อย่อยธาตุอาหารที่ตกตะกอนให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่และยังเป็นตัวกำจัดเชื้อราพิเที่ยมพร้อมทั้งยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของผัก ช่วยกระตุ้นให้ผักสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยขจัดแคลเซียมฟอสเฟตที่ตกตะกอนอยู่ที่รางและที่ๆสารละลายธาตุอาหารไหลผ่านให้หมดไป ช่วยยืดอายุการใช้งานของปั๊มน้ำ2) เหล็กอาจจะเสื่อมและตกตะกอนแก้ไขโดยใช้เหล็กที่ทน PH ได้สูง เช่น เหล็ก EDDHA ถึงจะมีราคาแพงขึ้นแต่ถ้าผักโตได้ดีในฤดูร้อนก็คุ้มค่าในฤดูฝนควรปลูกผักที่ PH ประมาณ 6.0-6.5 เพราะช่วงนี้สารละลายธาตุอาหารจะไม่ร้อนมากเหมือนฤดูร้อนส่วนในฤดูหนาวควรปลูกที่ PH ประมาณ 5.5-6.0 ในฤดูหนาวสภาพอากาศเหมาะแก่การเจริญเติบโตและมีโรครบกวนน้อยจึงปลูกผักที่ PH ต่ำได้

ข้อแนะนำในการปฏิบัติเมื่อเกิดอาการรากเน่าในผักที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์
1) หาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการรากเน่าก่อนว่าเกิดจากสาเหตุอะไรถ้าเราทราบสาเหตุก็จะทำให้เราสามารถรักษาอาการได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ เมื่อเรารู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไรให้แก้ไขในเบื้องต้นก่อน คือ1.1 เกิดจากสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูงเกินไปในฤดูร้อนเราแก้ไขได้โดย ใช้ซาแลนพรางแสงเพื่อลดความร้อน ใช้ปั๊มอ๊อกซิเยนปั๊มเพิ่มอ๊อกซิเยนในถังสารละลายธาตุอาหารจะช่วยลดความร้อน สเปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิที่โต๊ะปลูก1.2 เกิดจากสารละลายธาตุอาหารมีสภาพเป็นกรดเกินไปอาจเกิดจากเครื่องมือวัด PH เสียหรือปรับ PH ผิดก็ปรับ PH ให้ถูกต้องตามที่เคยแนะนำ 1.3 เกิดจากมีเชื้อสาเหตุโรคพืชเป็นจำนวนมากและมีความรุนแรงสูง ควรทำความสะอาดพื้นที่ปลูกอยู่เสมอ
2) เปลี่ยนถ่ายสารละลายธาตุอาหารปรับ EC ให้ต่ำลงกว่าที่เคยใช้ และเพิ่ม PH ไปที่ประมาณ 7-7.5 (ควรใช้เหล็ก EDDHA )
3) ใสเชื้อราไตโครเดอร์มาในอัตตราส่วน 100 กรัมข้าวสุก/ต่อสารละลายธาตุอาหาร 200 ลิตร 3-7 วันต่อครั้ง ระวังถ้าใส่มากเกินกำหนดจะทำให้เกิดผลเสียต่อรากและเชื้อราไตโครเดอร์มาที่นำมาใช้ต้องเป็นสายพันธุ์ที่เคยใช้ทำการทดลองแล้วได้ผลด้วย เพราะบางสายพันธุ์มีความรุนแรงของเชื้อมากเวลาใช้ในการรักษาอาการรากเน่ากลับไปรบกวนรากทำให้รากเสียมากกว่าเดิมบางสายพันธุ์ก็อ่อนเกินไป
4) ตัดใบผักใบล่างๆที่คิดว่าไม่ได้ใช้ออกบางเพื่อลดการคายน้ำและสเปรย์น้ำช่วยด้วย รากก็จะไม่ต้องทำงานหนักมาก
5) ควรฉีดพ้นธาตุอาหารทางใบที่มีธาตุอาหารครบเพราะรากไม่สามารถดูดอาหารมาเลี้ยงต้นได้พอ
6) ถ้าผักมีอาการดีขึ้นแล้วโดยดูจากรากที่งอกมาใหม่และอาการเหี่ยวลดน้อยลงอย่าลืมต้องแน่ใจว่าผักดีขึ้นจริงหลังจากนั้นก็ค่อยๆปรับ EC ขึ้นมาจนถึงระดับที่เคยปลูก และเมื่อปรับ EC ได้แล้วจึงค่อยๆปรับ PH ลงจนถึงระดับที่เคยปลูกขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้เวลาหลายวันอย่าลืมต้องปรับ EC ก่อนปรับ PH






1 ความคิดเห็น:

  1. ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบอุทกภัยทุกท่านนะครับ

    ตอบลบ