วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

การปลูกพืชไร้ดิน

การปลูกพืชไร้ดิน


"ไร้ดิน" หมายถึงปราศจากดิน ดังนั้นการปลูกพืชไร้ดิน จึงหมาายถึงการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ซึ่งทีวิธีการปลูกดังนี้

ปลูกในภาชนะที่มีน้ำสารละลายอาหารพืช โดยที่รากอาจจะสัมผัส หรือแช่อยู่ในน้ำสารละลายนั้น

ปลูกในภาชนะที่มีแกลบ กรวด หิม ทราย ขี้เลื่อย และวัสดุหาง่าย อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ดิน โดยมีการให้น้ำสารละลาย ธาตุอาหารพืช ลงไปในวัสดุปลูก ที่รากพืชยึดเกาะอยู่



ธาตุอาหารสำหรับการปลูก

การปลูกพืชไร้ดิน ต้องมีการจัดเตรียม ธาตุอาหาารต่าง ๆ ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ในแต่ละชนิดโดยที่ว่าไปแล้วธสตุอาหารที่จำเป็นมีอยู่ 16 ธาตุด้วยกัน 3 ธาตุแรกพืชสามารถดึงคาร์บอน ออกซิเจนและไฮโดรเจน ได้จากอากาศและน้ำ ส่วนอีก 13 ธาตุ ได้จากการเตรียมสารละลาย ธาตุอาหารให้กับพืช

ประเภทของธาตุอาหาร

แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ ๆ คือ

  1. มหธาตุ คือแร่ธาตุที่พืชต้องการเป็นปริมาณมาก แบ่งเป็น

  • ธาตุอาหารหลักได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K)

  • ธาตุรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน
    2.  จุลธาตุ คือธาตุอาหารที่ต้องการในปริมาณที่น้อย ได้แก่ เหล็ก แมงกานิส ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิดีนัม และคลอรีน นอกจากนี้ มีธาตุอาหารเสริมพิเศษอีก เช่น โซเดียม อลูมิเนียม และซิลิกอน เป็นต้น

ข้อดีของการปลูกพืชไร้ดิน

  1. สามารถทดแทนการปลูกพืชในบริเวณดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินเป็นกรดจัดได้
  2. ไม่ต้องใช้พื้นที่ปลูกมาก สามารถปลูกได้ทั่่วไป เช่น ในบ้าน คอนโดิเนียม บนเรือเดินสมุทร แม้แต่ในยานอวกาศ ฯลฯ
  3. ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาต้นพืช เช่นไม่ต้องเตรียมดิน กำจัดวัชพืชรวมทั้งเรื่องโรคและแมลง เนื่องจากใข้พื้นที่น้อย
  4. ใช้แรงงานน้อย ได้ค่าตอบแทนสูง
  5. สามารถควบคุมคุณภาพของการผลิต และคุณภาพของผลผลิตได้ เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่มีปัญหรเรื่องสุขภาพ
  6. การควบคุมปัจจัยการผลิต ทั้งในเรื่องของอุณหภูมิ ความชื้น แสง และธาตุอาหารให้เหมาะสม สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสียของการปลูกพืชไร้ดิน

  1. ต้นทุนสูง
  2. ผู้ปลูกต้องมีความรู้ ความชำนาญสูง รวมทั้งการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด
  3. ต้องปลูกพืชเฉพาะที่ตลาดให้ราคาสูง เนื่องจากต้นทุนต่อหน่วยน้ำหนักสูงกว่า
  4. วัสดุปลูกหลายชนิดย่อยสลายยาก อาจทำให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมได้ หากมีการจัดการไม่ดี
  5. การจัดการที่ผิดพลาด อาจทำให้ธาตุอาหารบางตัวที่พืชดูดขึ้นไปสะสมในต้นหรือผล อาจมีอันตรายต่อผู้บริโภคต่อเนื่องกันนาน ไ ๆด้ เช่น ปริมาณไนเตรท เป็นต้น





ข้อมูลโดย สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น