วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ผักต้นบนแปลงทำได้เอง



ทุกครั้งที่ผู้เข้าอบรมมาชมแปลงปลูกผักโดรโปนิกส์ขนาดเล็กของเราต่างก็พอใจ มีอยู่หลายท่านมาศึกษาโดยละเอียด วัดขนาดและกลับไปทำขึ้นมาใช้เอง กลุ่มนี้เป็นพวกมีฝีมือด้านช่างและชอบทำอะไรเองอยู่แล้ว จึงเป็นเรื่องหมูๆ สำหรับเขา บางท่านใจกว้างทำแล้วโชว์รูปและวิธีทำใน Facebook ของ H2O ไฮโดรการ์เด้นเพื่อแนะนำคนอื่นอย่างสนุกสนาน
อีกลุ่มไม่ค่อยมั่นใจว่าจะทำได้เอง ขอให้เปิดอบรมวิธีการทำภาคปฏิบัติ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งบอกว่าไม่มีเวลาทำ บางคนบอกว่าทำไม่เป็นหรอกช่วยทำให้ได้ไหม
อย่างที่บอกแต่ต้นว่าเราตั้งใจให้ทุกคนทำแปลงปลูกเอง เพราะเป็นการพิสูจน์ว่าคุณชอบการปลูกผักจริงๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นที่สำคัญเพราะเรารู้จักหลายๆ คนที่ซื้อแปลงปลูกมาแล้วปลูก 1-2 รอบแล้วทิ้งร้างไว้ เสียดายของ
เราขายแปลงปลูกที่ทำขึ้นมาไว้สาธิตไป 2 ชุดแล้ว และกะว่าจะเปิดอบรมวิธีทำแปลงปลูกผักไฮโดรฯ ด้วยตนเองเร็วๆ นี้ กำลังตระเตรียมวิธีการอบรมและเครื่องมืออยู่ ส่วนเรื่องการรับทำให้เราก็ตั้งราคาขายแล้ว ใครสนใจสั่งได้เลย เปรียบเทียบกับที่มีขายในตลาดราคาของเราถูกที่สุดอยู่แล้ว ทนทานที่สุด ประหยุดพื้นที่ที่สุด ขนาดนั้นเลยทีเดียว


ข้อเปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ ดังนี้


















































วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคใบจุดในผักไฮโดรโปนิกส์







โรคใบจุดในผักไฮโดรโปนิกส์
ในปัจจุบันพบการแพร่ระบาดของโรคใบจุดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฟาร์มที่ปลูกในระบบเปิด เชื้อนี้สามารถมาได้หลายทาง ยิ่งหากเป็นฟาร์มที่ปรับเปลี่ยนระบบการผลิต มาจากการปลูกผักบนดิน หรือปลูกควบคู่กัน และฟาร์มเก่า เนื่องจากมีเชื้อสามารถขยายพันธุ์และสามารถแพร่ระบาดได้ง่าย และเชื้อสามารถอยู่ข้ามฤดูได้ ประกอบกับ พืชที่ปลูกในระบบไม่ใช้ดิน จะมีความต้านทานต่อโรคน้อยกว่าพืชที่ปลูกบนดิน เนื่องจาก
1.ไม่ใช้สารเคมีป้องกันโรค
2.มีความสม่ำเสมอทางพันธุกรรม เป็นเหตุให้เชื้อมีการปรับตัว และเข้าทำลายได้ง่าย
3.จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในระบบมีน้อยกว่า ทำให้ขาดสิ่งที่ปกป้องตามธรรมชาติ
ฟาร์มเก่าอาจพบปัญหาโรคใบจุดได้ในช่วงปีแรกๆของการปลูก หากมีการดูแล และสุขาภิบาลที่ไม่ดีพอ

มีเชื้อราหลายชนิด ที่ทำให้เกิดโรคใบจุด สำหรับเชื้อสาเหตุที่สำคัญๆ ที่เป็นไปได้ ที่ทำให้เกิดโรคใบจุดในผักที่ปลูกในระบบปลูกพืชไม่ใช้ดิน ได้แก่

1. เชื้อ Alternaria spp.

2. เชื้อ Cercospora spp.

3. เชื้อ Septoria spp.


1. เชื้อ Alternaria spp. พบได้ใน ผักกาดหอมห่อ, ผักกาดฮ่องเต้, คะน้ายอด, ผักกาดขาวปลี แผลที่เกิดจากเชื้อราชนิดนี้ แผลจะเป็นวงสีน้ำตาลซ้อนกันหลายวง คล้ายเป้ายิงปืน ในผักกาดต่างๆจะเห็นได้ชัด บริเวณแผลอาจปรากฏจุดดำๆ ซึ่งก็คือสปอร์ของเชื้อรา ถ้าอาการรุนแรง จะเกิดอาการตายของเนื้อเยื่อระหว่างเส้นใบ ทำให้ใบแห้งตายไปในที่สุด
2. เชื้อ Cercospora spp. พบได้ใน ผักกาดหอมห่อ, ผักกาดขาวปลี, ปวยเล้ง ฯลฯ จุดแผลจะมีลักษณะต่างกันไป แล้วแต่ชนิดพืช แต่ที่พบเห็นชัดเจนคือ ตรงกลางแผลจะมีสีเทาอ่อน จนถึงขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน-ขาว รอบแผลมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแดง คล้ายตากบ แผลที่เกิดจากจุด หากมีอาการมาก แผลจะต่อกัน ทำให้เกิดอาการใบไหม้ได้ ถ้าเกิดกับใบอ่อน ทำให้เกิดอาการใบหงิกงอได้
3. เชื้อ Septoria spp. พบได้ใน ผักกาดหอมห่อ, ปวยเล้ง, เซเลอรี่ อาการเริ่มจากจุดสีเหลืองเล็กๆ พอขยายใหญ่ แผลจะมีรูปร่างไม่แน่นอน สีของแผลเป็นสีน้ำตาลปนเขียวมะกอก มีจุดดำๆจำนวนมากบริเวณแผล ซึ่งก็คือโครงสร้างที่บรรจุสปอร์จำนวนมาก ถ้าอาการรุนแรงมาก บริเวณแผลจะฉีกขาด ทำให้ใบขาดรุ่งริ่ง เป็นมากพืชจะตาย
สำหรับโรคใบจุดในสลัดพันธุ์ต่างประเทศ และคื่นฉ่ายที่ปลูกในระบบปลูกพืชไม่ใช้ดิน ที่ได้ตรวจพบในประเทศไทย ยังไม่ได้มีการยืนยันถึงเชื้อสาเหตุที่แน่ชัด แต่จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า เชื้อส่วนใหญ่ได้แก่ เชื้อ Cercospora spp. สำหรับโรคใบจุดในสลัดพันธุ์ต่างประเทศ และคื่นฉ่ายที่ปลูกในระบบปลูกพืชไม่ใช้ดินที่ได้ตรวจพบในประเทศไทย ยังไม่ได้มีการยืนยันถึงเชื้อสาเหตุที่แน่ชัด แต่จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า เชื้อส่วนใหญ่ได้แก่ เชื้อ Cercospora spp.
การแพร่ระบาด
เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคใบจุด สามารถอาศัยอยู่ในซากพืช และในดินได้ดี หรือติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ สปอร์จะแพร่ระบาดได้ดีไปกับลม และน้ำฝน น้ำที่ใช้ในระบบพ่นฝอย ช่วยให้โรคจะบาดได้เร็วขึ้น นอกจากนี้วัชพืชที่อยู่รอบๆแปลงปลูก จะเป็นแหล่งหลบอาศัยของเชื้อได้
การป้องกันกำจัด
1. ในฟาร์มเปิดใหม่ ควรเตรียมพื้นที่ปลูกให้ดี พื้นโรงเรือนควรโรยด้วยหินกรวด เพื่อป้องกันน้ำขัง เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
2. ในพื้นที่ที่มีลมแรง ควรใช้ซาแรนขึง หรือปลูกพืชกำบังลม เพื่อไม่ให้ส่วนขยายพันธุ์จากแปลงข้างเคียงปลิวเข้ามา
3. ดูแลกำจัดวัชพืชบริเวณรอบๆพื้นที่ปลูกให้สะอาด
4. ใช้วัสดุเพาะกล้าที่ใหม่สะอาด หรือผ่านการฆ่าเชื้อแล้วในการเพาะกล้า
5. ปรับระยะเวลาการสเปย์น้ำให้เหมาะสม อย่าให้ชื้นแฉะเกินไป
6. หากพบโรค ให้เก็บส่วนของพืชที่เป็นโรคไปเผาทำลาย หรือฝังกลบโรยด้วยปูนขาว อย่าทิ้งเศษพืชที่เป็นโรคลงบนพื้น บริเวณโต๊ะปลูก
7. หลังเก็บเกี่ยว ทำความสะอาดโต๊ะปลูก และพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
8. ในฟาร์มที่พบการระบาดรุนแรง อาจต้องพ่นยาป้องกันเชื้อราในระยะเพาะกล้า
9. หากมีการระบาดรุนแรงจนควบคุมไม่ได้ อาจต้องพักแปลงปลูก ทำความสะอาด และพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ บริเวณพื้นที่ปลูกและโดยรอบ และอาจต้องใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา เพื่อควบคุมโรค ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ และคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ