วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สารละลายสำหรับปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์

1. ​หลักการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช
1.1 ​หลักการเลือก​ใช้​ปุ๋ย​หรือ​สารเคมี​ ​ใน​การปลูกพืช​โดย​ใช้​ระบบไฮโดรโพนิคส์​ ​มี​ความ​จำ​เป็น​ที่​จะ​ต้อง​ให้​ธาตุอาหาร​ใน​รูปของสารละลายแก่พืช​ ​จึง​ต้อง​ใช้​ปุ๋ยที่มีการละลายน้ำ​ดีมา​ ​ละลายน้ำ​ใน​สัด​ส่วน​ที่​เหมาะสม​ ​หลัก​ใน​การเลือก​ใช้​สารเคมีที่​เหมาะสมมีปัจจัยที่​เกี่ยวข้องดังนี้
- ​ความ​บริสุทธิ์ของปุ๋ย​หรือ​สารเคมี​
- ​ความ​สามารถ​ใน​การละลายน้ำ​ของสารเคมี
- ​ราคาของปุ๋ย​หรือ​สารเคมี
1.2 ​คุณภาพของน้ำ​ที่​ใช้​เตรียมสารละลาย​ ​คุณภาพน้ำ​มาตรฐานที่​เหมาะสมสำ​หรับเตรียมสารละลาย​เป็น​ดังนี้​
ส่วน​ประกอบทางเคมี​
คุณภาพน้ำ
ความ​เป็น​กรดด่าง​ (pH)5 -8
ค่าการนำ​ไฟฟ้า​ (EC) <0.5
(mS/cm)น้อยที่สุด
​ไนเตรท​ NO3– -N ​(​ส่วน​ต่อล้าน)น้อยที่สุด
​แอมโมเนียม​ (NH4+) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<5
​ฟอสเฟต​ (PO4-3 – P) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<5
​โพแทเซียม​ (K) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<40
​แคลเซียม​ (Ca) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<20
แมกนี​เซียม​ (Mg) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<5
​ซัลเฟต​ (SO4-2 – S) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<1
เหล็ก​ (Fe) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<0.3
โบรอน​ (B) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<0.5
สังกะสี​ (Zn) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<0.5
ทองแดง​ (Cu) ​​​(​ส่วน​ต่อล้าน)<0.5
แมงกานีส​ (Mn) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<30 – 40
คลอรีน​ (Cl) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<30
​​โซเดียม​ (Na) ​(​ส่วน​ต่อล้าน) <30


1.3 ​ปัจจัยที่​เกี่ยวข้อง​กับ​การเตรียมสูตรธาตุอาหารพืช


- ​ชนิด​และ​สายพันธุ์ของพืช

- ​ระยะการเจริญเติบโตของพืช

- ​ส่วน​ของพืชที่​ต้อง​การผลิต​ ​เช่น​ ​ใบ​ ​ราก​ ​ผล​ ​ดอก​ ​ลำ​ต้น

- ​สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการนำ​ธาตุอาหารไป​ใช้​ ​ได้​แก่​ ​ฤดูกาล​หรือ​ความ​ยาวของวันอุณหภูมิ​ ​พืชมีอัตราการหายใจ​และ​การเจริญเติบโตที่​แตกต่าง​กัน​ ​ดัง​นั้น​สูตรอาหารสำ​หรับ​ใน​ ​เขตร้อน​และ​เขตหนาว​จึง​แตกต่าง​กัน​ ​ความ​เข้มของแสง​ ​โดย​จะ​ให้​ความ​เข้มข้นของสารละลายปุ๋ยเพิ่มขึ้น​ 30-50% ​ใน​ช่วงฤดูหนาว​ ​และ​ ​จะ​ลดต่ำ​ลง​ใน​วันที่มี​แสงแดด​



2. ​ขั้นตอนการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืชไฮโดรโพนิคส์

วิธี​เตรียม​จะ​มีขั้นตอนต่างๆ​ ​ดังต่อไปนี้

1. ​ซึ่ง​แม่ปุ๋ย​หรือ​สารเคมีที่​เลือก​ใช้​ตามสูตรที่​ได้​คำ​นวณ​ไว้​ ​โดย​ต้อง​ให้​มี​ความ​แม่นยำ​มากๆ​ (บวกลบ​ไม่​เกิน​ 5%) ​เครื่องชั่งที่​ใช้​ชั่งธาตุหลัก​และ​ธาตุรอง​กับ​ธาตุ​เสริม​ ​จะ​มี​ความ​ละ​เอียด​ ​ที่ต่าง​กัน​ ​โดย​มัก​ใช้​เครื่องชั่ง​ใน​ระดับกรับ​กับ​ธาตุ​เสริม​ ​และ​จะ​ใช้​เครื่องชั่งที่มี​ความ​ละ​เอียด​ใน​ระดับร้อยกรัมสำ​หรับการเตรียมธาตุหลัก​และ​ธาตุรอง

2. ​เตรียมถังที่​จะ​ใช้​เป็น​ถังสารละลายเข้มข้น​ (ถังสารละลายสต็อค​ A ​และ​ถังสารละลายสต็อค​ B) ​โดย​เติมน้ำ​ลง​ใน​ถัง​ 10% ​ของปริมาณน้ำ​ทั้ง​หมดที่​จะ​ใช้​เตรียมสารละลายเข้มข้น​ ​โดย​ควร​จะ​ให้​น้ำ​ที่​ใช้​เตรียมมี​ความ​เป็น​กรดด่าง​(พี​เอช)​ที่ต่ำ​กว่า​ 7.0

3. ​ละลายสารเคมี​หรือ​แม่ปุ๋ยที่​จะ​ใช้​เตรียมสารละลายที่ละชนิด​ใน​ถังน้ำ​โดย​คน​ให้​เข้า​กัน​ ​จนละลาย​ทั้ง​หมดก่อน​จะ​เทลง​ใน​ถังสารละลายเข้มข้น​ (ถังสารละลายสต็อค​ A ​หรือ​ B)

​ทำ​เช่นนี้​ ​จนครบทุกสารเคมี​หรือ​ครบทุกแม่ปุ๋ย​ ​แล้ว​จึง​เติมน้ำ​ให้​มีปริมาตรครบตามที่กำ​หนด

4. ​ใน​การเตรียม​ให้​ละลายธาตุอาหารหลักก่อน​ ​แล้ว​จึง​ตาม​ด้วย​ธาตุอาหารรอง​หรือ​ธาตุอาหารเสริม​ ​แต่​จะ​ต้อง​คำ​นึง​ถึง​การเตรียมเกลือของสารประกอบแคลเซียม​ ​โดย​จะ​ต้อง​ไม่​รวม​กับ​ ​เกลือของสารประกอบ​ ​ใน​รูปซัลเฟต​ ​ทั้ง​นี้​เพื่อหลีกเลี่ยงการตกตะกอน​ใน​รูป​ ​แคลเซียม​ ​ซัลเฟต​ ​ซึ่ง​จะ​มีผลทำ​ให้​พืชขาดธาตุ​แคลเซียม​และ​กำ​มะถัน

5. ​ใน​การจัดการถังเก็บสารละลายที่​ไหลเวียน​ใน​ระบบ​ ​จะ​ต้อง​ทำ​การตรวจสอบ​ ​ค่า​ความ​เป็น​กรดด่าง​(พี​เอช)​ของสารละลายที่​เตรียมสมบูรณ์​แล้ว​โดย​คิดปรับค่า​ความ​เป็น​ด่าง​ด้วย​ ​กรดเข้มข้น​ใน​รูปกรดกำ​มะถัน​, ​กรดเกลือ​หรือ​กรดไนตริก​ ​ลดค่า​ความ​เป็น​กรดเกินไปของสารละลาย​ด้วย​ด่างเข้มข้น​ (โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์​ ​หรือ​ ​โซเดียมไฮดอกไซด์​(โซดา​ไฟ)

6. ​ปล่อย​ให้​มีการไหลเวียนของสารละลาย​ใน​ระบบ​กับ​ถังเก็บสารละลาย​ใน​ช่วง​ 30-60 ​นาที​ ​จาก​นั้น​จึง​ทำ​การตรวจสอบ​ความ​เป็น​กรด​ ​ด่างอีกครั้ง​และ​ปรับ​ให้​อยู่​ที่​ 6.0

7. ​เติมธาตุอาหารเสริมที่​เหลือจนครบตามสูตร

8. ​ปรับค่าการนำ​ไฟฟ้า​ (EC) ​ให้​เหมาะสม​กับ​สูตรที่กำ​หนด​ไว้​สำ​หรับนำ​ไป​ใช้​ใน​แต่ละพืช​ ​ใน​แต่ละช่วงอายุ



ที่มา : http://hydroponic-update.blogspot.com/2008/04/blog-post_957.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น