วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การควบคุมโรคผักโดยชีววิธี

เชื้อโรคมาได้อย่างไร
  1. โรคอาจติดมาจาดเมล็ดพันธุ์ เครื่องมือการเกษตร อุปกรณ์ทางการเกษตร คนที่เข้าไปในโรงเรือน
  2. ลมพัดพา -- เชื้อรา
  3. มากับน้ำ หรือวัสดุปลูก -- เชื้อแบคทีเรีย
  4. แมลงพามา -- ไวรัส
ทำไมจึงติดโรคได้
  1. สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ชื้น, แสงน้อย, อุณหภูมิไม่สูง
  2. มีส่วนที่แช่น้ำ
  3. ความเป็นกรด เป็นด่าง PH. ต่ำกว่า  5.5 เป็นเหตุให้พืชเกิดความเครียด อ่อนแอ 
  4. พันธุ์ดี มักไม่ค่อยมีความต้านทานโรค
  5. โตเร็ว อวบ บอบบาง
  6. ถ้าแปลงขนาดใหญ่ อาจเกิดการสสะสมเชื้อโรค และแมลงได้ง่าย
การควบคุมโรคผัก ในระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน และในสภาพโรงเรือน
  1. การหลีกเลี่ยง และการกีดกัน (Avoidance and exclusion)
  2. การกำจัดเชื้อ สาเหตุโรคพืช (Eradication)
  3. การป้องกันโรค (Protection)
การควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อรา ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา
  • ราไตรโคเดอร์มา
  • ลดกิจกรรมของเชื้อรา และสาเหตุของพืชโรค
  • ลดปริมาณเชื้อรา สาเหตุโรคพืช
  • เพิ่มการเจริญเติบโตของพืช
  • เพิ่มความต้านทานของพืช
เชื้อราไตรโคเดอร์มา
  • มีประโยชน์ ได้มีการผลิตขายอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ เช่น เบลเยี่ยม, US, เดนมาร์ค, อิสราเอล, รัสเซีย, บูลกาเรีย, นิวทซีแลยด์
  • มีชื่อทางการค้าแตกต่างกัน
  • ในประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบ.ยูนีซีดส์ จก. ร่วมการผลิตในเชิงธุรกิจ ซึ่งช่วยให้เกษตรกร สามารถป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ผลดีมาก
  • ถ้าใช้ในการรักษาโรคอย่างเดียว จะไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ถ้าระบาดมากแล้ว ต้องร่วมกับสารเคมีเมพาแลคซิล จึงควรใช้เพื่อป้องกันโรคจะดีกว่า
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา
  • ชนิดสด
  • การเพาะมีวิธีผลิตแนะนำชัดเจน โดยมีคำแนะนำให้บ่มเชื้อ ควรวางถุงเชื้อในบริเวณที่ได้รับแสงสว่างจากหลอดฟลูโอเรสเซนต์(หลอดนีออน) 10-12 ชั่วมโมงต่อ/วัน หรือตลอด 24 ชั่ใวโมง
  • ฉีดพ่นที่ถ้วยเพาะ โดยผสม 500 กรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร (15 กรัม/น้ำ 3 ลิตร)
  • NTF ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดสด 100 กรัม ต่อสารละลายแร่ธาตุ 200 ลิตร (50 กรัม/น้ำ 100 ลิตร)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น