วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มหกรรมสินค้าด้านการเกษตร ของกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 (ต่อ)

ตารางกิจกรรม วันที่ 3 กันยายน 2553
10.00 - 20.00 น.

  • การแสดงนิทรรศการด้านการเกษตร และการจำหน่ายผลผลิตด้านการเกษตร จาก 26 เขตรอบ กทม.

  • อบรมการฝึกอาชีพด้านการเกษตรฟรี 7 วิชาชีพ
10.00 -20.00 น.

  • การประกวดจัดสวนถาด ระดับประถมศีกและ มัธยมศึกษา

  • การประกวดนิทรรรศการด้านการเกษตร
13.00 - 16.00 น.

  • การแสดงวิสัยทัศน์ด้านการเกษตร ระดับประถมและมัธยมศึกษา

  • การประกวดกล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ 8 ชนิด
16.00 - 18.00 น.

  • พิธีเปิดงาน โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
18.00 - 20.00 น.

  • เสวนาเรื่อง "เกษตรอินทรีย์กับวิถีคนเมือง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า"

  • เกมตอบปัญหาด้านการเกษตร / นาทีทองและกิจกรรมบันเทิง
ตารางกิจกรรม วันที่ 4 กันยายน 2553
10.00 - 20.00 น.
  • การแสดงนิทรรศการด้านการเกษตร และการจำหน่ายผลผลิตด้านการเกษตร จาก 26 เขตรอบ กทม.
  • อบรมการฝึกอาชีพด้านการเกษตรฟรี 7 วิชาชีพ 
10.00 -12.00 น.
  • การประกวดผักสวนครัวในกระถาง 5 ชนิด (พริก, มะเขือ, กะเพรา, โหระพา, สะระแหน่)
13.00 - 16.00 น.
  • การประกวดผลไม้ 4 ชนิด (มะละกอสุก, มะพร้าวน้ำหอม, กล้วยหอมทอง, กล้วยน้ำหว้า)
16.00 - 18.00 น.

  • เสวนาเรื่องเกษตรอินทรีย์ กับการแก้ปัญหาโลกร้อน
  • การสัมภาษณ์เกษตรกร โปรโมทสินค้า
18.00 - 20.00
  • เกมตอบปัญหาด้านการเกษตร / นาทีทองและกิจกรรมบันเทิง



ตารางกิจกรรม วันที่ 5 กันยายน 2553
10.00 - 20.00 น.
  • การแสดงนิทรรศการด้านการเกษตร และการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร จาก 26 เขตรอบ กทม.
  • อบรมการฝึกอาชีพด้านการเกษตรฟรี  7 วิชาชีพ
10.00 - 20.00 น.
  • การประกวดการจัดกระเช้าพืชผักสวนครัวของแม่บ้านเกษตรกร
13.00 - 16.00 น.
  • การประกวดยำสาวเกษตรลงทะเล
  • การประกวดส้มตำลีลา
16.00 - 18.00 น.
  • เสวนาเรื่อง "เกษตรอินทรีย์ในชุมชนเมือง ไม่ยากอย่างที่คิด"
  • การสัมภาษณ์เกษตรกรโปรโมทสินค้า
18.00 - 20.00 น.
  • เกมตอบปัญหาเรื่องการเกษตร / นาทีทองและกิจกรรมบันเทิง

มหกรรมสินค้าด้านการเกษตร ของกรุงเทพมหานครครั้งที่ 2

พลาดไม่ได้
พบกับสารพัดสินค้าด้านการเกษตรของเกษตรกรในกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพสีเขียว น่าเที่ยว น่าซื้อ

วันที่ 3-5 กันยายน 2553
10.00-20.00 น.
ณ ลาน central world



( 31 ส.ค. 53) เวลา 13.00 น. ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกทม. : <strong>ดร. วัลลภ สุวรรณดี ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงข่าวการจัดงานมหกรรมสินค้าด้านการเกษตรของกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 ก.ย. 53 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ลานเซ็นทรัลเวิลด์ ถ.ราชประสงค์ เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรในกรุงเทพมหานครนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายให้เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป นับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร อีกทั้งยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการประกอบอาชีพ ให้กับผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 18,954 ครัวเรือน มีพื้นที่มากถึง 200,000 ไร่ กระจายอยู่ในพื้นที่ 26 เขตชั้นนอก ของกรุงเทพมหานคร โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรแบบผสมผสาน รวมถึงการทำปศุสัตว์
โดยในงานจะมีผลผลิตและผลิตภัณฑ์การเกษตรแปรรูป นานาชนิดจาก 26 เขต รอบกรุงเทพฯ กว่า 140 บูธ ร่วมเสนอผลงานและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในราคาผู้ผลิต การประกวดผักสวนครัวในภาชนะ ผลไม้ กล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ และการจัดแสดงงาน ด้านการเกษตรในรูปแบบของนิทรรศการ อาทิ แพะสร้างรายได้ เขตทุ่งครุ, ไร่หญ้าเศรษฐกิจสีเขียว เขตมีนบุรี,ตำนานส้มบางมด เขตจอมทอง , นาข้าวในเมืองหลวง เขตหนองจอก คลองสามวา และลาดกระบัง
จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมชมงานและร่วมประกวดกิจกรรมด้านการเกษตร รวมทั้งเลือกซื้อไม้ดอก ไม้ประดับ ผักปลอดสารพิษ ตลอดจนสินค้าผลิตผลทางการเกษตรจากเกษตรกรโดยตรงได้ตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักพัฒนาสังคมกทม. โทร. 0 2247 9499, 0 2247 9540
ภาพ : market.taradkaset.com
ที่มา : prbangkok.com

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาพบรรกาศ การอบรมปลูกผัก ไฮโดรโปนิกส์ วันที่ 29 สิงหาคม 2553

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา กับการอบรมการปลูกผัก มีผู้ร่วมการอบรมทั้งหมด 16 ท่าน บรรยากาศก็ตามภาพนี่เลย แฮะๆ
โดยรวมแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีการตั้งคำถามที่เป็นประโยชน์ ทางเราก็ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี่ด้วยครับ
พอทานข้าวเสร็จ ก็บ่ายพอดี ถึงตอนที่เราจะขึ้นดาดฟ้า ไปดูของจริงกันแล้ว เย้ ๆ


















อ่อ มันเป็นยังงี้นี่เอง ...

สูตรอาหารสำหรับใช้เลี้ยงพืชผัก

สูตร 1


สต๊อค A ประกอบด้วย

แคลเซียม ไนเตรด 80.9 กรัม/น้ำ 100 ลิตร

สต๊อค B ประกอบด้วย

โปแตสเซียม ซัลเฟต 55.4 กรัม

โปแตสเซียม ฟอสเฟต 17.7 กรัม

แมกนีเซียม ฟอสเฟต 9.9 กรัม

แมกนีเซียม ซัลเฟต 46.2 กรัม

เหล็ก (ซีเลตติ้ง) 3.27 กรัม

แมงกานีส ซัลเฟต 0.02 กรัม

กรดบอริค 0.173 กรัม

ซิงค์ ซัลเฟต 0.044 กรัม

แอมโมเนีย โมดิบเดท 0.005 กรัม



สูตร 2

สต๊อค A ประกอบด้วย

แคลเซียม ไนเตรด 2.5 กิโลกรัม/น้ำ 25 ลิตร

สต๊อค B ประกอบด้วย

โปแตสเซียม ไนเตรด 1.5 กิโลกรัม

โมโนโปแตสเซียม ฟอสเฟต 0.5 กิโลกรัม

แมกนีเซียม ซัลเฟต 1.3 กิโลกรัม

สารละลาย NZHYDROPPNIC 0.1 กิโลกรัม

อนึ่งสูตรอาหารนอกจากนี้มีหลากหลายสูตร เช่น สูตรของ Knop สูตรของประเทศอังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารทางวิชาการด้านการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน

เชื้อราไตรโคเดอร์มา

เชื้อราไตรโคเดอร์มา แก้ปัญหาโรครากเน่าในผักไฮโดรโพนิกส์ได้ผลจริง (ตอนที่ 1)
เรื่อง : รศ.ดร. จิระเดช แจ่มสว่าง


ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน ม. เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

โรคพืชก่อให้เกิดปัญหากับผักไฮโดรโพนิกส์ได้

ปัจจุบันนี้การปลูกพืชผักโดยไม่ใช้ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ ซึ่งอาศัยสารละลายธาตุอาหารเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นระบบเอ็น เอฟ ที (NFT หรือ Nutrient Film Technique) ระบบ ดี เอฟ ที (DFT หรือ Deep Flow Technique) หรือระบบ ดี อาร์ เอฟ ที (DRFT หรือ Dynamic Root Floating Technique) กำลังได้รับความนิยมจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปอย่างกว้างขวางเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ วารสารเคหการเกษตรได้เคยลงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผักในระบบไฮโดรโพนิกส์ไปแล้วหลายครั้งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา



การปลูกผักในระบบไฮโดรโพนิกส์ได้รับความนิยมสูงเพราะมีข้อดีอยู่หลายประการ เช่น สามารถควบคุมการใช้ธาตุอาหารพืชได้ง่าย จึงช่วยให้สามารถเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิตได้ สามารถปลูกต่อเนื่องได้ตลอดปี ประหยัดน้ำและปุ๋ย มีความสะอาดกว่าการปลูกพืชผักในดิน ตลอดจนเชื่อกันว่าจะสามารถลดปัญหาของโรคต่าง ๆ ที่พบเสมอเมื่อปลูกพืชผักในดิน เช่น โรครากเน่า โรคโคนเน่า และโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราต่าง ๆ ได้อย่างดีอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ปลูกมีการจัดการที่ไม่ดีพอ โรคพืชก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาที่ยิ่งใหญ่ในระบบการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ได้เช่นกัน ทั้งนี้เพราะเชื้อโรคที่เข้าสู่ระบบการปลูกเช่นนี้จะสามารถแพร่กระจายไปกับสารละลายธาตุอาหารที่หมุนเวียนอยู่ในระบบอย่างง่ายดายและทั่วถึง ส่งผลให้เชื้อโรคสามารถเข้าทำลายพืชได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงอาจทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายจำนวนมากด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบไฮโดรโพนิกส์เป็นระบบที่ช่วยส่งเสริมให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต การขยายพันธุ์ การแพร่กระจาย และการเข้าทำลายของเชื้อโรคด้วย

โรครากเน่าเกิดจากเชื้อราพิเธียมมีความสำคัญมาก

เชื้อราพิเธียม สปีชีส์ (Pythium spp.) เป็นเชื้อราสาเหตุโรคที่สำคัญสำหรับพืชผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์ โดยทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า ลำต้นเน่า พืชผักจะแสดงอาการเหี่ยวฟุบให้เห็นอย่างรวดเร็ว เชื้อราชนิดนี้สามารถเข้าสู่ระบบการปลูกได้ค่อนข้างง่าย โดยอาจติดมากับวัสดุปลูก น้ำที่ใช้เตรียมสารละลายธาตุอาหาร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบปลูก ตลอดจนการปลิวมากับฝุ่นละออง เมื่อส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราพิเธียมตกลงสู่สารละลายธาตุอาหารได้แล้ว เชื้อจะงอกเส้นใยเจริญอย่างรวดเร็ว สร้างซูโอสปอร์ (zoospores) ซึ่งเป็นสปอร์ที่เคลื่อนที่ได้ดีในน้ำ (ว่ายน้ำได้) จำนวนมากมายมหาศาล เมื่อเชื้อโรคสัมผัสรากพืชผักได้ ก็จะเจริญเข้าสู่รากพืช ก่อให้เกิดโรครากเน่าได้อย่างรวดเร็วในระยะอันสั้น บางกรณีระบบรากของพืชผักอาจไม่ถูกเชื้อราพิเธียมเข้าทำลายจนเสียหายหมดทั้งระบบ พืชดังกล่าวจึงมักไม่ตายแต่อาจมีลักษณะอาการแคระแกร็น เจริญเติบโตช้า ใบซีดเหลือง มีขนาดเล็กลง จำนวนใบน้อย จำนวนรากน้อย มีอาการเน่าบางส่วนหรือทั้งตลอดความยาวของราก หรือเน่าเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำที่ปลายราก เมื่อรากเกิดอาการเน่า ก็จะสูญเสียความสามารถในการดูดซับน้ำและแร่ธาตุอาหาร เพื่อส่งขึ้นไปยังส่วนบนของพืชทำให้พืชผักแสดงอาการเหี่ยว

เชื้อราพิเธียมที่เข้าสู่ระบบปลูกแล้วควบคุมยาก

จะเห็นได้ว่าเชื้อราพิเธียมสามารถเจริญแพร่กระจายในน้ำได้ดีทั้งนี้เพราะราชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มของราชั้นต่ำที่อยู่ได้ทั้งในดินและในน้ำ เชื้อราพิเธียมสร้างส่วนขยายพันธุ์ต่าง ๆ ฝังตัวอยู่ในรากของพืชผักที่เป็นโรคได้ ดังนั้นถ้ารากพืชที่เป็นโรคเน่าเกาะติดอยู่กับรางปลูก และผู้ปลูกไม่สามารถทำความสะอาดภายในรางได้อย่างทั่วถึง เชื้อราจะสามารถกลับมาเจริญใหม่ และเข้าทำลายรากของพืชผักได้ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ผู้ที่ปลูกพืชผักมาระยะหนึ่งแล้วอาจเคยพบว่าในช่วงของการเริ่มต้นปลูกผักจะไม่พบต้นผักเป็นโรครากเน่า รากจะดูขาวดี มีจำนวนมาก ระยะต่อมาจะเริ่มพบโรคระบาดเล็กน้อย เริ่มพบรากมีสีน้ำตาลดำ โดยเฉพาะที่ปลายราก ในที่สุดเมื่อเชื้อโรคเพิ่มปริมาณมากขึ้นและสามารถมีชีวิตอยู่รอดในระบบรางปลูกได้แล้ว ผู้ปลูกจะพบโรครากเน่าทุกครั้งที่ปลูกโดยการระบาดของโรคจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การทำความสะอาดระบบปลูกด้วยน้ำกรด หรือน้ำยาฆ่าเชื้อแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง นอกจากจะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย เสียทั้งเวลาและแรงงานแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดมลพิษในสภาพแวดล้อมได้ แต่ประการสำคัญที่สุดคือ มักไม่ประสบผลสำเร็จในการกำจัดเชื้อพิเธียมให้หมดสิ้นไปจากระบบปลูกได้

เชื้อราพิเธียมสาเหตุโรรากเน่ามีหลายชนิด

ในต่างประเทศมีรายงานว่าเชื้อราพิเธียม (Pythium spp.) ที่เป็นสาเหตุของโรครากเน่าในพืชผักต่าง ๆ เช่น ผักกาดหอม มะเขือเทศ แตง ผักโขม และขึ้นฉ่าย มีอยู่กว่า 13 ชนิด (species) สำหรับในประเทศไทยมีรายงานการศึกษาอยู่ 2 ชนิด คือ พิเธียม อะฟานิเดอร์มาตัม (Pythium aphanidermatum) และพิเธียม มายริโอไทรัม (Pythium myriotyrum) โดยเชื้อราพิเธียมชนิดแรกเป็นเชื้อราที่พบได้โดยทั่วไป ก่อให้เกิดโรครากเน่า โรคเน่าระดับดินและพืชเศรษฐกิจมากมาย และเป็นชนิดที่มีความสามารถในการทำให้พืชเกิดโรครุนแรงกว่าเชื้อราพิเธียมชนิดอื่น ๆ แม้จะยังไม่เคยมีการสำรวจว่า เชื้อราพิเธียมที่ทำให้เกิดโรครากเน่าในพืชผักไฮโดรโพนิกส์ที่ระบาดอยู่ทุกแหล่งปลูกทั่วประเทศไทยเป็นชนิดใดบ้าง แต่จากการตรวจตัวอย่างโรครากเน่าของพืชผักไฮโดรโพนิกส์หลายตัวอย่าง ที่เกษตรกรส่งไปยังคลินิกสุขภาพพืชของภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พบว่าสาเหตุของโรครากเน่าคือ เชื้อราพิเธียม อะฟานิเดอร์มาตัม ข้อสังเกตเกี่ยวกับลักษณะอาการของโรคที่สำคัญคือ การพบอาการเน่าที่ปลายรากและบนราก ทำให้รากเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาล และอาจพบเป็นสีดำ ในกรณีที่พบโรคโคนเน่าจะเห็นกลุ่มเส้นใยสีขาวลักษณะฟูคล้ายสำลีบริเวณโคนต้น

ที่มาของการวิจัยเพื่อใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในผักไฮโดรโพนิกส์

เชื่อว่าสมาชิกเคหการเกษตรหลายท่านคงได้เคยอ่านบทความเกี่ยวกับการผลิตผักไฮโดรโพนิกส์ปลอดภัยของ คุณอรรถพร สุบุญสันต์ แห่ง แม่บัวหลวงไฮโดรโพนิกส์ ที่เคยลงในวารสารเคหการเกษตร ฉบับที่ 12 (ธันวาคม) ของปี พ.ศ. 2548 และ 2549 ไปแล้ว คุณอรรถพรจะกล่าวเน้นเสมอถึงการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาใส่ลงในสารละลายธาตุอาหาร เพื่อควบคุมโรครากเน่าของผักต่าง ๆ ที่เกิดจากเชื้อราพิเธียม แต่หลายท่านอาจจะยังไม่แน่ใจว่าจะได้ผลจริงหรือไม่? เพียงใด? ผู้เขียนขอถือโอกาสเล่าสู่กันฟังถึงที่มาและลำดับขั้นตอนของการวิจัยจนสามารถพิสูจน์ได้ว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มามีบทบาทสำคัญในการควบคุมโรครากเน่าของผักไฮโดรโพนิกส์ได้จริง

ผู้เขียนเริ่มวิจัยเกี่ยวกับการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา เพื่อควบคุมโรคของพืชที่เกิดจากเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่อาศัยอยู่ในดิน แล้วทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า ลำต้นเน่า กับพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ต่อมาได้มอบเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ดี และถ่ายทอดวิธีการใช้ให้กับกรมส่งเสริมการเกษตรประมาณปี พ.ศ. 2534 และในอีก 4 ปีต่อมาได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาในนามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ให้กับบริษัท ยูนิซีดส์ จำกัด เพื่อผลิตจำหน่ายเป็นการค้า เมื่อปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้เขียนไม่ได้คลุกคลีอยู่ในวงการไฮโดรโพนิกส์มาก่อน จึงยังไม่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับปัญหาด้านโรคพืชของพืชผักไฮโดรโพนิกส์เลย จนประมาณปี พ.ศ. 2545 ท่าน ผศ.ดร. ยงยุทธ เจียมไชยศรี ได้โทรศัพท์มาติดต่อสอบถามว่า เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถใช้ควบคุมโรครากเน่าของผักไฮโดรโพนิกส์ได้หรือไม่? และเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะมีชีวิตอยู่รอดในสารละลายธาตุอาหารได้หรือไม่? (จมน้ำตายหรือไม่?) นับเป็น 2 คำถามที่มีคุณค่าและความหมายต่อผู้เขียนและวงการไฮโดรโพนิกส์เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้เขียนต้องตัดสินใจดำเนินการศึกษาวิจัย (โดยไม่รอขอรับทุนจากแหล่งทุนใด) เพื่อให้สามารถตอบคำถามของท่านอาจารย์ให้ได้อย่างชัดเจนและถูกต้องในเชิงวิชาการด้วย (เพราะทราบดีว่าท่านอาจารย์เป็นนักวิชาการแท้ ๆ)

จากข้อสังเกตก่อให้เกิดงานวิจัยที่เป็นประโยชน์

ท่าน ผศ.ดร. ยงยุทธ เจียมไชยศรี เป็นบุคคลแรกที่ได้ทดลองใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มา (ชีวภัณฑ์ที่ได้รับจากบริษัทเอกชน) ลงในสารละลายธาตุอาหารระบบปลูกผักกาดหอมไฮโดรโพนิกส์ แบบ NFT ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่สำคัญมากของท่าน และจากการสนทนากันจึงทราบว่าท่านมีความสุขมากในการปลูกผักแจกญาติสนิทมิตรสหาย ท่านอาจารย์ได้สังเกตเห็นว่าผักกาดหอมหลายพันธุ์มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น และปัญหาการเกิดโรครากเน่าลดลงค่อนข้างชัดเจน ระบบรากมีความสมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนี้พบว่าผักกาดหอมมีรสชาติและความกรอบอร่อยกว่าปกติอีกด้วย

ข้อมูลและคำถามที่ผู้เขียนได้รับทราบดังกล่าวข้างต้น จึงถูกนำมากำหนดเป็นแผนการวิจัย แต่การวิจัยในเรื่องที่ไม่เคยมีความรู้พื้นฐานมาก่อนไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับนักวิจัยทุกคน ผู้เขียนจึงใคร่ขอเล่าเรื่องราวเป็นลำดับให้ท่านผู้อ่านเข้าใจได้ดีขึ้น โดยเริ่มต้นจากการแสวงหาสายพันธุ์ของเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรครากเน่าในผักไฮโดรโพนิกส์ ซึ่งมีความจำเป็นอันดับแรก ผู้เขียนได้รับความกรุณาจาก คุณวีระพล นิยมไทย (ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศาสตราจารย์ ดร. ธีระ สูตะบุตร) ส่งตัวอย่างของผักกาดหอมพันธุ์ต่าง ๆ ที่เป็นโรครากเน่ามาให้ โดยในขณะนั้น (พ.ศ. 2545) ยังไม่ทราบว่าเกิดจากเชื้อโรคชนิดใด ผู้ช่วยวิจัยหรือผู้ดำเนินการวิจัยเป็นความจำเป็นอันดับต่อมา นับเป็นจังหวะที่ประจวบเหมาะพอดีที่ คุณแพรทอง ละมุล นักศึกษาปริญญาโท ซึ่งมีประสบการณ์ในการปลูกพืชระบบไฮโดรโพนิกส์มาก่อนต้องเริ่มทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ ผู้เขียนจึงมอบหมายให้คุณแพรทองเป็นผู้ดำเนินการวิจัย ความจำเป็นอันดับสุดท้ายคือ จะเลือกใช้ระบบไฮโดรโพนิกส์แบบใดดี เรื่องนี้ได้รับคำแนะนำจาก ดร. ยงยุทธ ให้ติดต่อกับคุณอรรถพร สุบุญสันต์ ผู้มีประสบการณ์ในการสร้างรางสำหรับระบบปลูกผักไฮโดรโพนิกส์แบบ NFT โดยคุณอรรถพรได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ปี 2546 “เครื่องมือขึ้นรูปท่อปลูกและอุปกรณ์ดัดแปลงสำหรับปลูกผักไฮโดรโพนิกส์” จากกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในที่สุดโรงเรือนปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ระบบเอ็น เอฟ ที ก็พร้อมสำหรับการดำเนินงานวิจัย ณ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในปลายปี พ.ศ. 2546

สายพันธุ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาสำหรับแก้ปัญหาโรครากเน่า

เชื้อราปฏิปักษ์ที่นำมาใช้ในการควบคุมโรครากเน่าของผักกาดหอม คือ เชื้อราไตรโคเดอร์มา ฮาร์เซียนัม (Trichoderma harzianum) สายพันธุ์ CB-Pin-01 ซึ่งเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชทั้งที่อยู่ในดิน เชื้อราพิเธียม (Pythium spp.) ไฟทอฟธอรา (Phytophthora spp.) สเคลอโรเทียม (Sclerotium spp.) ไรซ็อคโทเนีย (Rhizoctonia spp.) และเชื้อโรคพืชที่เข้าทำลายส่วนต่าง ๆ ของพืชเหนือดิน เช่น เชื้อราโฟมอพซิส (Phomopsis spp.) เชื้อราสาเหตุโรคแอนแทรคโนส คือ เชื้อราคอลเลโตทริกัม (Colletotrichum spp.) เชื้อราสายพันธุ์ CB-Pin-01 นี้สามารถควบคุมเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่าระดับดินในพืชต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งโรคเน่าระดับดินของกล้าพืชที่เกิดจากเชื้อราพิเธียม อะฟานิเดอร์มาตัม (Pythium aphanidermatum) บังเอิญเชื้อราสาเหตุโรครากเน่าของผักกาดหอมที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์ก็คือเชื้อราพิเธียม อะฟานิเดอร์มาตัม (ขอเรียกย่อ ๆ ว่า “เชื้อราพิเธียม”) ดังนั้นผู้เขียนจึงตัดสินใจใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ CB-Pin-01 ในการศึกษาวิจัย

เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผลิตง่ายใช้สะดวก

เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เลี้ยงให้เจริญบนวัสดุอาหาร เช่น เมล็ดข้าวสาร ปลายข้าว ข้าวกล้อง ข้าวโพด หรือข้าวเหนียว ที่ผ่านการหุงสุกหรือนึ่งสุก จนเชื้อสร้างสปอร์เห็นเป็นสีเขียวเข้มแล้ว ขอเรียกว่า “เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “เชื้อสด” เมื่อนำเชื้อสดมาผสมน้ำหรือสารละลายธาตุอาหาร ล้างเอาแต่สปอร์ให้หลุดออกจากเมล็ดข้าว แล้วกรองเอาส่วนเมล็ดข้าวออก ได้เป็นเชื้อชนิดน้ำในรูปของสปอร์แขวนลอยในน้ำ หรือสารละลายธาตุอาหาร (เห็นเป็นน้ำสีเขียวคล้ายน้ำใบบัวบก) ขอใช้คำว่า “เชื้อไตรโคเดอร์มาชนิดน้ำ” หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “เชื้อน้ำ” เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ง่ายและตรงกัน การเติมเชื้อน้ำลงไปในสารละลายธาตุอาหารโดยตรงตามอัตราส่วนที่กำหนด จึงเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และไม่มีการตกตะกอนของสาร การเตรียมเชื้อน้ำมีวิธีที่ไม่ยุ่งยากและผู้ปลูกพืชระบบไฮโดรโพนิกส์ทุกรายสามารถผลิตเชื้อสดไว้ใช้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งผู้เขียนจะนำเสนอทั้งวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมและวิธีการใหม่ล่าสุดให้ทราบในภายหลัง สำหรับตอนต่อไปจะนำเสนอเกี่ยวกับวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาคลุกเมล็ดและใส่ลงในสารละลายธาตุอาหารเพื่อควบคุมโรครากเน่าของผักกาดหอม

ที่มา : วารสารเคหการเกษตร ปีที่ 31 ฉบับที่ 10 เดือนตุลาคม 2550 หน้า 176-180.

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิธีล้างผักให้สะอาดเพื่อลดปริมาณสารพิษตกค้าง

ผักเป็นอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย ประกอบด้วยเซลลูโรสจำนวนมาก ซึ่งมีประโยชน์ช่วยในการขับถ่ายทำให้ไม่เป็นโรคท้องผูก และที่สำคัญในผักมีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา วิตามินซี ช่วยบำรุงเหงือกและฟัน และสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคมักประสบปัญหาสารตกค้างในพืชผัก อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม และไม่ระมัดระวังของเกษตรกรผู้ผลิต ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรพิจารณาเลือกซื้อผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ เช่น ผักที่ได้รับรองจากหน่วยราชการ หรือองค์กรต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีการที่ทำให้สารพิษตกค้างในผักลดน้อยลง เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคด้วยวิธีการต่างๆ ก่อนนำประกอบอาหารรับประทาน ดังนี้

1. ลอกหรือปอกเปลือก แล้วแช่น้ำสะอาดนาน 5-10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-72
2. แช่น้ำปูนใส นาน 10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 34-52
3. การใช้ความร้อน ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 48-50
4. แช่น้ำด่างทับทิม นาน 10 นาที (ด่างทับทิม 20-30 เกล็ด) ผสมน้ำ 4 ลิตร) ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-43
5. ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อก นาน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-39
6. แช่น้ำซาวข้าว นาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38
7. แช่น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น (น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38
8. แช่น้ำยาล้างผัก นาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 22-36



ที่มา : ฝ่ายตรวจวิเคราะห์สารเคมีและบริการเครื่องมือ กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 561-4663 http://www.doae.go.th/library/html/pest_all.html

ผักไฮโดรโปนิกส์ ปลอดภัยจริงหรือ

ถึงตรงนี้ เชื่ออย่างยิ่งว่า คำถามสำคัญซึ่งเป็นบทสรุปของเรื่องทั้งหมดก็คือ มีหลักประกันความปลอดภัยของพืชผักในระบบไฮโดรโปนิกส์หรือไม่ เพราะปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างสารเคมีกับพืช จะเหมือนกับ ไก่เร่งฮอร์โมน หมูมีสารเร่งเนื้อแดง หรือไม่ แม้สารเคมีที่ให้จะเป็นสารปกติที่พืชสมควรได้รับอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นสารเคมีแปลกปลอมไปกว่าปกติแต่อย่างใด ความเป็นจริงคือ การที่ผักไฮโดรโปรนิกส์ได้รับสารอาหารสมบูรณ์เกินขนาดเช่นนี้ ทำให้มีการสะสมจนอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้


ตารางข้อมูลผลกระทบต่อร่างการจากสารอาหารในปริมาณสูง

ธาตุอาหาร ผลกระทบของสารอาหารต่อร่างกาย

ไนโตเจน เกลือไนเตรท และเกลือไนไตรท์ จะเป็นสารตั้งต้นของ ไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในตับ ในระบบทางเดินอาหาร

ฟอสฟอรัส ทำให้เกิด hyperparathyroidism และ resorption ของกระดูก

แคลเซียม ทำให้ท้องผูก อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่วสูงขึ้น

แมกนีเซียม ถ้าไตไม่ดีจะพบ hypermagnesemia

เหล็ก เกิดภาวะ hemochomatosis เกิดการทำลายเนื้อเยื่อที่เก็บสะสมเหล็ก เช่น ตับ

สังกะสี เกิดภาวะขาดทองแดง เนื่องจากสังกะสีจะไปกระตุ้นเซลล์ลำไส้สร้าง intestinal binding จับกับทองแดง



สารที่ควรจะต้องให้ความสำคัญคือ เกลือไนเตรทและเกลือไนไตรท์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของปุ๋ยอนินทรีย์ โปรตัสเซียมไนเตรท และแคลเซียมไนเตรท ในพืชผักต่าง ๆ ยิ่งมีการใช้ปุ๋ยพวกไนเตรทเพิ่มขึ้น ก็จะมีผลทำให้มีสารไนเตรทและไนไตรท์เพิ่มมากขึ้น พืชที่พบว่ามีสารเหล่านี้มากจะเป็นพวกกินใบและกินหัว โดยเฉพาะระยะที่พืชผักถูกเก็บไว้เพื่อรอการบริโภค สารไนเตรทจะเปลี่ยนเป็นสารไนไตรท์ โดยแบคทีเรีย ซึ่งผักบางชนิดอาจมีไนไตรท์สูงถึง 3.6 กรัมต่อผักแห้ง 1 กิโลกรัม

ความเป็นพิษของไนเตรทและไนไตรท์ในเด็ก เนื่องจากเม็ดเลือดแดงของเด็กไม่มีเอ็นไซม์ ชื่อ เอ็นเอดีเอช เมธฮีโมโกลบินรีดักเตส (NADH-methemoglobin reductase) เปลี่ยนเมธฮีโมโกบิน ซึ่งถูกออกซิไดซ์ด้วยไนไตรท์ได้ดีและง่ายกว่า ฉะนั้นการสะสมของเมธฮีโมโกบินจึงทำให้เด็กมีอาการขาดออกซิเจน ปวดศีรษะ หายใจหอบ หัวใจเต้นแรง และเร็วกว่าปกติ







ความเป็นพิษของสารไนโตรซามีน สารนี้เกิดจากเกลือไนไตรท์รวมตัวกับสารอามีน (amines) ซึ่งจะทำปฏิกิริยาได้ดีในสภาพความเป็นกรดสูงในกระเพาะอาหาร สารพิษไนโตซามีนสามารถถูกดูดซึมไปทั่วร่างกาย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เกลือไนเตรทเป็นสารตั้งต้นของสารก่อมะเร็ง สารไนโตซามีนมี 4 ชนิดที่ได้รับการพิสูจน์ว่า เป็นสารก่อมะเร็งคือ ไดเมธิลไนโตซามีน (dimethylnitrosamine) ทำให้เกิดมะเร็งตับ ไดเอธิลไนโตรซามีน (diethylnitrosamine) ทำให้เกิดมะเร็งในหลอดอาหาร เมธิลและตับ เบนซิลไนโตรซามีน (methylbenzylnitrosamine) และเมธิลเฟนิลไนโตรซามีน (methyphenylnitrosamine) ทำให้เกิดมะเร็งหลอดอาหาร ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นสมมติฐาน ของการรับประกันถึงความปลอดภัยของผักไฮโดรโปนิกส์ เท่าที่ตรวจสอบได้

เหรียญสองด้านของการบริโภค
ข้อมูลโดย http://www.moph.go.th/ops/doctor/DrApril45/world1101.doc

สารละลายสำหรับปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์

1. ​หลักการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช
1.1 ​หลักการเลือก​ใช้​ปุ๋ย​หรือ​สารเคมี​ ​ใน​การปลูกพืช​โดย​ใช้​ระบบไฮโดรโพนิคส์​ ​มี​ความ​จำ​เป็น​ที่​จะ​ต้อง​ให้​ธาตุอาหาร​ใน​รูปของสารละลายแก่พืช​ ​จึง​ต้อง​ใช้​ปุ๋ยที่มีการละลายน้ำ​ดีมา​ ​ละลายน้ำ​ใน​สัด​ส่วน​ที่​เหมาะสม​ ​หลัก​ใน​การเลือก​ใช้​สารเคมีที่​เหมาะสมมีปัจจัยที่​เกี่ยวข้องดังนี้
- ​ความ​บริสุทธิ์ของปุ๋ย​หรือ​สารเคมี​
- ​ความ​สามารถ​ใน​การละลายน้ำ​ของสารเคมี
- ​ราคาของปุ๋ย​หรือ​สารเคมี
1.2 ​คุณภาพของน้ำ​ที่​ใช้​เตรียมสารละลาย​ ​คุณภาพน้ำ​มาตรฐานที่​เหมาะสมสำ​หรับเตรียมสารละลาย​เป็น​ดังนี้​
ส่วน​ประกอบทางเคมี​
คุณภาพน้ำ
ความ​เป็น​กรดด่าง​ (pH)5 -8
ค่าการนำ​ไฟฟ้า​ (EC) <0.5
(mS/cm)น้อยที่สุด
​ไนเตรท​ NO3– -N ​(​ส่วน​ต่อล้าน)น้อยที่สุด
​แอมโมเนียม​ (NH4+) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<5
​ฟอสเฟต​ (PO4-3 – P) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<5
​โพแทเซียม​ (K) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<40
​แคลเซียม​ (Ca) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<20
แมกนี​เซียม​ (Mg) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<5
​ซัลเฟต​ (SO4-2 – S) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<1
เหล็ก​ (Fe) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<0.3
โบรอน​ (B) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<0.5
สังกะสี​ (Zn) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<0.5
ทองแดง​ (Cu) ​​​(​ส่วน​ต่อล้าน)<0.5
แมงกานีส​ (Mn) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<30 – 40
คลอรีน​ (Cl) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)<30
​​โซเดียม​ (Na) ​(​ส่วน​ต่อล้าน) <30


1.3 ​ปัจจัยที่​เกี่ยวข้อง​กับ​การเตรียมสูตรธาตุอาหารพืช


- ​ชนิด​และ​สายพันธุ์ของพืช

- ​ระยะการเจริญเติบโตของพืช

- ​ส่วน​ของพืชที่​ต้อง​การผลิต​ ​เช่น​ ​ใบ​ ​ราก​ ​ผล​ ​ดอก​ ​ลำ​ต้น

- ​สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการนำ​ธาตุอาหารไป​ใช้​ ​ได้​แก่​ ​ฤดูกาล​หรือ​ความ​ยาวของวันอุณหภูมิ​ ​พืชมีอัตราการหายใจ​และ​การเจริญเติบโตที่​แตกต่าง​กัน​ ​ดัง​นั้น​สูตรอาหารสำ​หรับ​ใน​ ​เขตร้อน​และ​เขตหนาว​จึง​แตกต่าง​กัน​ ​ความ​เข้มของแสง​ ​โดย​จะ​ให้​ความ​เข้มข้นของสารละลายปุ๋ยเพิ่มขึ้น​ 30-50% ​ใน​ช่วงฤดูหนาว​ ​และ​ ​จะ​ลดต่ำ​ลง​ใน​วันที่มี​แสงแดด​



2. ​ขั้นตอนการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืชไฮโดรโพนิคส์

วิธี​เตรียม​จะ​มีขั้นตอนต่างๆ​ ​ดังต่อไปนี้

1. ​ซึ่ง​แม่ปุ๋ย​หรือ​สารเคมีที่​เลือก​ใช้​ตามสูตรที่​ได้​คำ​นวณ​ไว้​ ​โดย​ต้อง​ให้​มี​ความ​แม่นยำ​มากๆ​ (บวกลบ​ไม่​เกิน​ 5%) ​เครื่องชั่งที่​ใช้​ชั่งธาตุหลัก​และ​ธาตุรอง​กับ​ธาตุ​เสริม​ ​จะ​มี​ความ​ละ​เอียด​ ​ที่ต่าง​กัน​ ​โดย​มัก​ใช้​เครื่องชั่ง​ใน​ระดับกรับ​กับ​ธาตุ​เสริม​ ​และ​จะ​ใช้​เครื่องชั่งที่มี​ความ​ละ​เอียด​ใน​ระดับร้อยกรัมสำ​หรับการเตรียมธาตุหลัก​และ​ธาตุรอง

2. ​เตรียมถังที่​จะ​ใช้​เป็น​ถังสารละลายเข้มข้น​ (ถังสารละลายสต็อค​ A ​และ​ถังสารละลายสต็อค​ B) ​โดย​เติมน้ำ​ลง​ใน​ถัง​ 10% ​ของปริมาณน้ำ​ทั้ง​หมดที่​จะ​ใช้​เตรียมสารละลายเข้มข้น​ ​โดย​ควร​จะ​ให้​น้ำ​ที่​ใช้​เตรียมมี​ความ​เป็น​กรดด่าง​(พี​เอช)​ที่ต่ำ​กว่า​ 7.0

3. ​ละลายสารเคมี​หรือ​แม่ปุ๋ยที่​จะ​ใช้​เตรียมสารละลายที่ละชนิด​ใน​ถังน้ำ​โดย​คน​ให้​เข้า​กัน​ ​จนละลาย​ทั้ง​หมดก่อน​จะ​เทลง​ใน​ถังสารละลายเข้มข้น​ (ถังสารละลายสต็อค​ A ​หรือ​ B)

​ทำ​เช่นนี้​ ​จนครบทุกสารเคมี​หรือ​ครบทุกแม่ปุ๋ย​ ​แล้ว​จึง​เติมน้ำ​ให้​มีปริมาตรครบตามที่กำ​หนด

4. ​ใน​การเตรียม​ให้​ละลายธาตุอาหารหลักก่อน​ ​แล้ว​จึง​ตาม​ด้วย​ธาตุอาหารรอง​หรือ​ธาตุอาหารเสริม​ ​แต่​จะ​ต้อง​คำ​นึง​ถึง​การเตรียมเกลือของสารประกอบแคลเซียม​ ​โดย​จะ​ต้อง​ไม่​รวม​กับ​ ​เกลือของสารประกอบ​ ​ใน​รูปซัลเฟต​ ​ทั้ง​นี้​เพื่อหลีกเลี่ยงการตกตะกอน​ใน​รูป​ ​แคลเซียม​ ​ซัลเฟต​ ​ซึ่ง​จะ​มีผลทำ​ให้​พืชขาดธาตุ​แคลเซียม​และ​กำ​มะถัน

5. ​ใน​การจัดการถังเก็บสารละลายที่​ไหลเวียน​ใน​ระบบ​ ​จะ​ต้อง​ทำ​การตรวจสอบ​ ​ค่า​ความ​เป็น​กรดด่าง​(พี​เอช)​ของสารละลายที่​เตรียมสมบูรณ์​แล้ว​โดย​คิดปรับค่า​ความ​เป็น​ด่าง​ด้วย​ ​กรดเข้มข้น​ใน​รูปกรดกำ​มะถัน​, ​กรดเกลือ​หรือ​กรดไนตริก​ ​ลดค่า​ความ​เป็น​กรดเกินไปของสารละลาย​ด้วย​ด่างเข้มข้น​ (โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์​ ​หรือ​ ​โซเดียมไฮดอกไซด์​(โซดา​ไฟ)

6. ​ปล่อย​ให้​มีการไหลเวียนของสารละลาย​ใน​ระบบ​กับ​ถังเก็บสารละลาย​ใน​ช่วง​ 30-60 ​นาที​ ​จาก​นั้น​จึง​ทำ​การตรวจสอบ​ความ​เป็น​กรด​ ​ด่างอีกครั้ง​และ​ปรับ​ให้​อยู่​ที่​ 6.0

7. ​เติมธาตุอาหารเสริมที่​เหลือจนครบตามสูตร

8. ​ปรับค่าการนำ​ไฟฟ้า​ (EC) ​ให้​เหมาะสม​กับ​สูตรที่กำ​หนด​ไว้​สำ​หรับนำ​ไป​ใช้​ใน​แต่ละพืช​ ​ใน​แต่ละช่วงอายุ



ที่มา : http://hydroponic-update.blogspot.com/2008/04/blog-post_957.html

หลักการทำงานของระบบ DRFT( Dynamic Root Floating Technique)

การปลูกพืชแบบระบบให้สารละลายธาตุอาหารพืช และอากาศไหลวนผ่านรากพืชในระดับลึกอย่างต่อเนื่องในถาดปลูก

ระบบปลูกแบบนี้ได้พัฒนาเพิ่มเติมมาจากระบบ DRF (Dynamic Root Floating Hydroponics Technique)
ซึ่งระบบนี้ก็้พัฒนามาจากระบบ Deep Flow Technque ( DFT)อีกทอดหนึ่ง แต่เพิ่มการไหลเวียนของอากาศ และสารอาหารคือมีถาดปลูกด้วยโฟม เจาะรูปลูกพืชและมีอุปกรณ์สำหรับ ปรับระดับของสารอาหาร เป็นระบบปลูก ที่มีลักษณะเหมือนระบบ DFT แต่ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อการผลิตพืชเชิงการค้า โดยต้องการให้พืช ได้รับทั้งอากาศและ สารละลายธาตุอาหาร ที่มีการหมุนเวียนที่รากพืชอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ จะมีระบบให้สารละลายธาตุอาหารพืช แบบหมนเวียน (Closed System) จาก 2 ส่วนคือ

1. ในถาดปลูกที่ทำจากโฟม(ส่วนที่อยู่ด้านบนของาด ะถูกปิดด้วยแผ่นโฟมที่มีรูสำหรับปลูกพืช) ที่ตั้งอยู่บนโครงเหล็ก ที่มีระดับ สูงกว่าพื้นดิน

2. ถังใส่สารอาหารที่มีปริมาณมากกว่าถาดปลูก ซึ่งปกติถังนี้จะวางอยู่ต่ำกว่าถาดปลูกหรือฝังดินใต้ถาดปลูก


ที่พื้นของถาดปลูกจะถูกออกแบบให้เป็นร่องและมีอุปกรณ์สำหรับ

1. ปรับระดับสารอาหารในถาดปลูกพืชตามอายุของพืชเพื่อให้รากพืชลอยอยู่ทั้งในอากาศและสารละลายธาตุอาหาร

2. อุปกรณ์นี้จะมีรูให้สารละลายธาตุอาหารไหลแบบหมุนเวียนลงสู่ถังปลูกข้างล่าง

สารละลายธาตุอาหารจากถังใส่สารอาหารที่อยู่ข้างล่างจะถูกส่งขึ้นไปยังถาดปลูกพืชที่อยู่ข้างบนแบบหมุนเวียนเป็นระยะๆ โดยใช้ปั้มน้ำที่บนถาดปลูกด้านต้นทางที่สารละลายไหลขึ้นนี้จะมีอุปกรณ์สำหรับเพิ่มอากาศให้กับสารละลายธาตุอาหารพืช

ก่อนที่จะไหลวนผ่านรากพืชกลับลงสู่ถังใส่สารละลายที่อยู่ด้านล่างที่ด้านปลายทางของถาดปลูก และที่จุดสารละลายจะไหลลงนี้ จะไหลผ่านอุปกรณ์สำหรับปรับระดับของสารละลายในถาดปลูกได้ตามการเจริญของพืช


อ้างอิง: http://school.obec.go.th/wsanam/ACTIVITIES/HYDRO/DRFT.htm

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การควบคุมโรคผักโดยชีววิธี

เชื้อโรคมาได้อย่างไร
  1. โรคอาจติดมาจาดเมล็ดพันธุ์ เครื่องมือการเกษตร อุปกรณ์ทางการเกษตร คนที่เข้าไปในโรงเรือน
  2. ลมพัดพา -- เชื้อรา
  3. มากับน้ำ หรือวัสดุปลูก -- เชื้อแบคทีเรีย
  4. แมลงพามา -- ไวรัส
ทำไมจึงติดโรคได้
  1. สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ชื้น, แสงน้อย, อุณหภูมิไม่สูง
  2. มีส่วนที่แช่น้ำ
  3. ความเป็นกรด เป็นด่าง PH. ต่ำกว่า  5.5 เป็นเหตุให้พืชเกิดความเครียด อ่อนแอ 
  4. พันธุ์ดี มักไม่ค่อยมีความต้านทานโรค
  5. โตเร็ว อวบ บอบบาง
  6. ถ้าแปลงขนาดใหญ่ อาจเกิดการสสะสมเชื้อโรค และแมลงได้ง่าย
การควบคุมโรคผัก ในระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน และในสภาพโรงเรือน
  1. การหลีกเลี่ยง และการกีดกัน (Avoidance and exclusion)
  2. การกำจัดเชื้อ สาเหตุโรคพืช (Eradication)
  3. การป้องกันโรค (Protection)
การควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อรา ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา
  • ราไตรโคเดอร์มา
  • ลดกิจกรรมของเชื้อรา และสาเหตุของพืชโรค
  • ลดปริมาณเชื้อรา สาเหตุโรคพืช
  • เพิ่มการเจริญเติบโตของพืช
  • เพิ่มความต้านทานของพืช
เชื้อราไตรโคเดอร์มา
  • มีประโยชน์ ได้มีการผลิตขายอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ เช่น เบลเยี่ยม, US, เดนมาร์ค, อิสราเอล, รัสเซีย, บูลกาเรีย, นิวทซีแลยด์
  • มีชื่อทางการค้าแตกต่างกัน
  • ในประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบ.ยูนีซีดส์ จก. ร่วมการผลิตในเชิงธุรกิจ ซึ่งช่วยให้เกษตรกร สามารถป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ผลดีมาก
  • ถ้าใช้ในการรักษาโรคอย่างเดียว จะไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ถ้าระบาดมากแล้ว ต้องร่วมกับสารเคมีเมพาแลคซิล จึงควรใช้เพื่อป้องกันโรคจะดีกว่า
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา
  • ชนิดสด
  • การเพาะมีวิธีผลิตแนะนำชัดเจน โดยมีคำแนะนำให้บ่มเชื้อ ควรวางถุงเชื้อในบริเวณที่ได้รับแสงสว่างจากหลอดฟลูโอเรสเซนต์(หลอดนีออน) 10-12 ชั่วมโมงต่อ/วัน หรือตลอด 24 ชั่ใวโมง
  • ฉีดพ่นที่ถ้วยเพาะ โดยผสม 500 กรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร (15 กรัม/น้ำ 3 ลิตร)
  • NTF ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดสด 100 กรัม ต่อสารละลายแร่ธาตุ 200 ลิตร (50 กรัม/น้ำ 100 ลิตร)

ชุดทดลองปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

พิเศษ ชุด SMART BOXขนาด 40x60 เซนติเมตร
สำหรับทดลองปลูก ราคา 1400 บาท ปลูกได้ 9-12 ต้น
พร้อมเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยน้ำ สารอาหาร ฟองน้ำเพาะเมล็ด กรวย
และ คู่มือปลูกแบบง่ายๆ

สนใจติดต่อ
080-6110524
h2ogarden.bansabai@gmail.com

อบรมการปลูกผัก Hydroponic

H2O GARDEN @ BANSABAI HOSTEL
เปิดหลักสูตร อบรมการปลูกผักปลอดสารพิษแบบประหยัด
ด้วยประสบการณ์ของเรา
เราเรียนรู้จากการทำงานจริง การขายจริง
และเราคืนทุนด้วยเวลาอันสั้น ปัจจุบันเรากำลังจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น อีก 1 เท่าตัว
เราจึงอยากเผยแพร่ความรู้แก่ท่านผู้สนใจทั่วไปในราคาพิเศษ
โดย อบรมเป็นกลุ่มเล็ก10-15 ท่าน เน้นความเข้าใจเป็นหลัก

คอร์สต่อไปประจำเดือนสิงหาคม สอนวันที่ 29 สิงหาคม 2553

ท่านละ 800 บาท / เต็มวัน

ราคานี้รวมถึง
1. อาหารกลางวัน และ Coffee Break (เพื่อผ่อนคลายขณะอบรม )
2. เอกสารประกอบเพื่อนำกลับไปศึกษาต่อ

*** ทำไม ค่าเรียนถึง ถูก เพราะว่า เราต้องการเผยแพร่ความรู้แบบเพื่อนบอกเพื่อนครับ ***

เนื้อหาการอบรมจะประกอบด้วย

1. วิธีการปลูกแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับผักแต่ละประเภท
2. การทำโรงเรือน พร้อมชมแปลงสาธิต บนสวนผักลอยฟ้าของเรา
3. การป้องกัน และ การควบคุมแมลง และ โรคพืช
4. ช่องทางการตลาด (จากประสบการณ์ของเราพบว่า ใช้เวลาคืนทุนประมาณ 6-7 เดือน)
5. จัดอบรมเต็มวัน ในวันเสาร์หรืออาทิตย์

สนใจติดต่อ
081-453-9830
081-565-2962
mkt@bansabaihostel.com

EC คืออะไร และเลือกใช้อย่างไรดี ?

EC คืออะไร


EC ย่อมาจากคำว่า Electric conductivity หมายถึง ค่าการนำไฟฟ้าของเกลือ(ในไฮโดรโพนิกส์จะหมายถึงเกลือของธาตุอาหาร)ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยปกติแล้วน้ำบริสุทธิ์จะมีค่าความนำไฟฟ้าเป็นศูนย์ แต่เมื่อนำธาตุอาหารละลายในน้ำ เกลือของธาตุอาหารเหล่านี้จะแตกตัวเป็นประจุบวก และประจุลบ ซึ่งจะเป็นตัวนำไฟฟ้า ทำให้มีค่าความนำไฟฟ้า (Electric Conductivity) ซึ่งค่านำไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณเกลือของธาตุอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำ ดังนั้น เราจึงใช้การวัดค่าการนำไฟฟ้าของสารละลาย(ค่า EC) เพื่อเป็นตัวบอกปริมาณเกลือธาตุอาหารที่ละลายในน้ำ แต่การวัดค่า EC นั้นเป็นเพียงการวัดค่าโดยรวมไม่สามารถแยกบอกความเข้มข้นของเกลือแต่ละตัวได้ เช่น ถ้านำธาตุอาหาร A หรือ Bมาละลายในน้ำ เกลือของธาตุต่างๆ เช่น N,P,K ฯลฯ ก็จะละลายรวมกันอยู่ โดยที่เราไม่สามารถบอกได้ว่า มีธาตุอาหารแต่ละตัวอยู่เท่าไหร่ ตัวอย่างเช่นในน้ำมีเกลือ N+P+K ละลายรวมกันอยู่ และวัดค่า EC ได้ = 2.0 mS/cm เราไม่สามารถทราบได้ว่ามี N,P,K อยู่อย่างละเท่าใด ทราบเพียงแต่ว่ามีอยู่รวมกัน มีค่า = 2.0mS/cm ซึ่งค่า EC ที่วัดได้นี้จะนำไปใช้กับพืชที่เราจะทำการปลูก และควรรักษาระดับค่า EC ให้คงที่ และปรับค่าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ในสารละลายมีธาตุอาหารที่พืชสามารถจะนำไปใช้ได้ตลอดเวลาและพอเพียง โดยส่วนมากค่าที่ใช้วัดสำหรับการปลูกพืชจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.5-5.0 mS/cm โดยพืชแต่ละชนิดก็จะใช้ค่า EC ที่แตกต่างกันออกไป เครื่อง EC Meter เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากและควรมีไว้ใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของน้ำ และตรวจสอบความถูกต้องของการละลายธาตุอาหารในระบบน้ำที่ใช้ในการปลูก เครื่อง EC Meter นั้นมีหน่วยการวัดค่าหลายหน่วยดังนั้น การเลือกซื้อเครื่องมือต้องดูให้เหมาะสมกับงานที่ใช้ โดยทั่วไประบบไฮโดรโพนิกส์ ควรเลือกเครื่องมือที่วัดได้ในช่วง 0 – 10 mS/cm ซึ่งน่าจะเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องเลือกเครื่องที่สามารถเลือกช่วงการวัดได้หลายช่วงในเครื่องเดียว เช่น เลือกได้จากช่วง 0 – 10 mS/cm, 0 - 20 mS/cm , 0-100 mS/cm ซึ่งราคาจะแพงและเป็นช่วงการวัดที่เราไม่ได้ใช้ โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่ 10-100 mS/cm นอกจากนี้ควรสอบถามจากผู้ขายถึงวิธีการใช้งานและการดูแลรักษา และสิ่งที่สำคัญในการใช้เครื่องมือคือต้องมีการตรวจสอบค่าที่วัดได้จากเครื่องมือว่าถูกต้องหรือไม่อยู่เสมอๆ โดยใช้เครื่องมือวัดวัดค่าสารละลายที่เราทราบค่า EC ที่แน่นอนและอ่านค่าจากเครื่องมือถ้าค่าไม่ตรงกันต้องทำการตั้งค่าที่เครื่องมือให้ถูกต้องซึ่งวิธีการปรับค่าจะมีแนบมากับเครื่องมือที่ซื้อมา หรือสามารถขอจากผู้ขายได้โดยตรง

ที่มา :  http://www.smp2005.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=387014

การบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ

ผักเป็นอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย ประกอบด้วยเซลลูโรสจำนวนมาก ซึ่งมีประโยชน์ช่วยในการขับถ่ายทำให้ไม่เป็นโรคท้องผูก และที่สำคัญในผักมีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา วิตามินซี ช่วยบำรุงเหงือกและฟัน และสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย

แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคมักประสบปัญหาสารตกค้างในพืชผัก อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม และไม่ระมัดระวังของเกษตรกรผู้ผลิต ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรพิจารณาเลือกซื้อผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ เช่น ผักที่ได้รับรองจากหน่วยราชการ หรือองค์กรต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีการที่ทำให้สารพิษตกค้างในผักลดน้อยลง เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคด้วยวิธีการต่างๆ ก่อนนำประกอบอาหารรับประทาน ดังนี้

วิธีล้างผักให้สะอาดเพื่อลดปริมาณสารพิษ
1. ลอกหรือปอกเปลือก แล้วแช่น้ำสะอาดนาน 5-10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-72



2. แช่น้ำปูนใส นาน 10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 34-52




3. การใช้ความร้อน ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 48-50





4. แช่น้ำด่างทับทิม นาน 10 นาที (ด่างทับทิม 20-30 เกล็ด) ผสมน้ำ 4 ลิตร) ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-43



5. ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อก นาน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-39




6. แช่น้ำซาวข้าว นาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38




7. แช่น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น (น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38




8. แช่น้ำยาล้างผัก นาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 22-36





--------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลโดย ฝ่ายตรวจวิเคราะห์สารเคมีและบริการเครื่องมือ กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 561-4663

การปลูกผักด้วยระบบ Hydroponics

  1. แปลงผักของเรามี 3  แถว แต่ละแถวประกอบด้วย  แปลงอนุบาล และแปลงปลูก

    1.1 แปลงอนุบาล แบ่งเป็น
    • ชั้นวางถาดเพาะ  ใช้วางถาดเพาะ 1 สัปดาห์ จนผักจะมีใบเลี้ยง 2 ใบ และใบจริงประมาณ 2 ใบ ช่วงแรกก่อนที่ผักจะมีใบเลี้ยง 2 ใบ จะรดด้วยน้ำประปา เมื่อผักมีใบเลี้ยง 2 ใบแล้ว จะรดน้ำด้วยปุ๋ยเจือจาง
    • แปลงอนุบาล 1ใช้วางถ้วยปลูกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ด้านล่างจะมีน้ำปุ๋ยความเข้มข้น EC 1.3 และ PH 6 ไหลผ่านเพื่อให้ธาตุอาหารกับต้นผัก เมื่อมีขนาดพุ่มประมาณ 5 เซนติเมตร จะย้ายไปสู่แปลงอนุบาล 2
    • แปลงอนุบาล 2ใช้วางถ้วยปลูกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ด้านล่างจะมีน้ำปุ๋ยความเข้มข้น EC 1.3 และ PH 6 ไหลผ่านเพื่อให้ธาตุอาหารกับต้นผัก เมื่อมีขนาดพุ่มประมาณ 10 เซนติเมตร จะย้ายไปสู่แปลงปลูก


    1.2 แปลงปลูกแบ่งเป็น 2 ระดับ

    • แปลงปลูกชั้นบนใช้ผักที่ต้องการแดดมาก เช่น Green Oak, Red Oak

    • แปลงปลูกชั้นล่าง ใช้ปลูกผักที่ต้องการแดดน้อย เช่น Green Coral, Green Cos
    แปลงปลูกควบคุมความเข้มข้นน้ำปุ๋ยที่ EC1.7 และ PH 6 โดยผักจะอยู่บนแปลงปลูกนี้ 2 สัปดาห์ ก็โตเต็มที่ และสามารถนำมารับประทาน หรือจำหน่ายได้




  2. ระบบปลูกผักที่เราใช้กันอยู่ มี 2 ระบบคือ
    • NFT(Nutrient Film Technic) ใช้ราง PVC สีขาว ขนาด 5x 10 เซนติเมตร
    • DFT(Deep Flow Technic) ใช้ท่อ PVC  3 นิ้ว สีขาว และ 4 นิ้วสีฟ้า



  3. ระบบน้ำใช้ Pump ตู้ปลา ขนาด 2700 ลิตร ต่อนาที
    ให้น้ำแต่ละรางประมาณ  2 ลิตรต่อนาที



  4. ระบบพ่นหมอก ทำงานดังนี้



    • ตอนกลางวัน ควบคุมด้วยอุณหภูมิ (Termostate)ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 30  องศา ระบบจะทำงานิ
    • ตอนกลางคืน ควบคุมด้วยเวลา (Timer) พ่นเป็นช่วงเวลาเพื่อลดอุณหภูมิ

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การผลิตในปัจจุบัน

ปัจจุบัน H2O Garden มีผลผลิตประมาณ 130 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ โดยปลูกผักดังต่อไปนี้
  • ผักสลัด Green Oak, Red Oak, Green Cos, Red Batavia, Green Coral, Red Coral และ Butterhead
  • ผักไทย Muzuna, Locket
ผักที่ทดลองปลูกเพื่อพัฒนาความรู้ และให้มีชนิกผักหลากหลายขึ้น ได้แก่
  • ผักไทย ผักกวางตุ้งญี่ปุ่นม ผักกาดขาาวไดโตเกียว, ใบกระเพรา
  • ผักอื่น ๆ Parsley(ผักสำหรับผสมน้ำสลัด)

แนวคิดในอนาคต

  • ปรับปรุงวิธีการปลูก และออกแบบรางปลูกให้ดีขึ้น
  • ก่อสร้างแปลงผักก่อนขาย เพื่อบริหารรอบาการปลูกให้ดีขึ้น
  • ขอใบรับรองอาหารปลอดภัย (Food Safety) จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณะสุข
  • ศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายไปสู่ธุรกิจผักขนาดใหญ่
  • ศึกษาสูตรอาหารลศเลิศ และทดลองผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องออกมาทดลองตลาด เช่น สลัดกล่อง, สลัด Mixed
  • เป็นแหล่งดูงานการเพาะปลูกผัก Hydroponic เป็นวิทยาทานแก่โรงเรียนใกล้เคียง
  • พัฒนาหลักสูตรการอบรมการปลูกผักโดยระบบ Hydroponoic จากประสบณ์ที่มีอยู่

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนา

ช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 52 ฝ่ายบริหารของบ้านสบาย ได้ศึกษาเรื่องการปลูกผักด้วยระบบต่าง ๆ ได้ข้อสรุปว่า Hydroponics เป็นวิธีสร้างสีเขียวที่สามารถควบคุมปัจจัยด้านต่าง ๆได้ดี และได้ผลผลิตที่สะอาด ไร้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปราศจากโรคพืช และสิ่งแปลกปลอมที่ไม่พึงปรารถนาจากดิน จึงได้หาความรู้เพิ่มเติมลึกลงไป จาก Internet และจากตำราที่มีอยู่มากกกว่า 1000 หน้า รวมถึงการเข้าอบรมทางทฤษฏี และปฏิบัติที่จัดขึ้นโดยสถาบันชั้นนำต่างๆ พร้อมกับออกแบบแปลงปลูก และทำการปลูกผักอย่างจริงจัง

ความเป็นมา

เพื่อสอดคล้องกับแนวคิดของบ้านพักนานาชาติ บ้านสบาย ซึ่งเป็นที่พักที่สะอาดร่มรื่น ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน และนำเสนอสิ่งาที่ดีแก่ลูกค้าผู้มีพระคุณ เราจึงได้ปรับปรุงดาดฟ้าส่วนหนึ่ง เป็นแปลงปลูกผัก Hydroponics และนำผลผลิตที่มีคุณภาพ และสดจากแปลงปลูกมาจำหน่ายให้แก่ลูกค้าในราคาย่อมเยา